Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/75320
Title: การใช้มาตรการทางภาษีเพื่อส่งเสริมเกษตรกรรมแบบยั่งยืน
Authors: พสิษฐ์ เจนดิษฐการ
Advisors: ทัชชมัย ฤกษะสุต
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์
Advisor's Email: Tashmai.R@Chula.ac.th
Subjects: เกษตรกรรม
ภาษีเงินได้ -- การหักลดหย่อน
Issue Date: 2562
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: รูปแบบการทำเกษตรกรรมในปัจจุบันเพื่อตอบสนองภาคอุตสาหกรรมและระบบทุนนิยมในหลายทศวรรษที่ผ่านมา เช่น เกษตรกรรมเชิงเดี่ยวและเกษตรกรรมแบบใช้สารเคมีทางการเกษตร ได้ก่อให้เกิดปัญหาต่อสิ่งแวดล้อม สุขภาพ และเศรษฐกิจ จนมิอาจตอบโจทย์ความยั่งยืนในระยะยาวได้ เกษตรกรรมแบบยั่งยืน (Sustainable Agriculture) เป็นระบบเกษตรกรรมที่สร้างความสมดุลระหว่าง สิ่งแวดล้อม สุขภาพ และเศรษฐกิจ คือ การทำเกษตรกรรมที่ต้องรักษาทรัพยากรธรรมชาติและความสมดุลของระบบนิเวศควบคู่กันโดยไม่ใช้สารเคมีทางการเกษตร ในขณะเดียวกัน ก็สร้างผลผลิตที่มีคุณภาพ และเอื้ออำนวยให้สามารถใช้ทรัพยากรหรือภูมิปัญญาในท้องถิ่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ อันจะเป็นการช่วยแก้ปัญหาจากการทำเกษตรกรรมในปัจจุบัน และช่วยยกระดับรายได้ของเกษตรกร โดยมีรูปแบบที่เป็นที่รู้จักโดยทั่วไป 6 รูปแบบ ได้แก่ เกษตรอินทรีย์ เกษตรทฤษฎีใหม่ เกษตรธรรมชาติ วนเกษตร เกษตรผสมผสาน และไร่หมุนเวียน ในปัจจุบัน ประเทศไทยก็กำลังเผชิญกับปัญหาจากการทำเกษตรกรรมที่ไม่มีความยั่งยืน แต่อย่างไรก็ตาม ภาครัฐได้ตระหนักถึงปัญหาดังกล่าว คณะรัฐมนตรีจึงได้อนุมัติกฎหมายส่งเสริมเป็นการเฉพาะ คือ ร่างพระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาระบบเกษตรกรรมยั่งยืน พ.ศ. …. โดยร่างกฎหมายฉบับดังกล่าวมีการกำหนดให้ใช้มาตรการส่งเสริมทางภาษี แต่ยังไม่ได้ระบุแนวทางที่เป็นรูปธรรมและชัดเจน รวมถึงยังไม่มีระบบงานรับรองมาตรฐานเกษตรกรรมแบบยั่งยืน ซึ่งจะเป็นระบบที่เชื่อมข้อมูลระหว่างภาครัฐและเกษตรกรให้สามารถใช้มาตรการส่งเสริมได้อย่างตรงกลุ่มเป้าหมาย และโครงสร้างภาษีอากรที่เกี่ยวข้องกับการทำเกษตรกรรมในประเทศ ถึงแม้ว่าจะมีการส่งเสริมผลผลิตการเกษตรบางประเภท เช่น ข้าวและผลผลิตที่ไม่ได้แปรรูป แต่ก็ไม่เป็นธรรม ขาดความยืดหยุ่นและมีข้อจำกัดอยู่หลายประการจนไม่ส่งเสริมให้เกิดเกษตรกรรมแบบยั่งยืน ดังนั้น จึงควรหาแนวทางที่เหมาะสมในการใช้มาตรการเพื่อส่งเสริมเกษตรกรรมแบบยั่งยืนในประเทศไทย โดยเฉพาะมาตรการทางภาษี ซึ่งเป็นมาตรการที่งานศึกษาฉบับนี้มุ่งเน้นเป็นสำคัญ โดยศึกษาเปรียบเทียบกับมาตรการทางภาษีเพื่อส่งเสริมเกษตรอินทรีย์ของรัฐฮาวาย ประเทศสหรัฐอเมริกา และประเทศฟิลิปปินส์ เพื่อนำมาปรับใช้ในประเทศไทย
Description: เอกัตศึกษา (ศศ.ม)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2562
Degree Name: ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: กฎหมายเศรษฐกิจ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/75320
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.IS.2019.121
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.IS.2019.121
Type: Independent Study
Appears in Collections:Law - Independent Studies

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6186171634.pdf927.23 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.