Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/75539
Title: | การเปรียบเทียบประสิทธิผลของเอกสารข้อมูลยาสำหรับประชาชนแบบรูปภาพเทียบกับแบบภาษาเขียน: กรณีศึกษา ไอบูโพรเฟน 200 มิลลิกรัม |
Other Titles: | Comparing effectiveness of pictogram versus written patient information leaflet: case study of Ibuprofen 200 mg |
Authors: | โชติพัฒน์ อภิชาติกุลชัย ธัญญารัตน์ สกุลด่าน สโรชา อินทร์แสง |
Advisors: | ภูรี อนันตโชติ |
Other author: | คณะเภสัชศาสตร์ |
Subjects: | เภสัชกรรม -- บริการสารสนเทศ Pharmacy -- Information services เอกสาร Documents |
Issue Date: | 2560 |
Publisher: | คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | ความสำเร็จของผลการรักษาไม่สามารถบรรลุได้หากปราศจากการใช้ยาที่เหมาะสม กระทรวงสาธารณสุขหลายแห่งได้กำหนดให้อุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับยาทำการจัดทำเอกสารข้อมูลสำหรับประชาชน (Patient Information Lea flet , PIL) ในการศึกษาก่อนหน้าเปิดเผยว่าผู้ป่วยมักไม่สนใจ PIL รูปแบบภาษาเขียน (written-PIL, W-PIL) ดังนั้น PL รูปแบบรูปภาพ (Pictogra m-PIL, P-PIL) จึงถูกนำมาใช้เป็นทางเลือก การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อเปรียบเทียบประสิทธิผลของการสื่อสารระหว่าง P-PIL กับ W-PIL โดยรวมถึงด้านความชอบของรูปแบบ PIL ด้วยเช่นกัน การศึกษานี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลองแบบทดสอบหลังเท่านั้น โดยทำการศึกษาในคนสัญชาติไทยที่สามารถอ่านและเข้าใจภาษาไทยได้ อายุตั้งแต่ 18 ถึง 70 ปี ระดับการศึกษาตั้งแต่ระดับประถมศึกษาปีที่ 6 ถึงปริญญาตรี โดยจะใช้ยา Ibuprofen 200 mg เป็นกรณีศึกษา กลุ่มอาสาสมัคร P-PIL และ W-PIL ใช้จำนวน 79 และ 80 คน ตามลำดับ ใช้คำถามปลายเปิด 11 คำถามเช่น ชื่อผลิตภัณฑ์ วิธีการใช้และเวลาในการใช้ยานี้ เป็นต้น โดยคะแนนจะถูกนับเมื่อระบุตำแหน่งของคำตอบและตอบคำถามได้ถูกต้องโดยใช้ภาษาตัวเองในการตอบ ซึ่งจะใช้สถิติ Chi-square, independent t-test, และ regression analysis ในการวิเคราะห์ผลการทดสอบ ผลการศึกษาพบว่า ในกลุ่ม W-PIL จะแสดงประสิทธิผลในการสื่อสารได้ดีกว่ากลุ่ม P-PIL ซึ่งพบว่า ร้อยละ 27.1 เทียบกับร้อยละ 22.8 ของอาสาสมัครที่ได้อ่าน W-PIL และ P-PIL แล้วตอบถูกต้องและชี้ถูกตำแหน่งถูกต้องทั้ง 11 คำถาม (P-value =0.49) กลุ่ม W-PIL มีคะแนนด้านความเข้าใจที่มากกว่ากลุ่ม P-PIL (9.60 + 1.51 คะแนน เทียบกับ 8.85 + 1.97 คะแนน, P = 0.008) ด้านการอ่านของกลุ่ม P-PIL การมีอายุมาก การศึกษาต่ำและเพศหญิง จะทำให้คะแนนความเข้าใจลดลงอย่างเห็นได้ชัด มากกว่าร้อยละ 70 ของอาสาสมัครตอบแบบสอบถามรายงานว่า พวกเขาต้องการ W-PIL เพื่อบรรจุอยู่ในผลิตภัณฑ์ยา พวกเขาเห็นว่า W-PL ให้รายละเอียดข้อมูลยาได้ดีกว่า พวกเขายังคิดว่าทั้งสองรูปแบบ PIL เท่าเทียมกันดึงดูดความสนใจและเข้าใจได้ พวกเขายังคิดว่าทั้งสองรูปแบบ PL เท่าเทียมกันในด้านการดึงดูดความสนใจและเข้าใจโดยสรุป W-PIL มีประสิทธิผลที่ดีในการสื่อสารข้อมูลยาโดยใช้ภาษาปกติมากกว่า P-PIL แต่อย่างไรก็ตาม ยังมีหนทางที่สามารถพัฒนารูปแบบ P.PIL ต่อไปได้ ในการศึกษาขั้นต่อไปควรเน้นการเพิ่มความเข้าใจและประเมินประสิทธิผลการสื่อสารของทั้ง P-PIL และ W-PIL |
Other Abstract: | Background Successful treatment outcome cannot be achieved without appropriate drug administration. Many FDAs require pharmaceutical industry to prepare Patient Information Leaflet (PIL). Previous studies revealed that patients usually ignore written-PIL (W-PIL). Pictogram-PIL (P-PIL) was proposed as an alternative. Objectives: This study aimed to compare P-PIL and W-PIL on communication effectiveness. The preference of PIL format was also assessed. Methodology: A quasi-experimental post-test only study was conducted. Thai, readable, age 18-70 with 6-16 school-years were included. Ibuprofen 200 mg was selected to study. P-PIL or W-PIL was handed to 79 and 80 participants, consecutively. Eleven open-ended questions e.g. the product name, when and how to use medicine were asked. Score was counted when correctly point-out the answer in PIL, and answer in his/her own language. Chi-square, independent t-test, and regression analysis were used. Results: W-PIL showed greater communication effectiveness than P-PIL. It was found that 27.1% vs 22.8% of those reading W-PIL and P-PIL provided 11/11 correct answers (P-value=0.49). Those in W-PIL group had higher comprehension score than P-PIL group (9.60+1.51 vs 8.85-1.97, P=0.008). Reading P-PIL, getting older, having low education and being female led to significantly lower comprehension score. More than 70% of respondents reported they preferred W-PIL to accompany in product package. They perceived that W-PIL better provided detail drug information. They also think that both PIL format equally attract attention, and comprehensible. Conclusion: W-PIL had better effectiveness to communicate drug information to lay people thanP-PIL. However, there were rooms to improve P-PIL. Further study should focus on enhancing comprehensibility, and re-evaluate the communication effectiveness of both P-PIL and W-PIL. |
Description: | โครงงานเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาเภสัชศาสตร์บัณฑิต สาขาวิชาเภสัชศาสตร์สังคมและบริหาร คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2560 |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/75539 |
Type: | Senior Project |
Appears in Collections: | Pharm - Senior projects |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Pharm_SeniorProject_4.6_2560.pdf | ไฟล์โครงงานทางวิชาการฉบับเต็ม(4.6-2560) | 2.66 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.