Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/75863
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorNalinee Tuntivanich-
dc.contributor.authorChompunut Permkam-
dc.contributor.otherChulalongkorn university. Faculty of Veterinary Science-
dc.date.accessioned2021-09-21T05:24:00Z-
dc.date.available2021-09-21T05:24:00Z-
dc.date.issued2015-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/75863-
dc.descriptionThesis (M.Sc.)--Chulalongkorn University, 2015-
dc.description.abstractTransscleral diode laser cyclophotocoagulation is the method to lower the intraocular pressure by causing coagulative necrosis of ciliary epithelium, resulting in a decrease of aqueous humor production. This study was to compare clinical outcome and pathological changes of ciliary body, using three different setting protocols in chronic canine glaucoma. Protocol I 1500:1500 (power:duration), 40 spots, 270 degrees around the globe at 3, 4 and 5 mm posterior to the limbus, Protocol II 1500:1500 (power:duration), 80 spots, at the area as described in protocol I, and Protocol III 1000:2500 (power:duration), 80 spots, 360 degrees circumferential at 3 and 4 mm behind the limbus. Rate of success in reducing intraocular pressure was 60%, 90% and 100% in protocols I, II and III, respectively. Number of laser spots and total energy delivery per eye were highly correlated to the success. Reduction of intraocular pressure, topical hypotensive medication application and axial globe length were relatively comparable among the three protocols. Ulcerative keratitis was the main complication in all protocols while aqueous flare was the major cause of uncontrollable intraocular pressure, leading to enucleation in protocols I and II. Coagulative necrosis and ciliary tissue separation were found in all protocols with different extent, while pars plana was intact.  -
dc.description.abstractalternativeการใช้เลเซอร์ชนิดไดโอดผ่านเปลือกหุ้มลูกตาเพื่อทำลายแขนงของซิลิอารี ทำให้เกิดการตายของเนื้อเยื่อแบบจับตัวเป็นก้อน วิธีการนี้มีจุดประสงค์เพื่อลดความดันในลูกตา โดยการใช้หลักการที่แสงเปลี่ยนป็นความร้อน ทำให้เยื่อบุผิวของซิลิอารีตายแบบจับตัวเป็นก้อน ส่งผลต่อการสร้างของเหลวในลูกตาที่ลดน้อยลง จึงสามารถควบคุมความดันในภาวะต้อหินได้ การศึกษานี้เป็นการศึกษาเปรียบเทียบผลทางคลินิก และการเปลี่ยนแปลงทางพยาธิวิทยาของซิลิอารีบอดี เมื่อใช้วิธีการตั้งค่าเลเซอร์ที่แตกต่างกัน 3 วิธี ในการรักษาต้อหินเรื้อรังในสุนัข โดยวิธีการแรก ตั้งค่าพลังงาน 1500 มิลลิวัตต์ในระยะเวลา 1500 มิลลิวินาที จำนวนการยิงเลเซอร์ 40 ตำแหน่ง เป็นวงรอบ 270 องศาของลูกตา ห่างจากลิมบัส 3, 4 และ 5 มิลลิเมตร ส่วนวิธีการที่ 2 ตั้งค่าพลังงาน ระยะเวลา และระยะทางที่เหมือนกับในวิธีการแรก แต่จำนวนการยิงเลเซอร์ 80 ตำแหน่ง และวิธีการที่ 3 ตั้งค่าพลังงาน 1000 มิลลิวัตต์ในระยะเวลา 2500 มิลลิวินาที จำนวนการยิงเลเซอร์ 80 ตำแหน่ง เป็นวงรอบ 360 องศาของลูกตา ห่างจากลิมบัส 3 และ 4 มิลลิเมตร ผลการศึกษาพบว่าแต่ละวิธีการมีอัตราความสำเร็จในการควบคุมความดันให้ต่ำกว่า 21 มิลลิเมตรปรอท เท่ากับ 60%, 90% และ 100% โดยวิธีการที่ 1, 2 และ3ตามลำดับ นอกจากนี้ยังพบว่าจำนวนตำแหน่งของการยิงเลเซอร์ และพลังงานของเลเซอร์รวมต่อลูกตา มีความสัมพันธ์อย่างมากต่อความสำเร็จในการลดความดันในลูกตา ซึ่งการลดลงของความดันในลูกตา, ปริมาณการใช้ยาหยอดตาเพื่อควบคุมความดัน และความยาวตามแนวแกนของลูกตาของแต่ละวิธีการเมื่อนำมาเปรียบเทียบพบว่ามีความใกล้เคียงกัน ภาวะแผลหลุมที่กระจกตาเป็นภาวะแทรกซ้อนที่พบได้มากที่สุดในการศึกษานี้ ในขณะที่การอักเสบในช่องหน้าตาเป็นภาวะแทรกซ้อนสำคัญที่ทำให้ไม่สามารถควบคุมความดันในลูกตา และนำไปสู่การผ่าตัดเพื่อเอาลูกตาออก ซึ่งพบได้ในวิธีการที่ 1 และ 2 การศึกษาทางพยาธิวิทยาพบการเปลี่ยนแปลงที่มีลักษณะใกล้เคียงกันในแต่ละวิธีการ คือพบการตายของเนื้อเยื่อแบบจับตัวเป็นก้อน และการแยกชั้นของเนื้อเยื่อซิลิอารีภายหลังจากได้รับความร้อนจากเลเซอร์ แต่ระดับของการเปลี่ยนแปลงมีความรุนแรงแตกต่างกัน ในขณะที่ส่วนของพาร์ส พลานา ไม่เกิดการเปลี่ยนแปลง-
dc.language.isoen-
dc.publisherChulalongkorn University-
dc.rightsChulalongkorn University-
dc.subject.classificationVeterinary-
dc.titleA comparison of three different setting protocols of transscleral diode laser cyclophotocoagulation in chronic canine glaucoma-
dc.title.alternativeผลการเปรียบเทียบการตั้งค่าเลเซอร์ที่แตกต่างกัน 3 วิธีการในการใช้เลเซอร์ชนิดไดโอดผ่านเปลือกหุ้มลูกตาเพื่อรักษาต้อหินเรื้อรังในสุนัข-
dc.typeThesis-
dc.degree.nameMaster of Science-
dc.degree.levelMaster's Degree-
dc.degree.disciplineVeterinary Surgery-
dc.degree.grantorChulalongkorn University-
Appears in Collections:Vet - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5675302931.pdf2.95 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.