Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/75385
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorพล ธีรคุปต์-
dc.contributor.authorวุฒิกร อนันต์เกษมสันต์-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์-
dc.date.accessioned2021-09-02T08:42:09Z-
dc.date.available2021-09-02T08:42:09Z-
dc.date.issued2562-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/75385-
dc.descriptionเอกัตศึกษา (ศศ.ม)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย,en_US
dc.description.abstractเนื่องจากการดําเนินการสํารวจและผลิตปิโตรเลียมในประเทศไทยนั้น เริ่มมีแหล่งผลิตที่กําลัง จะหมดอายุสัมปทานและต้องเริ่มมีการรื้อถอนสิ่งปลูกสร้าง(Decommissioning) เช่น แท่นผลิต รวมถึงการสละหลุมเจาะปิโตรเลียมและฟื้นฟูพื้นที่ผลิตให้มีสภาพดังเดิม ซึ่งเป็นกิจกรรมที่มีค่าใช้จ่าย เป็นจํานวนมาก โดยเป็นหน้าที่ของผู้รับสัมปทานหรือผู้รับสัญญาแบ่งปันผลผลิตในการรื้อถอนสิ่งปลูก สร้าง รวมถึงรับผิดชอบในค่าใช้จ่ายที่จําเป็นต่อการรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างตามที่มาตรา 80/1และ 80/2 แห่งพระราชบัญญัติปิโตรเลียม พ.ศ.2514 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติปิโตรเลียม (ฉบับที่ 6) พ.ศ.2550 รวมถึงหลักเกณฑ์เงื่อนไข รวมถึงการวางหลักประกันทางการเงินในรูปแบบต่างๆที่กรม เชื้อเพลิงธรรมชาติวางหลักไว้แต่โดยที่รายจ่ายดังกล่าวเกิดขึ้นในช่วงปลายอายุของสัมปทานและ ต่อเนื่องไปจนหลังสัมปทานหมดอายุผู้รับสัมปทานและผู้รับสัญญาแบ่งปันผลผลิตจึงไม่มีรายได้ที่เพียง พอที่จะนํารายจ่ายดังกล่าวมาหักออกได้และไม่สามารถนํามาเป็นผลขาดทุนสะสมที่นําไปหักเป็น รายจ่ายในรอบระยะเวลาบัญชีถัดไปได้เนื่องจากสิ้นสุดสัมปทาน จากการศึกษาพบว่าการจัดตั้งกองทุนเพื่อการรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างเป็นแนวทางการจัดการ รายจ่ายที่เหมาะสมเพื่อให้ผู้รับสัมปทานหรือผู้รับสัญญาแบ่งปันผลผลิตหักเป็นรายจ่ายทางภาษีได้เมื่อ มีการนําส่งเงินเข้ากองทุน โดยภาครัฐมีหลักประกันที่เป็นตัวเงินชัดเจน ส่วนผู้รับสัมปทานและผู้รับ สัญญาแบ่งปันผลผลิตจะต้องสมทบเงินเข้ากองทุนตามจํานวนเงินและตารางเวลาที่ได้รับความ เห็นชอบจากผู้มีอํานาจและเงินที่สมทบนั้นหักเป็นรายจ่ายทางภาษีได้จะทําให้ภาคเอกชนสามารถใช้ รายจ่ายเพื่อการรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างในการคํานวณภาษีปิโตรเลียมได้สอดคล้องกับหลักการจับคู่รายได้ และค่าใช้จ่าย (Matching Concept) ตามสภาพวงจรของธุรกิจสํารวจและผลิตปิโตรเลียมเพื่อให้เกิด ความเป็นธรรมตามลักษณะภาษีอากรที่ดีen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.58837/CHULA.IS.2019.139-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectปิโตรเลียม -- ภาษีen_US
dc.subjectภาษีเงินได้ -- การหักภาษีen_US
dc.titleแนวทางการจัดการเกี่ยวกับรายจ่ายในการรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างในกิจการปิโตรเลียม : ศึกษากรณีการจัดตั้งกองทุนเพื่อการรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างen_US
dc.typeIndependent Studyen_US
dc.degree.nameศิลปศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineกฎหมายเศรษฐกิจen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorไม่มีข้อมูล-
dc.subject.keywordการรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างen_US
dc.subject.keywordการหักรายจ่ายทางภาษีen_US
dc.identifier.DOI10.58837/CHULA.IS.2019.139-
Appears in Collections:Law - Independent Studies

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6186177434.pdf947.51 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.