Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/75798
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | เทพี จรัสจรุงเกียรติ | - |
dc.contributor.author | เสาวรส มนต์วิเศษ | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะอักษรศาสตร์ | - |
dc.date.accessioned | 2021-09-21T05:10:14Z | - |
dc.date.available | 2021-09-21T05:10:14Z | - |
dc.date.issued | 2563 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/75798 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (อ.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2563 | - |
dc.description.abstract | วิทยานิพนธ์เรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาษากับการสร้างภาพตัวแทนผู้กระทำผิดในกฎหมายไทยและเปรียบเทียบภาพตัวแทนผู้กระทำผิดในกฎหมายไทย 3 ยุค ได้แก่ ยุคกฎหมายจารีตประเพณี ยุคเปลี่ยนผ่านสู่ระบบประมวลกฎหมาย และยุคประมวลกฎหมาย โดยเก็บข้อมูลจากตัวบทกฎหมายจำนวน 4 ฉบับ ได้แก่ ศิลาจารึกกฎหมายลักษณโจร กฎหมายตราสามดวง กฎหมายลักษณะอาญา ร.ศ. 127 และประมวลกฎหมายอาญา พ.ศ. 2499 รวมจำนวนบทบัญญัติกฎหมายทั้งสิ้น 2,571 มาตรา ผลการศึกษาพบว่าวาทกรรมกฎหมายไทยใช้กลวิธีทางภาษาเพื่อนำเสนอภาพตัวแทนผู้กระทำผิด 2 กลวิธีหลัก ได้แก่ การเลือกใช้ศัพท์และการใช้ประโยคเพื่อสื่อความหมาย เมื่อวิเคราะห์ “กลวิธีทางภาษา” ทำให้เห็นการสร้างภาพตัวแทนผู้กระทำผิดในกฎหมายไทยแต่ละยุคทั้งที่เหมือนและแตกต่างกัน ภาพตัวแทนผู้กระทำผิดที่ปรากฏเหมือนกันในกฎหมายทุกยุค ได้แก่ “ผู้กระทำผิดเป็นบุคคลอันตราย” ส่วนภาพตัวแทนผู้กระทำผิดที่แตกต่างกันในกฎหมายแต่ละยุคสรุปได้ดังนี้ ยุคแรก (สมัยสุโขทัย อยุธยา ถึงรัตนโกสินทร์ตอนต้น) เป็นยุคที่พระมหากษัตริย์ทรงอยู่ในฐานะผู้ปกครองสูงสุด ทรงเป็นผู้มีอำนาจเต็มในการบริหารและปกครองประเทศ ตลอดจนอำนาจในการตรากฎหมายภายใต้หลักการแห่งพระธรรมศาสตร์ พระบรมราชโองการของพระมหากษัตริย์เปรียบเหมือนเทวโองการอันศักดิ์สิทธิ์ การกระทำผิดกฎหมายในยุคนี้คือการละเมิดทั้งศีลธรรมและพระมหากษัตริย์ ภาพตัวแทนผู้กระทำผิดที่ถูกประกอบสร้างผ่านตัวบทกฎหมายในยุคนี้จึงเป็น “ผู้กระทำผิดคือคนบาป” เป็น “คนที่ไม่เคารพยำเกรงพระมหากษัตริย์” และเป็น “คนที่ไม่เกรงกลัวกฎหมาย” ซึ่งกฎหมายต้องกำจัดทิ้ง ยุคที่สอง (สมัยรัชกาลที่ 4 – 5 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์) โลกกำลังเข้าสู่ยุคสมัยใหม่ซึ่งสังคมไทยจำเป็นต้องปรับตัวตามด้วยการปฏิรูปสังคม ปฏิรูปประเทศ และปฏิรูปกฎหมายโดยการรับแนวคิดกฎหมายตะวันตกมาปรับใช้กับกฎหมายไทย ยุคนี้เป็นยุคที่พระมหากษัตริย์ทรงอยู่ในฐานะผู้ปกครองสูงสุดเช่นในยุคแรกแต่แตกต่างกันตรงที่ในยุคนี้มีแนวคิดว่ากฎหมายเป็นสิ่งที่บัญญัติขึ้นโดยมนุษย์ ส่งผลให้กฎหมายที่ถูกตราขึ้นในยุคที่สองนี้เป็นกฎที่มาจากพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์โดยตรง บทบัญญัติกฎหมายในยุคนี้จึงสร้างภาพตัวแทนผู้กระทำผิดประการหนึ่งซึ่งแตกต่างกับกฎหมายยุคอื่นคือ “ผู้กระทำผิดคือคนที่พระมหากษัตริย์ระบุว่ากระทำความผิดหรือมีความผิด” ส่วนภาพตัวแทนผู้กระทำผิดที่ปรากฏชัดเจนในกฎหมายอาญาไทยยุคนี้คือ “ผู้กระทำผิดเป็นคนที่ไม่เกรงกลัวกฎหมาย” และผู้ที่กระทำการฝ่าฝืนบทบัญญัติกฎหมายถือเป็น “คนที่(สมควร)ต้องถูกลงโทษ” ยุคที่สาม ภายหลังประเทศไทยเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภาในสมัยรัชกาลที่ 7 ด้วยระบบคิดแบบประชาธิปไตยทำให้พระมหากษัตริย์ในยุคนี้มิใช่ผู้มีอำนาจในการตรากฎหมายเช่นเดิม บทบัญญัติกฎหมายอาญาไทยในยุคนี้จึงไม่มีการกล่าวถึงการกระทำความผิดว่าเป็นการละเมิดพระราชอาชญาของพระมหากษัตริย์เช่นกฎหมายในยุคก่อน หากแต่นำเสนออย่างชัดเจนว่า “ผู้กระทำผิดคือคนที่ไม่เกรงกลัวกฎหมาย” และถือเป็น “คนที่(สมควร)ต้องถูกลงโทษ” | - |
dc.description.abstractalternative | The purpose of this thesis is to study the relationship between language and the representation of offender in Thai law and the comparison of offender’s representation in 3 eras of Thai law which consist of; 1) era of the customary law 2) transitional era toward the code of law 3) era of the code of law by the collection of data from 4 different law which are; stone inscription on thief’s characters, first Thai enacted law, criminal law R.E.127, and criminal code of law B.E.2499 totaling 2,571 section of legislate recording. To convey the meaning, Thai law has used two language strategies, which are word choice and sentences. According to the “linguistic devices” analysis, there are similarities and differences in representation of offender in each era. The recurring representation of offender that appeared in every era was ‘Offender is a dangerous person’. The differences in the representation of offender in each era of Thai law can be summarized as follow; In the initial era of Sukhothai, Ayutthaya, and early Rattanakosin (Bangkok), the king was considered as a supreme ruler and assumed total control and governance of the country including his right to issue a law according to his moral principle. The command of the king could be liken to the sacred will of the god. As a result, the representation of offender that was built in era of the customary law was in the manner of ‘Offender as a sinner’, ‘Offender as an individual who is unafraid of Monarchy’, and ‘Offender as an individual who is unafraid of Laws’ that need to be eliminated by the law. The era of King Rama IV to King Rama V of Rattanakosin was the transitional period for Thailand toward modernized society. Thailand had to reform its society and law by integrating western law system to Thai law. In this second era, the king was still a supreme ruler who was in total control and governance of the country, including the issuing of the law. The difference is that the law was seen as a human’s invention, not something from higher order beyond human understanding. The issued law in this era was then the precept directed from king’s authority. The legislation in this era represented offender in one characteristic which is distinct from the law from other eras which is ‘Offender is a person who is designated as guilty by the king’. The most apparent representation of offender from criminal law in the second era is ‘Offender as an individual who is unafraid of Laws’, and the violator of the legislation would be labeled as ‘a person who must (or deserve to be) be punished’. After the transition of Thailand (Siam) into a constitutional monarchy system of government in the reign of King Rama VII, the concept of democracy reduced the king’s power. The king was no longer in absolute control of the country governance, and also did not have the right to issue a law. Thus, the mentioning of the offense based on violating King’s command was then omitted in the legislation of this era of code of law. Instead, the apparent representation since then became ‘Offender as an individual who is unafraid of Laws’ and would be labeled as ‘a person who must (or deserve to be) be punished’ only. | - |
dc.language.iso | th | - |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | - |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2020.942 | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | - |
dc.subject.classification | Arts and Humanities | - |
dc.title | ความสัมพันธ์ระหว่างภาษากับภาพตัวแทนผู้กระทำผิดในกฎหมายไทย | - |
dc.title.alternative | The relationship between language and representations of offenders in Thai laws | - |
dc.type | Thesis | - |
dc.degree.name | อักษรศาสตรดุษฎีบัณฑิต | - |
dc.degree.level | ปริญญาเอก | - |
dc.degree.discipline | ภาษาไทย | - |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | - |
dc.identifier.DOI | 10.58837/CHULA.THE.2020.942 | - |
Appears in Collections: | Arts - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5880514522.pdf | 18.51 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.