Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/75838
Title: คุณสมบัติทางเคมีและทางกายภาพของไตรแคลเซียมซิลิเกตซีเมนต์ชนิดก่อตัวเร็วสำหรับงานสร้างเนื้อเยื่อใหม่ทางวิทยาเอ็นโดดอนต์
Other Titles: Chemical and physical properties of fast setting tricalcium silicate cement for regenerative endodontics
Authors: คงธรรม วิมลสุทธิกุล
Advisors: ไพโรจน์ หลินศุวนนท์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะทันตแพทยศาสตร์
Issue Date: 2563
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาส่วนประกอบทางเคมีและคุณสมบัติทางกายภาพของ ไตรแคลเซียมซิลิเกตซีเมนต์ชนิดก่อตัวเร็วที่สังเคราะห์ขึ้นจากห้องปฏิบัติการเพื่อใช้ในสำหรับงานทันตกรรม สังเคราะห์ไตรแคลเซียมซิลิเกตโดยการเผาซิลิกา (SiO2) กับแคลเซียมคาร์บอเนต (CaCO3) ที่อุณหภูมิ 1450 องศาเซลเซียสเป็นเวลา 2 ชั่วโมง ทดสอบส่วนประกอบทางเคมีของไตรแคลเซียมซิลิเกตที่สังเคราะห์ได้โดยวิธีการเลี้ยวเบนรังสีเอ็กซ์ (XRD) และเอกซเรย์ฟลูโอเรสเซนส์ (XRF) จากนั้นนำผงไตรแคลเซียมซิลิเกตผสมกับเซอร์คอนในสัดส่วนร้อยละ 10 20 และ 30 เพื่อเป็นความทึบรังสี และใช้lสารละลายแคลเซียมคลอไรด์เข้มข้นร้อยละ 20 เพื่อเร่งปฏิกิริยา เพื่อให้เป็นไตรแคลเซียมซิลิเกตซีเมนต์ชนิดก่อตัวเร็ว จากนั้นทดสอบคุณสมบัติทางกายภาพได้แก่เวลาแข็งตัวขั้นต้นและสมบูรณ์ ความทนแรงกด ความทึบรังสี และความเป็นกรด-ด่าง โดยอ้างอิงจากมาตรฐานไอเอสโอ 6876 (2012) และ 9917 (2007) จากการทดสอบส่วนประกอบทางเคมีพบว่าส่วนผงของไตรแคลเซียมซิลิเกตซีเมนต์มีส่วนประกอบหลักเป็นไตรแคลเซียมซิลิเกตเช่นเดียวกับไบโอเดนทีน ไตรแคลเซียมซิลิเกตซีเมนต์มีเวลาแข็งตัวที่นานขึ้นเมื่อมีสัดส่วนของเซอร์คอนมากขึ้น โดยมีเวลาแข็งตัวไม่แตกต่างจากไบโอเดนทีนอย่างมีนัยสำคัญเมื่อมีเซอร์คอนร้อยละ 20 เมื่อผสมเซอร์คอนมากกว่าร้อยละ 10 ส่งผลให้ไตรแคลเซียมซิลิเกตซีเมนต์มีความทนแรงกดมากขึ้นและไม่แตกต่างจาก ไบโอเดนทีน ไตรแคลเซียมซิลิเกตซีเมนต์ที่มีเซอร์คอนร้อยละ 20 และ 30 มีความทึบรังสีมากกว่า ไบโอเดนทีน (5.64 และ 6.47 มิลลิเมตรของอะลูมิเนียม) ปริมาณเซอร์คอนที่ต่างกันไม่ส่งผลทำให้ความเป็นกรด-ด่างของไตรแคลเซียมซิลิเกตซีเมนต์เปลี่ยนแปลง โดยมีค่าความเป็นกรด-ด่างมากกว่าไบโอเดนทีนในช่วงเวลา 3 ชั่วโมงถึง 3 สัปดาห์ (ประมาณ 21.1 ถึง 12.8) ดังนั้นไตรแคลเซียมซิลิเกตซีเมนต์ที่มีเซอร์คอนร้อยละ 20 มีคุณสมบัติทางกายภาพที่เหมาะสมสำหรับการใช้งานทางทันตกรรม
Other Abstract: This study aimed to investigate chemical compositions and physical properties of laboratory-synthesized fast setting tricalcium silicate cement for regenerative endodontics. The laboratory-synthesized tricalcium silicate powder was prepared by sintering silica (SiO2) and calcium carbonate (CaCO3) at 1450 °C for 2 hours. The chemical composition of the tricalcium silicate powder was analyzed by X-ray diffraction analysis (XRD). In order to develop fast setting tricalcium silicate cement, zircon (ZrSiO4) at the amount of 10%, 20% and 30% was added to tricalcium silicate as a radiopacifier. Calcium chloride (CaCl2) at the concentration of 20% was used as an accelerator. Physical properties of the prepared materials were investigated accordingly to ISO 6876 (2012) and 9917-1 (2007) including initial and final setting time, compressive strength, radiopacity and pH. XRD showed that tricalcium silicate was the main component of the TCS powder and Biodentine. Tricalcium silicate cement with higher concentration of zircon exhibited higher setting time. At the concentration of 20% zircon, the setting time of tricalcium silicate cement was not significantly different to Biodentine. Adding zircon at the concentration of more than 10% resulted in higher compressive strength similar to Biodentine. Varying the amount of zircon to tricalcium silicate did not affect pH values. At the duration of 3 hours to 3 weeks, tricalcium silicate cement showed higher pH values in comparison to Biodentine (in the range of 12.1 to 12.8). Tricalcium silicate with 20% and 30% zircon showed higher radiopacity than Biodentine (5.64 and 6.47 mm. of aluminium). In comparison to Biodentine, the local-made laboratory-synthesized tricalcium silicate cement with 20% zircon showed suitable physical properties for dental application.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2563
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิทยาเอ็นโดดอนต์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/75838
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2020.986
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2020.986
Type: Thesis
Appears in Collections:Dent - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6075803732.pdf4.34 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.