Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/75741
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorระพิณ ผลสุข-
dc.contributor.authorอุทัยวรรณ ปัทมานุช-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์-
dc.date.accessioned2021-09-21T05:01:08Z-
dc.date.available2021-09-21T05:01:08Z-
dc.date.issued2563-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/75741-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2563-
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาความสัมพันธ์เชิงบรรยายเพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความรู้สึกกลัวความก้าวหน้าของความเจ็บป่วยในผู้ป่วยหลังเกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันที่ได้รับการวินิจฉัยครั้งแรก กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์ว่ามีภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันครั้งแรก จำนวน 213 คน มาตรวจตามนัดที่แผนกผู้ป่วยนอกระบบหัวใจและหลอดเลือดหลังจากจำหน่ายจากโรงพยาบาลตำรวจ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย และโรงพยาบาลศิริราช คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างด้วยวิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม 6 ส่วน คือ 1) แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล 2) แบบประเมินการรับรู้อาการเจ็บหน้าอก  3) แบบสอบถามความรู้เกี่ยวกับโรคหลอดเลือดหัวใจฉบับย่อ 4) แบบสอบถามการสนับสนุนทางสังคม 5) แบบประเมินการรับรู้สมรรถนะแห่งตน และ 6) แบบสอบถามความรู้สึกกลัวความก้าวหน้าของโรคฉบับย่อ ผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ 5 ท่าน ค่าความเที่ยงของเครื่องมือเท่ากับ .99, .71, .89, .88 และ .89 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้วิธีการทดสอบค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน ผลการวิจัยสรุปได้ ดังนี้ 1. กลุ่มตัวอย่างผู้ป่วยหลังเกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันที่ได้รับการวินิจฉัยครั้งแรกมีคะแนนเฉลี่ยการสนับสนุนทางสังคมอยู่ในระดับสูง (Mean = 62.54, SD = 11.74) ส่วนความรุนแรงของโรค ความรู้ การรับรู้สมรรถนะแห่งตน และความรู้สึกกลัวความก้าวหน้าของความเจ็บป่วยมีคะแนนเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง (Mean = 11.36, SD = 5.67; Mean = 11.34, SD = 3.49; Mean = 31.52, SD = 7.31 และ Mean = 26.93, SD = 10.22 ตามลำดับ) 2. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ทางบวกกับความรู้สึกกลัวความก้าวหน้าของความเจ็บป่วยในผู้ป่วยหลังเกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันที่ได้รับการวินิจฉัยครั้งแรก ได้แก่ ความรุนแรงของโรค (r = .196) ส่วนการรับรู้สมรรถนะแห่งตน (r = -.367) มีความสัมพันธ์ทางลบกับความรู้สึกกลัวความก้าวหน้าของความเจ็บป่วยในผู้ป่วยหลังเกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันที่ได้รับการวินิจฉัยครั้งแรกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 -
dc.description.abstractalternativeThe objective of this descriptive correlational research was to identify factors related to fear of illness progression among patients with first diagnosing of acute myocardial infarction. A multiple – stage sampling of 213 patients with first diagnosis of acute myocardial infarction were recruited from cardiovascular outpatients department after discharge from Police General Hospital, King Chulalongkorn Memorial Hospital and Siriraj Hospital. Data were collected using sis questionnaires for patient with first diagnosis of acute myocardial infarction: 1) Demographic data form, 2) Perceived chest pain questionnaire, 3) Coronary Artery Disease Education Questionnaire short version, 4) Social support questionnaire, 5) Self – efficacy questionnaire, and 6) Fear of illness progression questionnaire – Short Form. All questionnaire were tested for their content validity by five experts. Reliability were .99, .71, .89, .88, and .89 respectively. Data were analyzed using Pearson’s product correlation coefficient statistics. The findings were presented as follow: 1. Mean score of social support among patients with first diagnosing of acute myocardial infarction was at high level (Mean = 62.54, SD = 11.74). Mean score of severity of illness, knowledge, self – efficacy, and fear of illness progress were at moderate level (Mean = 11.36, SD = 5.67; Mean = 11.34, SD = 3.49; Mean = 31.52, SD = 7.31, and Mean = 26.93, SD = 10.22, respectively). 2. The variable was significant positively descriptive correlated to fear of illness progression among patients with first diagnosis of acute myocardial infarction.It was severity of illness (r = .196). Such as Self – efficacy (r = -.367) significant negatively descriptive correlated to fear of illness progression among patients with first diagnosis of acute myocardial infarction at the .05-
dc.language.isoth-
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.relation.urihttp://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2020.898-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.subjectกล้ามเนื้อหัวใจตาย -- แง่กายเหตุจิต-
dc.subjectผู้ป่วย -- จิตวิทยา-
dc.subjectความกลัว-
dc.subjectMyocardial infarction -- Psychosomatic aspects-
dc.subjectPatients -- Psychology-
dc.subjectFear-
dc.subject.classificationNursing-
dc.titleปัจจัยคัดสรรที่มีความสัมพันธ์กับความรู้สึกกลัวความก้าวหน้าของความเจ็บป่วยในผู้ป่วยหลังเกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันที่ได้รับการวินิจฉัยครั้งแรก-
dc.title.alternativeSelected factors relating to fear of illness progression among patients with first diagnosis of acute myocardial infarction-
dc.typeThesis-
dc.degree.nameพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต-
dc.degree.levelปริญญาโท-
dc.degree.disciplineพยาบาลศาสตร์-
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.identifier.DOI10.58837/CHULA.THE.2020.898-
Appears in Collections:Nurse - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6077320236.pdf12.86 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.