Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/75410
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorปิติ เอี่ยมจำรูญลาภ-
dc.contributor.authorรัชพร คงวิจิตรวงศ์-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์-
dc.date.accessioned2021-09-05T09:32:31Z-
dc.date.available2021-09-05T09:32:31Z-
dc.date.issued2562-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/75410-
dc.descriptionเอกัตศึกษา (ศศ.ม)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2562en_US
dc.description.abstractประเทศต่างๆ ทั่วโลกรวมทั้งประเทศไทย มีการใช้พลังงานจากเชื้อเพลิงฟอสซิลเป็นเชื้อเพลิง หลักในการผลิตไฟฟ้ามาเป็นเวลานานซึ่งเชื้อเพลิงฟอสซิลเหล่านี้เป็นสาเหตุทําให้เกิดภาวะโลกร้อน (Global warming) และการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate change) จึงทําให้มีแนวคิดใน การผลิตไฟฟ้าสําหรับอนาคต โดยมุ่งไปสู่การเพิ่มสัดส่วนการผลิตไฟฟ้าด้วยพลังงานหมุนเวียนมากขึ้น และลดสัดส่วนการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลลง การผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์จึงเป็นทางเลือกหนึ่งของรัฐบาลในการรับมือกับการ เปลี่ยนแปลงนี้ โดยมีการจัดทําแผน AEDP 2015 ที่มีเป้าหมายแผนการผลิตไฟฟ้าจากพลังงาน แสงอาทิตย์ ณ. สิ้นปีพ.ศ. 2579 จะติดตั้งให้ได้รวม 6,000 เมกะวัตต์รัฐบาลได้เปิดโอกาสและให้การ สนับสนุนภาคครัวเรือนให้เข้ามามีส่วนร่วมในการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ที่ติดตั้งบนหลังคา โดยแบ่งเป็น 2 ระยะ โดยในระยะที่ 1 ได้สนับสนุนในรูปแบบ Self-Consumption และระยะที่ 2 ที่จะมีการเปิดเสรีไฟฟ้าแบบ Peer to Peer โดยเอกัตศึกษาเล่มนี้ ได้มุ่งศึกษาเฉพาะการสนับสนุนของ ภาครัฐในระยะที่ 1 ที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน ในปัจจุบันประเทศไทยมีโครงสร้างกิจการไฟฟ้าเป็นแบบผู้ซื้อรายเดียว โดยรัฐเป็นผู้ผูกขาด กิจการไฟฟ้าในทุกขั้นตอน อํานาจในการกําหนดราคาและเงื่อนไขต่าง ๆ ขึ้นอยู่กับภาครัฐแต่เพียง ผู้เดียวซึ่ง กกพ. ได้ออกประกาศ เชิญชวนการรับซื้อไฟฟ้าโครงการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ ที่ติดตั้งบนหลังคาสําหรับภาคประชาชนประเภทบ้านอยู่อาศัย ฉบับที่ 2 พ.ศ.2563 เพื่อจัดหาและรับ ซื้อไฟฟ้าจากผู้ใช้ไฟฟ้าประเภทบ้านอยู่อาศัย ขนาดกําลังการผลิตที่ติดตั้งไม่เกิน 10 กิโลวัตต์ (kWp) ต่อครัวเรือน ในปริมาณไม่เกิน 100 เมกะวัตต์ (MWp) เป็นเวลา 10 ปี โดยได้ดําเนินการต่อเนื่องตั้งแต่ ปี 2562 เป็นต้นมา ซึ่งให้การสนับสนุนในรูปแบบ Net billing with buyback ที่มีอัตรารับซื้อไฟฟ้า ส่วนเกิน ในราคาต่ํากว่าราคาขายปลีกไฟฟ้าเฉลี่ย ซึ่งการสนับสนุนในรูปแบบ Self-Consumption ที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลาย ได้แก่รูปแบบการเรียกเก็บเงินสุทธิ(Net billing) และรูปแบบหักลบกลบ หน่วยอัตโนมัติ(Net metering) โดยพบว่ารูปแบบ Net metering นั้น สามารถสร้างแรงจูงใจและ ให้ผลตอบแทนแก่ครัวเรือนที่ติดตั้งแผงเซลล์แสงอาทิตย์ได้มากกว่า จึงเป็นประเด็นที่มีความสําคัญที่จะทําการศึกษาต่อไปว่าการบังคับใช้กฎหมายในต่างประเทศ ดังเช่นรัฐแคลิฟอร์เนีย ประเทศสหรัฐอเมริกา ที่นํารูปแบบหักลบกลบหน่วยอัตโนมัติ (Net metering) มาบังคับใช้ เพื่อสนับสนุนให้ภาคครัวเรือนมีการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ที่ติดตั้งบนหลังคา นั้นมีความเป็นมาและมีมาตรการในการบังคับใช้กฎหมายอย่างไร มีผลกระทบกับกิจการไฟฟ้าอย่างไร และมีวิธีการแก้ไขอย่างไรเพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาการผลิตไฟฟ้าด้วยพลังงานหมุนเวียนประเภท พลังงานแสงอาทิตย์ที่ติดตั้งบนหลังคาสําหรับภาคประชาชนประเภทบ้านอยู่อาศัยของประเทศไทย อย่างเป็นธรรมและยั่งยืนต่อไปen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.58837/CHULA.IS.2019.136-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectนโยบายพลังงานแสงอาทิตย์en_US
dc.subjectการผลิตพลังงานไฟฟ้าen_US
dc.titleมาตรการทางกฎหมายสำหรับการนำระบบหักลบกลบหน่วยอัตโนมัติมาใช้ เพื่อสร้างแรงจูงใจในการผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ที่ติดตั้งบนหลังคาสำหรับภาคประชาชนen_US
dc.typeIndependent Studyen_US
dc.degree.nameศิลปศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineกฎหมายเศรษฐกิจen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorpiti.e@chula.ac.th-
dc.subject.keywordพลังงานแสงอาทิตย์en_US
dc.subject.keywordระบบหักลบกลบหน่วยอัตโมมัติen_US
dc.identifier.DOI10.58837/CHULA.IS.2019.136-
Appears in Collections:Law - Independent Studies

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6186187734.pdf59.41 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.