Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/75544
Title: การเข้าถึงผลิตภัณฑ์ยาชีววัตถุราคาแพง: การศึกษาเปรียบเทียบการเบิกจ่ายในระบบประกันสุขภาพในบางประเทศ
Other Titles: Access to high cost biological drugs: comparative health insurance reimbursement study in selected countries
Authors: ประภาภรณ์ ปิ่นตบแต่ง
สุวิชา แก้ววิเศษ
Advisors: ภูรี อนันตโชติ
Other author: คณะเภสัชศาสตร์
Subjects: การเข้าถึงยา
Drug accessibility
ประกันสุขภาพ
Health insurance
Issue Date: 2560
Publisher: คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ความเป็นมา: การเข้าถึงยาสามารถแบ่งได้ 2 ระดับ คือการมียาขึ้นทะเบียนในประเทศ (Availability) และการที่มียาอยู่ในบัญชีที่เบิกจ่ายได้ (Affordability) ยาชีววัตถุเป็นยาที่มีราคาแพง และส่งผลต่อการเข้าถึงยาทั้งในประเทศที่พัฒนาแล้วและประเทศกำลังพัฒนา วัตถุประสงค์: การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบการเข้าถึงยาชีววัตถุในประเทศไทยกับประเทศอื่นแปดประเทศทั้งในกลุ่มรายได้ป่านกลางระดับสูงและรายได้สูง วิธีการศึกษา: การศึกษานี้เป็นการศึกษาเชิงเปรียบเทียบโดยรวมข้อมูลสถานะการขึ้นทะเบียนยาจากหน่วยงานที่รับผิดชอบและการอนุมัติเบิกจ่ายจากบัญชีเบิกจ่ายของแต่ละประเทศ ยกเว้นสหรัฐอเมริกาที่ใช้บัญชีเบิกจ่ายยาของหน่วยงานทหารผ่านศึก รายการยาอ้างอิงที่ใช้สำหรับเปรียบเทียบได้จากบัญชียาชีววัตถุของสหรัฐอเมริก ารศึกษานี้เก็บข้อมูลจากประเทศรายได้ปานกลาง ระดับสูง ได้แก่ จีน มาเลเซีย และไทย และประเทศรายได้สูง ได้แก่ สหราชอาณาจักร ออสเตรเลีย ญี่ปุ่น สิงคโปร์ และ ไต้หวัน ผลการศึกษา: ประเทศรายได้สูงมียาชีวัตถุที่ขึ้นทะเบียนในประเทศ (60% สิงคโปร์ ถึง 82% สหราชอาณาจักร) มากกว่าประเทศรายได้ป่านกลางระดับสูง (32% จีน ถึง 57% ไทย) และการมียาอยู่ในบัญชีที่เบิกจ่ายพบว่าประเทศรายได้สูงมียาชีววัตถุที่เบิกจ่ายได้ (18% สิงคโปร์ ถึง 58% ญี่ปุ่น) มากกว่าประเทศรายได้ปานกลาง ระดับสูง (14% จีน ถึง 22% มาเลเซีย) การเบิกจ่ายยาชีววัตถุหลายกลุ่มในประเทศไทยถูกจำกัดการเข้าถึง เช่น กลุ่มหัวใจและหลอดเลือด กลุ่มโรคผิวหนัง กลุ่มต้านการติดเชื้อ กลุ่มกล้ามเนื้อและกระดูก กลุ่มระบบหายใจ กลุ่มอวัยวะรับสัมผัส (0%) กลุ่มที่สามารถเบิกจ่ายได้บางส่วน ได้แก่ กลุ่มต้านมะเร็ง และกลุ่มเลือดและส่วนประกอบของเลือด (10% และ 33%) ยกเว้นกลุ่มเบาหวานที่มียาอยู่ในบัญชีเบิกจ่ายมากที่สุด (47%) สรุปผล: ประเทศรายได้สูงส่วนใหญ่มีการ เข้าถึงยาชีววัตถุทั้งในระดับการมียาขึ้นทะเบียนในประเทศ และการมียาอยู่ในบัญชีที่เบิกจ่ายมากกว่ากลุ่มประเทศที่มีรายได้ป่านกลางระดับสูง ซึ่งอาจเกิดจากปัจจัยต่าง ( เช่น ระบบประกันสุขภาพ ส่วนร่วมจ่าย และการมียาชีววัตถุคล้ายคลึงหรือยาวัตถุตัวที่สองที่ขึ้นทะเบียนในแต่ละประเทศ
Other Abstract: Background: Access to medicine can be classified in two levels: 1) availability of drugs in the market, and 2) affordability of drugs as they were listed in the national insurance benefit scheme. Biological drugs are expensive and render drug access not only in developing countries, but also developed countries. Objective: This study aimed to compare biological drug access in Thailand with selected upper-middle income and high-income countries. Methods: This is a comparative study collecting market approval status form drug regulatory agencies, and reimbursement authorization from national insurance reimbursement lists. For the USA, the Veterans Affairs drug reimbursement list was used. List of biological products from the US was used as the initial reference for data collection. The study included China, Malaysia and Thailand as a representative of upper-middle income countries, and UK, Australia, Japan, Singapore and Taiwan as a representative of high-income countries. Results: As expected, high-income countries had more biological drugs approved in the market (60% Singapore to 82% UK) than their upper-middle income counterparts (32% China to 57% Thailand). It was also found that high-income countries had more biological drug items in reimbursement drug list (18% Singapore to 58% Japan) than upper-middle income countries (14% China to 22% Malaysia). Biological drug reimbursement in Thailand was very limited for many therapeutic group e.g. cardiovascular, dermatologic, anti-infective, musculoskeletal, respiratory system, sensory organs (0%), and partially reimbursable for anticancer and blood and blood forming agents (10% and 33%), except for diabetes drugs which were listed most in the reimbursement list (47%). Conclusion: Most high-income countries indicate better availability and affordability than upper-middle income countries. This difference of access to medicine may result from factors such as health insurance system, cost sharing and availability of biosimilar or second biological products in each country.
Description: โครงงานเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาเภสัชศาสตร์บัณฑิต สาขาวิชาเภสัชศาสตร์สังคมและบริหาร คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2560
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/75544
Type: Senior Project
Appears in Collections:Pharm - Senior projects

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Pharm_SeniorProject_4.8_2560.pdfไฟล์โครงงานทางวิชาการฉบับเต็ม(4.8-2560)1.9 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.