Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/75948
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorชัชพล ไชยพร-
dc.contributor.authorชินวัตร บุญส่งสุวรรณ์-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์-
dc.date.accessioned2021-09-21T06:01:43Z-
dc.date.available2021-09-21T06:01:43Z-
dc.date.issued2563-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/75948-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2563-
dc.description.abstractวิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเป็นไปได้และความเหมาะสมในการกำหนดความรับผิดทางอาญาเกี่ยวกับการกระทำต่อภาพส่วนบุคคลของผู้อื่น ได้แก่ การแอบบันทึกภาพ การติดตั้งอุปกรณ์บันทึกภาพ การครอบครองภาพ การเผยแพร่ภาพ และการข่มขู่ว่าจะเผยแพร่ภาพ โดยได้ทำการศึกษาความหมายของภาพส่วนบุคคล จากนั้นจึงศึกษาแนวคิดเกี่ยวกับสิทธิส่วนบุคคล และทฤษฎีในการกำหนดความรับผิดและโทษทางอาญา รวมทั้งสำรวจบทบัญญัติแห่งกฎหมายไทยและต่างประเทศที่เกี่ยวข้องเพื่อวิเคราะห์แสวงหาแนวทางที่เหมาะสมในการพัฒนากฎหมายไทยให้ตอบสนองต่อปัญหาดังกล่าวได้อย่างมีประสิทธิภาพ จากการศึกษาพบว่า ราชอาณาจักรไทยยังไม่มีบทบัญญัติใดที่กำหนดความรับผิดทางอาญาเกี่ยวกับภาพส่วนบุคคลไว้ในลักษณะที่กล่าวแล้วโดยตรง จึงต้องนำฐานความผิดที่มีอยู่ในประมวลกฎหมายอาญาและพระราชบัญญัติอื่นมาปรับใช้เพื่อคุ้มครองเหยื่อ ซึ่งไม่ครอบคลุมในทุกลักษณะของการกระทำ ทั้งอัตราโทษไม่ได้สัดส่วนกับการกระทำความผิด ในขณะที่กฎหมายของสหรัฐอเมริกา  มลรัฐนิวยอร์ก มลรัฐอิลลินอยส์ อังกฤษ แคนาดา และสาธารณรัฐสิงคโปร์ ได้มีฐานความผิดที่ได้กระทำต่อภาพส่วนบุคคล ซึ่งครอบคลุมในทุกลักษณะของการกระทำที่เกี่ยวข้อง ด้วยเหตุที่กล่าวมาข้างต้น ผู้เขียนจึงเสนอให้คุ้มครองสิทธิส่วนบุคคลของเหยื่อด้วยการกำหนดให้การกระทำต่อภาพส่วนบุคคลเป็นความผิดอาญา โดยนำประเด็นที่กฎหมายต่างประเทศได้กำหนดไว้มาเป็นแนวทางในการปรับใช้ให้เหมาะสมกับบริบทของสังคมไทย อันจะเกิดประโยชน์ในการพัฒนากฎหมายและเป็นการป้องปรามการกระทำความผิดที่เกิดขึ้นอย่างเหมาะสม-
dc.description.abstractalternativeThe aim of this thesis is to study the feasibility of criminalising acts related to private image of another person. Such acts range from secretly photographing another person, installing recording devices, to possessing, distributing, or threatening to distribute private images of another person. This thesis defines ‘private image’ and lays out a theoretical background on privacy rights, criminalisation, and punishment. It then conducts a comparative analysis of the relevant Thai and foreign laws to determine an appropriate approach in developing Thai law. The study indicates that Thailand lacks a provision directly criminalising the acts under study. Thailand relies instead on the application of existing offences in the Criminal and other statutes. A problem which arises in so doing is that, unlike foreign laws, not all aspects of the acts are covered comprehensively. Moreover, the applicable punishment is not proportionate to the crime. The author therefore proposes that the issues contemplated under foreign law be adopted to Thai law in a context-appropriate manner so as to develop Thai law to adequately protect the privacy rights of an individual for what concerns acts relevant to private images.-
dc.language.isoth-
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.relation.urihttp://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2020.803-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.subjectการบริหารข้อมูลส่วนบุคคล -- กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ-
dc.subjectPersonal information management -- Law and legislation-
dc.subject.classificationSocial Sciences-
dc.titleการกำหนดความรับผิดทางอาญาเกี่ยวกับภาพส่วนบุคคล-
dc.title.alternativeCriminalisation of private images-
dc.typeThesis-
dc.degree.nameนิติศาสตรมหาบัณฑิต-
dc.degree.levelปริญญาโท-
dc.degree.disciplineนิติศาสตร์-
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.identifier.DOI10.58837/CHULA.THE.2020.803-
Appears in Collections:Law - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5985966534.pdf4.02 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.