Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/75781
Title: | ผลของสารทำอิมัลชันต่อคุณสมบัติและความคงตัวของแอสตาแซนทีนนาโนอิมัลชันสำหรับรับประทาน |
Other Titles: | Effects of emulsifiers on properties and stability of oral astaxanthin nanoemulsion |
Authors: | พรรณรัตน์ นงนวล |
Advisors: | ดุษฎี ชาญวาณิช |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะเภสัชศาสตร์ |
Issue Date: | 2563 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | แอสตาแซนทีนเป็นสารต้านออกซิเดชันที่มีฤทธิ์แรงซึ่งมีผลิตภัณฑ์จำหน่ายในรูปแบบเม็ดและแคปซูลสำหรับรับประทาน อย่างไรก็ตาม แอสตาแซนทีนมีข้อจำกัดด้านการดูดซึมเข้าสู่ทางเดินอาหาร จึงมีการนำระบบนาโนอิมัลชันมาใช้ในการพัฒนาเป็นระบบนำส่งแอสตาแซนทีน โดยทำการศึกษาผลของชนิดและความเข้มข้นของสารทำอิมัลชันต่อคุณสมบัติและความคงตัวของตำรับแอสตาแซนทีนนาโนอิมัลชันชนิดรับประทาน โดยใช้น้ำมันรำข้าว และใช้สารทำอิมัลชันเดี่ยว (โซเดียมเคซิเนต 1, 3, 5% หรือ พอลิซอร์เบต 80 4, 6, 8%) และใช้สารทำอิมัลชันผสมทั้งสองชนิด ผลการศึกษาพบว่า ขนาดหยดอนุภาคของตำรับนาโนอิมัลชันเปล่าที่ใช้สารทำอิมัลชันเดี่ยวโซเดียมเคซิเนตใหญ่กว่าตำรับที่ใช้สารทำอิมัลชันเดี่ยวพอลิซอร์เบต 80 และการเพิ่มความเข้มข้นของพอลิซอร์เบต 80 ส่งผลให้ขนาดหยดวัฏภาคภายในลดลงอย่างมีนัยสำคัญ (p<0.05) สำหรับตำรับที่ใช้สารทำอิมัลชันผสม การเพิ่มความเข้มข้นของสารทำอิมัลชัน ทำให้ขนาดหยดวัฏภาคภายในมีขนาดเล็กลงและมีค่าศักย์ไฟฟ้าซีต้าอยู่ระหว่างการใช้สารทำอิมัลชันเดี่ยว 2 ชนิด จากการศึกษาความคงตัวทางกายภาพภายใต้สภาวะเร่งร้อน-เย็น จำนวน 6 รอบ พบว่า ทุกตำรับที่ใช้สารทำอิมัลชันเดี่ยวและตำรับที่ใช้สารทำอิมัลชันผสมที่มีโซเดียมเคซิเนต 1% มีความคงตัวทางกายภาพที่ดี จากนั้น เลือกใช้สารทำอิมัลชันที่ความเข้มข้นน้อยที่สุดและให้ความคงตัวที่ดี นำมาเตรียมนาโนอิมัลชันที่บรรจุแอสตาแซนทีน โดยเลือกใช้สารทำอิมัลชันเดี่ยว 1% โซเดียมเคซิเนต, 4% พอลิซอร์เบต 80 และสารทำอิมัลชันผสมทั้งสองชนิดที่ความเข้มข้นเดียวกัน จากการศึกษาความคงตัวทางกายภาพและเคมี ที่อุณหภูมิ 5 °C และ 25 °C เป็นเวลา 100 วัน พบว่า ที่อุณหภูมิ 5 °C ตำรับแอสตาแซนทีนนาโนอิมัลชันมีความคงตัวทางเคมีดีกว่าที่อุณหภูมิ 25 °C และตำรับที่ใช้สารทำอิมัลชันผสมมีความคงตัวทางเคมีดีกว่าตำรับที่ใช้สารทำอิมัลชันเดี่ยวโซเดียมเคซิเนต และพอลิซอร์เบต 80 ตามลำดับ ผลการศึกษาที่ได้สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนาระบบนำส่งแอสตาแซนทีนในรูปแบบนาโนอิมัลชันสำหรับรับประทานต่อไป |
Other Abstract: | Astaxanthin is a potent antioxidant that is available in forms of tablets and capsules for oral administration. However, astaxanthin has limitations in its absorption into the gastrointestinal tract. Therefore, the nanoemulsion was used to develop astaxanthin delivery systems. This research is to investigate the effects of emulsifier types and concentrations on the properties and stability of astaxanthin nanoemulsion. The nanoemulsions were formulated by applying rice bran oil and either single emulsifier (1,3,5% sodium caseinate (SC) or 4,6,8% polysorbate 80 (PS80)) or mixed emulsifiers. The result indicated that the droplet size of nanoemulsions with SC was larger than PS80. The PS80 concentration resulted in a significant decrease in the droplet size. For the formulations with mixed emulsifiers, the increase of the concentration of emulsifiers led to the decrease in the droplet size and their negative charge values were ranged between those of nanoemulsions with single SC and PS80. All formulations with a single emulsifier were physically stable under heating-cooling six cycles, whereas the nanoemulsions with mixed emulsifiers showed a good stability for only those with the 1%SC concentration. Therefore, a single emulsifier of 1%SC, 4%PS80 and mixed emulsifiers as the same concentration were selected to develop nanoemulsions containing astaxanthin. The physical and chemical stabilities were studied at 5°C and 25°C for 100 days. It was found that astaxanthin nanoemulsions at 5°C demonstrated better chemical stability than 25°C. Chemical stability of astaxanthin nanoemulsions with mixed emulsifiers was better than single emulsifier of SC and PS80, respectively. The findings of this study could be further applied to develop oral delivery system of astaxanthin nanoemulsions. |
Description: | สารนิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2563 |
Degree Name: | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | วิทยาศาสตร์เครื่องสำอาง |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/75781 |
URI: | http://doi.org/10.58837/CHULA.IS.2020.464 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.58837/CHULA.IS.2020.464 |
Type: | Independent Study |
Appears in Collections: | Pharm - Independent Studies |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
6176257333.pdf | 3.25 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.