Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/75710
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | กุลยา พิสิษฐ์สังฆการ | - |
dc.contributor.author | ศุภวรรณ นารถ | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะจิตวิทยา | - |
dc.date.accessioned | 2021-09-21T04:55:29Z | - |
dc.date.available | 2021-09-21T04:55:29Z | - |
dc.date.issued | 2563 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/75710 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2563 | - |
dc.description.abstract | การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์และความสามารถในการทำนายความทุกข์ใจจากการเลิกรา ด้วยการกำกับอารมณ์ด้วยวิธีการทางความคิด รูปแบบความผูกพัน และปัจจัยทางความสัมพันธ์ โดยใช้รูปแบบการวิจัยเชิงอนุมาน และเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบลูกโซ่ โดยกลุ่มตัวอย่างคือนักศึกษาระดับปริญญาตรีที่ผ่านประสบการณ์การเลิกรามาไม่ต่ำกว่า 3 เดือน จำนวน 211 คน กลุ่มตัวอย่างตอบแบบสอบถามข้อมูลทั่วไปซึ่งครอบคลุมถึงปัจจัยทางความสัมพันธ์ มาตรวัดความทุกข์ใจจากการเลิกรา มาตรวัดรูปแบบความผูกพันฉบับย่อ และมาตรวัดการกำกับอารมณ์ด้วยวิธีการทางความคิด วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติสหสัมพันธ์ของเพียร์สันและการถดถอยพหุคูณแบบ Enter ผลการวิจัยสนับสนุนสมมติฐานโดยรวม ทั้งนี้ พบสหสัมพันธ์ทางบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติระหว่างความทุกข์ใจจากการเลิกรากับการใช้การกำกับอารมณ์ด้วยวิธีการทางความคิดแบบไม่เอื้อประโยชน์ (r = .41, p < .01) การมีรูปแบบความผูกพันแบบกังวล อันประกอบด้วย ความต้องการการยอมรับ (r = .25, p < .01) และความหมกมุ่นถึงความสัมพันธ์ (r = .39, p < .01) ในทางกลับกัน ความทุกข์ใจจากการเลิกรามีสหสัมพันธ์ทางลบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับการมีคนรักใหม่ (r = -.16, p < .05) ผลการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณพบกว่าการกำกับอารมณ์ด้วยวิธีการทางความคิด รูปแบบความผูกพัน และปัจจัยทางความสัมพันธ์ร่วมกันทำนายความทุกข์ใจจากการเลิกราได้ร้อยละ 26 (p < .001) โดยมีเฉพาะการกำกับอารมณ์ฯ แบบไม่เอื้อประโยชน์ (β = .28, p < .001) รูปแบบความผูกพันด้านความหมกมุ่นถึงความสัมพันธ์ (β = .35, p < .001) และการมีคนรักใหม่ (β = -.18, p < .01) เท่านั้นที่สามารถทำนายความทุกข์ใจดังกล่าวได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ผลการวิจัยนี้สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการวางแนวทางในการทำความเข้าใจและลดความทุกข์ใจจากการเลิกราในนิสิตนักศึกษาระดับปริญญาตรีได้ในอนาคต | - |
dc.description.abstractalternative | This research study aimed to examine how breakup distress was associated and could be predicted by cognitive emotion regulation, attachment styles, and relational factors. An inferential research design was used. Participants were 211 undergraduate students with breakup experiences of at least 3 months, recruited by a snowball sampling. Participants responded to demographic sheet as well as the measures of breakup distress, attachment styles, and cognitive emotion regulation. Data obtained were analyzed using Pearson’s product moment correlation and multiple regression analysis with the enter method. Overall, findings support the hypotheses. Significant positive associations were found between breakup distress and the use of unhelpful cognitive emotion regulation (r = .41, p < .01) as well as anxious attachment styles, including the need for approval (r = .25, p < .01) and preoccupation with relationship (r = .39, p < .01). In contrast, the breakup distress was negative associated with the existence of a new partner (r = -.16, p < .05). All together, cognitive emotion regulation, attachment styles, and relational factors significantly predicted and accounted for 26 percent of the variance in breakup distress (p < .001). However, when examined together, only unhelpful cognitive emotion regulation (β = .28, p < .001), preoccupation with relationship (β = .35, p < .001), and the existence of a new partner (β = -.18, p < .01) could predict breakup distress significantly. These findings clarify and provide guidelines for therapeutic prevention and intervention for breakup distress in undergraduate students. | - |
dc.language.iso | th | - |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | - |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2020.657 | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | - |
dc.subject | ความรักในวัยรุ่น | - |
dc.subject | ความผูกพัน | - |
dc.subject | ความทุกข์ | - |
dc.subject | Love in adolescence | - |
dc.subject | Commitment (Psychology) | - |
dc.subject | Suffering | - |
dc.subject.classification | Psychology | - |
dc.title | ความสัมพันธ์ระหว่างการกำกับอารมณ์ด้วยวิธีการทางความคิด รูปแบบความผูกพัน ปัจจัยทางความสัมพันธ์ กับความทุกข์ใจจากการเลิกรา ในนิสิตนักศึกษาระดับปริญญาตรีที่ผ่านประสบการณ์การเลิกรา | - |
dc.title.alternative | Relationships among cognitive emotion regulation, attachment styles, relational factors, and breakup distress in undergraduate students with breakup experiences | - |
dc.type | Thesis | - |
dc.degree.name | ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต | - |
dc.degree.level | ปริญญาโท | - |
dc.degree.discipline | จิตวิทยา | - |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | - |
dc.identifier.DOI | 10.58837/CHULA.THE.2020.657 | - |
Appears in Collections: | Psy - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
6177633838.pdf | 1.78 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.