Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/75845
Title: | Analysis of chewing efficiency in dementia patients using two-color chewing gum test and the viewgum software |
Other Titles: | การศึกษาประสิทธิภาพการบดเคี้ยวในคนไข้ภาวะสมองเสื่อมโดยใช้โปรแกรมวิวกัมวิเคราะห์การผสมของหมากฝรั่งสองสี |
Authors: | Chawisa Thangjittiporn |
Advisors: | Anjalee Vacharaksa Solaphat Hemrungrojn |
Other author: | Chulalongkorn University. Faculty of Dentistry |
Issue Date: | 2020 |
Publisher: | Chulalongkorn University |
Abstract: | The purpose of this study was to analyze the relationship between chewing efficacy and severity level of cognitive impairment in dementia patients using a smartphone with ViewGum software for chewing efficiency analysis. Participants (n=70) from the Dementia Clinic, King Chulalongkorn Memorial Hospital, included 38 dementia patients (76.1±9.0 years) and 32 patients (71.8±9.9Years) with mild cognitive impairment (MCI), diagnosed by the medical specialists. The cognitive impairment was assessed by the TMSE (Thai Mental State Examination), and then scored. Participants were assessed for chewing efficacy using the mixing ability test of the two-color chewing gum, followed by an analysis using the ViewGum software. The data analysis revealed the variance of hue (VOH) as the measure of the two-color mixture. Inadequate mixing of the two colors presents with VOH larger than the complete mixture. The images of mixing colors in the gum were taken by the smartphone, and then compared to the scanner by intraclass correlation coefficients (ICCs). The analysis demonstrated ICCs of 0.97 indicating the excellent reliability (0.96; p<0.001;95%CI 0.955-0.982) of the two methods. The chewing efficacy, analyzed from the images taken by the smartphone (P=0.01) and the scanner (P=0.02), of dementia patients was significantly different from patients with MCI shown by Independent t-test analysis. The simple linear regression analysis revealed a significant association between VOH and TMSE score analyzed from the images taken by the smartphone (F(1,53)=6.566, P=0.013, R2= 0.110), and the scanner (F(1,53)=6.437, P=0.014, R2=0.108). This study suggested that the chewing efficacy can be simply analyzed with the two-color chewing gum test and a smartphone image capture for ViewGum software analysis. Within the limitation of this study, the participants demonstrated a significant association between chewing efficacy and the severity level of cognitive impairment. Further studies are necessary to determine whether chewing efficacy can support a prediction of the cognitive impairment in patients with early signs of dementia. |
Other Abstract: | วัตถุประสงค์ของการศึกษาเพื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างประสิทธิภาพการบดเคี้ยวกับความรุนแรงของความบกพร่องของสมรรถนะทางสมองในคนไข้โรคสมองเสื่อม โดยใช้โทรศัพท์มือถือร่วมกับโปรแกรมวิวกัมเพื่อวิเคราะห์ประสิทธิภาพการบดเคี้ยว กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วยคนไข้โรคสมองเสื่อม 38 คน และคนไข้ที่มีความรู้คิดบกพร่องเล็กน้อย 32 คน ที่มารักษาที่คลินิกโรคสมองเสื่อมโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์และถูกวินิจฉัยโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ระดับความรุนแรงของความบกพร่องของสมรรถนะทางสมองประเมินโดยใช้แบบทดสอบสมรรถภาพทางสมองของไทย (Thai Mental State Examination : TMSE) และประสิทธิภาพการบดเคี้ยวถูกประเมินโดยการทดสอบหมากฝรั่งสองสีร่วมกับโปรแกรมวิวกัม ซึ่งโปรแกรมจะคำนวณค่าความแปรปรวนของสี (variance of hue; VOH) เป็นตัวแทนของความสามารถในการผสมสี โดยค่า VOH ที่มากแสดงถึงการผสมสีที่ไม่ดี ภาพของหมากฝรั่งผสมสีจะถูกถ่ายด้วยโทรศัพท์มือถือแล้วนำมาเปรียบเทียบกับภาพหมากฝรั่งที่ถูกแสกนด้วยเครื่องสแกนเนอร์โดยใช้สถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ภายในชั้น (Intraclass Correlation Coefficient: ICC) จากการวิเคราะห์พบว่าค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ภายในชั้นเท่ากับ 0.97 (p<0.001;95%CI0.955-0.982) ซึ่งแสดงความสอดคล้องของเครื่องมืออยู่ในระดับดีมาก การเคี้ยวเมื่อวิเคราะห์จากภาพที่ถ่ายด้วยโทรศัพท์มือถือ (P=0.01) และจากภาพที่ได้จากเครื่องสแกน (P=0.02) พบว่าคนไข้โรคสมองเสื่อมมีการเคี้ยวที่แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญกับคนไข้ที่มีความรู้คิดบกพร่องเล็กน้อยเมื่อวิเคราะด้วยสถิติ Independent t-test นอกจากนี้จากการวิเคราะห์การถดถอยอย่างง่ายพบความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญระหว่างค่า VOH และ TMSE ทั้งจากที่วิเคราะห์การบดเคี้ยวด้วยภาพถ่ายโทรศัพท์มือถือ (F(1,53)=6.566, P=0.013, R2= 0.110) และภาพที่ได้จากการสแกน (F(1,53)=6.437, P=0.014,R2=0.108) การศึกษานี้แนะนำว่าการวิเคราะห์ประสิทธิภาพการบดเคี้ยวสามารถทำให้ง่ายขึ้นด้วยการนำโทรศัพท์มือถือมาใช้ถ่ายภาพหมากฝรั่งจากการทดสอบการเคี้ยวหมากฝรั่งสองสีก่อนนำมาวิเคราะห์ด้วยโปรแกรมวิวกัม เนื่องจากข้อจำกัดการศึกษา ในกลุ่มตัวอย่างแสดงการเคี้ยวสัมพันธ์กับระดับความรุนแรงของความบกพร่องของสมรรถนะทางสมอง ดังนั้นยังต้องการการศึกษาในอนาคตเพื่อสนับสนุนว่า ประสิทธิภาพการบดเคี้ยวสามารถทำนายความระดับความบกพร่องของสมรรถนะทางสมองอันเป็นสัญญาณแรกเริ่มของคนไข้โรคสมองเสื่อมต่อไป |
Description: | Thesis (M.Sc.)--Chulalongkorn University, 2020 |
Degree Name: | Master of Science |
Degree Level: | Master's Degree |
Degree Discipline: | Geriatric Dentistry and Special Patients Care |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/75845 |
URI: | http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2020.233 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.58837/CHULA.THE.2020.233 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Dent - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
6175807332.pdf | 1.71 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.