Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/75330
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorชาญชัย บุญฤทธิ์ไชยศรี-
dc.contributor.authorภัคชัญญา คำหอม-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์-
dc.date.accessioned2021-08-31T05:49:48Z-
dc.date.available2021-08-31T05:49:48Z-
dc.date.issued2562-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/75330-
dc.descriptionเอกัตศึกษา (ศศ.ม)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2562en_US
dc.description.abstractการรับซื้อ ขาย แลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศนั้น เป็นสิ่งจำเป็นที่ภาครัฐให้ความสำคัญเพราะมีผลกระทบต่อตลาดการเงิน ตลาดทุน และระบบเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ ไม่ว่าจะเป็นการดำเนินชีวิต การดำเนินธุรกิจ รวมถึงการป้องกันปัญหาการฟอกเงิน โดยการลักลอบส่งหรือนำเงินออกจากประเทศ โดยกฎหมายแม่บทที่ใช้ในการควบคุมการแลกเปลี่ยนเงินของประเทศไทยคือ พระราชบัญญัติควบคุมการแลกเปลี่ยนเงิน พุทธศักราช 2485 และจากการอาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติดังกล่าวได้มีการออกกฎกระทรวง ประกาศกระทรวงการคลัง และประกาศเจ้าพนักงานควบคุมการแลกเปลี่ยนเงิน เพื่อกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการซื้อ ขาย แลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ กฎหมายว่าด้วยการควบคุมการแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้รับมอบหมายจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังให้ ทำหน้าที่กำกับดูแลการซื้อขายแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ โดยผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย ได้แต่งตั้งพนักงานของธนาคารเป็นเจ้าพนักงานตามพระราชบัญญัติควบคุมการแลกเปลี่ยนเงิน พุทธศักราช 2485 มาตรา 4 เพื่อควบคุมดูแลให้มีการปฏิบัติตามกฎหมายควบคุมการแลกเปลี่ยนเงิน การซื้อ ขาย แลกเปลี่ยน หรือโอนเงินตราต่างประเทศทุกประเภท กฎหมายแลกเปลี่ยนเงินตราของประเทศไทยเป็นกฎหมายที่ค่อนข้างเก่า โดยมีการประกาศใช้ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2485 หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ซึ่งช่วงเวลานั้นเป็นช่วงที่ประเทศไทยขาดแคลนเงินตราต่างประเทศ และต่อมาในปี พ.ศ. 2540 ประเทศไทยเกิดวิกฤติเศรษฐกิจ ทำให้จำเป็นต้องกำหนดออกกฎเกณฑ์การแลกเปลี่ยนเงินหลายอย่างเพิ่มเติมเพื่อลดความเสี่ยงจากเงินทุนไหลออก โดยช่วงเวลาที่ผ่านมา ค่าเงินบาทมีพัฒนาการที่ดีขึ้น และทางธนาคารแห่งประเทศไทยได้มีการทบทวนกฎเกณฑ์ที่เกี่ยวกับการแลกเปลี่ยนเงินเป็นระยะen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.58837/CHULA.IS.2019.130-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectธุรกิจ -- กฎหมายและระเบียบข้อบังคับen_US
dc.subjectนิติบุคคล -- ภาษีen_US
dc.titleแนวทางในการปรับปรุงหลักเกณฑ์ว่าด้วยการกำกับการประกอบธุรกิจเป็นบุคคลรับอนุญาตen_US
dc.typeIndependent Studyen_US
dc.degree.nameศิลปศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineกฎหมายเศรษฐกิจen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorไม่มีข้อมูล-
dc.subject.keywordการประกอบธุรกิจen_US
dc.subject.keywordบุคคลรับอนุญาตen_US
dc.identifier.DOI10.58837/CHULA.IS.2019.130-
Appears in Collections:Law - Independent Studies

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6186172234.pdf75.82 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.