Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/75358
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorวุฒิพงษ์ ศิริจันทรานนท์-
dc.contributor.authorวรชัยมงคล โชติรัตนวีรกุล-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์-
dc.date.accessioned2021-09-01T08:19:54Z-
dc.date.available2021-09-01T08:19:54Z-
dc.date.issued2562-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/75358-
dc.descriptionเอกัตศึกษา (ศศ.ม)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2562en_US
dc.description.abstractปัจจุบันการค้าและการลงทุนระหว่างประเทศมีแนวโน้มที่จะขยายตัวอย่างรวดเร็ว ปัจจัยหนึ่งเป็นผลมาจากนโยบายของรัฐ อาทิ การขจัดความซ้ำซ้อนของการจัดเก็บภาษี การปรับเพิ่มวงเงินให้บริษัทแม่ในประเทศไทยสามารถลงทุนโดยตรงในต่างประเทศ และการเปิดเสรีของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนในปี 2558 เป็นต้น ซึ่งการลงทุนแบบไร้พรมแดนนี้ ผู้ประกอบการอาจลงทุนในรูปแบบบริษัทข้ามชาติ เช่น ตั้งเป็นนิติบุคคลรายใหม่ บริษัทร่วม บริษัทในเครือ เป็นต้น ในการลงทุนระหว่างประเทศนี้ผู้ประกอบการมักเลือกรูปแบบ และการจัดโครงสร้างการถือหุ้นเพื่อลดต้นทุนในทางภาษี และเลือกลงทุนในประเทศ ที่มีอัตราภาษีอากรต่ำ และให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีที่สูง และมีแนวโน้มที่จะเคลื่อนย้ายผลกำไร ในลักษณะการหลีกเลี่ยงภาษีมากยิ่งขึ้นเพื่อลดภาระภาษีให้ต่ำที่สุด เช่น การกำหนดราคาโอน (Transfer Pricing) ที่ผิดปกติ การเลือกอนุสัญญาภาษีซ้อนโดยบุคคลที่สาม (Treaty Shopping) หรือการโอนผลกำไรเข้าในดินแดนปลอดภาษี (Tax Haven) เป็นต้น สำหรับประเทศไทย กฎหมายภาษีอากรที่สำคัญที่เกี่ยวข้องกับการกำหนดราคาโอน คือ คำสั่งกรรมสรรพากร ที่ ป.113/2545 และพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 47) พ.ศ. 2561 เรื่อง มาตรการป้องกันการกำหนดราคาโอนระหว่างบริษัท หรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ที่มีความสัมพันธ์กัน (Transfer Pricing) ที่เพิ่งมีผลใช้บังคับ แม้ว่ากฎหมายไทยมีบทบัญญัติ เกี่ยวกับมาตรการป้องกันการกำหนดราคาโอนระหว่างบริษัท หรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ที่มีความสัมพันธ์กันก็ตาม แต่บทบัญญัติในพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 47) พ.ศ. 2561 มีความไม่ชัดเจนและเกิดปัญหาในการบังคับใช้ดังต่อไปนี้ 1. การตีความถ้อยคำในกฎหมายตามมาตรา 71 ทวิ เกี่ยวกับ “การกำหนดความสัมพันธ์ระหว่างกัน” ในกรณีการเข้าร่วมทุนประเภทของกิจการร่วมค้า หรือกิจการค้าร่วมในธุรกรรมระหว่างประเทศ ของกลุ่มนิติบุคคล 2. การปรับใช้ราคาโอนสำหรับ สำนักงานสาขา (Branch) และสำนักงานแห่งใหญ่ (Head Office) ยังไม่มีบทบัญญัติใดให้กระทำได้ ดังนั้น ผู้ประกอบการจึงอาศัยช่องว่างทางกฎหมายดังกล่าว สร้างหน่วยภาษีในลักษณะสาขาเพื่อหลีกเลี่ยงภาระภาษีที่จะเกิดขึ้นในประเทศไทย เมื่อเปรียบเทียบกับหลักการตอบโต้ การหลีกเลี่ยงภาษีของต่างประเทศ พบว่าหลายๆ ประเทศ เช่นประเทศฮังการี และประเทศสิงคโปร์ ได้วางแนวทางพื้นฐานให้ครอบคลุมถึงการปรับใช้ราคาโอนสำหรับสำนักงานสาขา และสำนักงานแห่งใหญ่ โดยมีการสร้างมาตรการป้องกันการกำหนดราคาโอน ไว้ทั้งในประมวลรัษฎากร และในอนุสัญญาภาษีซ้อน ที่ได้ทำความตกลงกับประเทศต่าง ๆen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.58837/CHULA.IS.2019.127-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectภาษีซ้อน -- สนธิสัญญาen_US
dc.subjectบริษัท -- การจดทะเบียนและการโอนen_US
dc.titleการปรับใช้กฎหมายราคาโอน: กรณีสำนักงานแห่งใหญ่ และสำนักงานสาขาen_US
dc.typeIndependent Studyen_US
dc.degree.nameศิลปศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineกฎหมายเศรษฐกิจen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorไม่มีข้อมูล-
dc.subject.keywordราคาโอนen_US
dc.subject.keywordการโอนen_US
dc.identifier.DOI10.58837/CHULA.IS.2019.127-
Appears in Collections:Law - Independent Studies

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6186173934.pdf85.4 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.