Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/75722
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorวราภรณ์ ชัยวัฒน์-
dc.contributor.advisorสุวิมล โรจนาวี-
dc.contributor.advisorความเจ็บปวดในเด็ก-
dc.contributor.authorกรองแก้ว ทรัพย์ประเสริฐ-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์-
dc.date.accessioned2021-09-21T05:00:57Z-
dc.date.available2021-09-21T05:00:57Z-
dc.date.issued2563-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/75722-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2563-
dc.description.abstractการวิจัยกึ่งทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบความกลัวการใส่สายสวนทางหลอดเลือดดำของเด็กวัยก่อนเรียนที่ได้รับโปรแกรมการพยาบาลเน้นการลดความเจ็บปวดและกลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติ กลุ่มตัวอย่างคือผู้ป่วยเด็กวัยก่อนเรียนที่ได้รับการรักษาโดยการใส่สายสวนทางหลอดเลือดดำ ณ โรงพยาบาลศูนย์ราชบุรี จำนวน 60 คน โดยการสุ่มเข้ากลุ่มทดลองหรือกลุ่มควบคุมและจับเข้าคู่กันด้วยการพิจารณาจากอายุและประสบการณ์การใส่สายสวนทางหลอดเลือดดำ ผู้ป่วยเด็กวัยก่อนเรียนในกลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามปกติ ขณะที่กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการพยาบาลเน้นการลดความเจ็บปวด เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสังเกตพฤติกรรมความกลัวการใส่สายสวนทางหลอดเลือดดำของผู้ป่วยเด็กวัยก่อนเรียน โดยผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิ 5 คน มีค่าดัชนีความตรงตามเนื้อหาเท่ากับ .98 และค่าความเที่ยงของการสังเกตเท่ากับ  .94 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนาและสถิติทดสอบที (independent t-test) ผลการวิจัยพบว่า ความกลัวการใส่สายสวนทางหลอดเลือดดำของเด็กวัยก่อนเรียน กลุ่มที่ได้รับโปรแกรมการพยาบาลเน้นการลดความเจ็บปวดน้อยกว่ากลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05-
dc.description.abstractalternativeThis quasi-experimental research aimed to compare fear of intravenous catheterization in preschoolers receiving nursing program focusing pain reduction, and those receiving conventional nursing care. Samples consisted of 60 preschoolers receiving intravenous catheterization and being admitted to Ratchaburi hospital. There were randomly assigned to experimental and control groups plus matched pair by age and history of intravenous catheterization. Preschoolers in the control group received conventional nursing care, while those in the experiment group were prepared by nursing program focusing pain reduction. Data were collected by preschooler’s fear of intravenous catheterization observation scale. Its content validity was established by 5 experts and the content validity index (CVI) was .98. Its interrater reliability coefficient was .94. Data were analyzed by descriptive statistic and the independent t-test. It was found that fear of intravenous catheterization in preschoolers receiving nursing program focusing pain reduction was significantly lower than fear of the preschoolers receiving conventional nursing at a statistical level of .05.-
dc.language.isoth-
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.relation.urihttp://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2020.912-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.subjectการพยาบาลกุมารเวชศาสตร์-
dc.subjectการเจาะหลอดเลือดดำ-
dc.subjectPain in children-
dc.subjectPediatric nursing-
dc.subjectVeins -- Puncture-
dc.subject.classificationNursing-
dc.titleผลของโปรแกรมการพยาบาลเน้นการลดความเจ็บปวดต่อความกลัวการใส่สายสวนทางหลอดเลือดดำของเด็กวัยก่อนเรียน-
dc.title.alternativeThe effect of nursing program focusing pain reduction on fear of intravenous catheterization among preschoolers-
dc.typeThesis-
dc.degree.nameพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต-
dc.degree.levelปริญญาโท-
dc.degree.disciplineพยาบาลศาสตร์-
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.identifier.DOI10.58837/CHULA.THE.2020.912-
Appears in Collections:Nurse - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5977194036.pdf3.26 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.