Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/75954
Title: ปัญหาผลทางกฎหมายของการเรียกเบี้ยปรับเมื่อผิดนัด
Other Titles: Legal consequences of penalty upon default
Authors: สุทธิดา พันธุ์ผึ้ง
Advisors: ศนันท์กรณ์ โสตถิพันธุ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์
Subjects: กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ -- มัดจำและกำหนดเบี้ยปรับ
การผิดนัด (กฎหมาย)
Civil and commercial law -- Earnest and stipulated penalty
Default (Law)
Issue Date: 2563
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: เนื่องจากมาตรา 379 ได้แบ่งประเภทของเบี้ยปรับออกเป็นสองประเภทคือ เบี้ยปรับเพื่อการไม่ชำระหนี้และเบี้ยปรับเพื่อการไม่ชำระหนี้ให้ถูกต้อง โดยกำหนดเหตุของการเรียกหรือริบเบี้ยปรับคือการผิดนัดของลูกหนี้แต่มิได้อธิบายถึงความหมายหรือหลักเกณฑ์ว่ามีลักษณะที่แตกต่างจากหลักในเรื่องลูกหนี้ผิดนัดตามมาตรา 204 ที่เป็นบททั่วไปในบรรพ 2อย่างไร ซึ่งตามเหตุผลทางนิติวิธีแล้วต้องนำเอาหลักเรื่องลูกหนี้ผิดนัดตามมาตรา 204 มาปรับใช้ แต่ก็พบว่ามีการไม่ชำระหนี้ให้ถูกต้องบางกรณีที่ไม่มีความทับซ้อนกับการผิดนัดส่งผลให้เจ้าหนี้ไม่อาจเรียกหรือริบเบี้ยปรับในกรณีนั้นได้ จึงเกิดประเด็นปัญหาว่า แท้จริงแล้วการผิดนัดของลูกหนี้ในมาตรา 379 มีความหมายตามความในมาตรา 204 หรือไม่  นอกจากนี้มีประเด็นปัญหาต่อไปว่าคู่สัญญาจะสามารถตกลงกันกำหนดเหตุในการเรียกหรือริบเบี้ยปรับให้แตกต่างออกไปจากมาตรา 379 เพื่อให้เจ้าหนี้สามารถเรียกหรือริบเบี้ยปรับสำหรับเบี้ยปรับเพื่อการไม่ชำระหนี้ให้ถูกต้องได้ครอบคลุมยิ่งขึ้นได้หรือไม่ เมื่อได้ศึกษากฎหมายโรมัน กฎหมายแพ่งเยอรมัน กฎหมายแพ่งฝรั่งเศส รวมถึงกฎหมายอังกฤษ พบว่าแนวคิดพื้นฐานของเบี้ยปรับคือการลงโทษลูกหนี้ โดยกฎหมายโรมัน กฎหมายแพ่งเยอรมัน กฎหมายแพ่งฝรั่งเศสเปิดโอกาสให้เอกชนสามารถกำหนดเบี้ยปรับต่อกันได้และมีเหตุในการเรียกหรือริบเบี้ยปรับคือการผิดนัดของลูกหนี้ ซึ่งเมื่อได้ศึกษาถึงเหตุของการเรียกหรือริบเบี้ยปรับก็พบว่า กฎหมายโรมันและกฎหมายแพ่งเยอรมันต่างเห็นว่าการผิดนัดของลูกหนี้ในกรณีดังกล่าวคือการที่ลูกหนี้ชำระหนี้ล่าช้า โดยไม่ได้อธิบายขยายให้การผิดนัดของลูกหนี้นั้นมีความหมายที่กว้างออกไปจากหลักเรื่องลูกหนี้ผิดนัดอันเป็นบททั่วไปในเรื่องหนี้และเมื่อได้พิจารณาประกอบกับแนวความคิดพื้นฐานที่เบี้ยปรับคือการลงโทษลูกหนี้ จึงสมควรที่กฎหมายจะต้องกำหนดหลักเกณฑ์เพื่อเป็นจุดเริ่มต้นในการลงโทษลูกหนี้ให้ชัดเจนซึ่งการผิดนัดของลูกหนี้คือเรื่องของเวลาก็เป็นหลักเกณฑ์ที่มีความชัดเจน ทั้งแนวความคิดพื้นฐานของการผิดนัดก็มีความสอดคล้องกับเบี้ยปรับเพราะคือการลงโทษลูกหนี้เช่นกัน ดังนั้น ผู้เขียนจึงเห็นว่าเหตุในการเรียกหรือริบเบี้ยปรับของเจ้าหนี้ซึ่งคือการผิดนัดของลูกหนี้นั้นเป็นหลักเดียวกันกับการผิดนัดของลูกหนี้ตามบททั่วไปในเรื่องหนี้ ประกอบกับกฎหมายเบี้ยปรับของไทยได้รับอิทธิพลมาจากกฎหมายโรมันผ่านกฎหมายแพ่งเยอรมันจึงสมควรตีความและปรับใช้อย่างเดียวกัน ผู้เขียนจึงเสนอแนะในประการแรกว่า จะต้องตีความการผิดนัดของลูกหนี้ในมาตรา 379 ให้เคร่งครัด ส่วนในประการสองนั้น เจ้าหนี้จะต้องปฏิเสธไม่รับชำระหนี้ที่ไม่ถูกต้องในกรณีดังต่อไปนี้ คือ การไม่ชำระหนี้ให้ถูกต้องกรณีชำระหนี้เพียงบางส่วน กรณีชำระหนี้ผิดวัตถุแห่งหนี้หรือชำระหนี้เป็นอย่างอื่น กรณีส่งมอบทรัพย์ที่ชำรุดบกพร่องที่เห็นประจักษ์ กรณีไม่ชำระหนี้ให้ถูกต้องตามสถานที่ และกรณีไม่ชำระหนี้ให้ถูกต้องตามวิธีที่กำหนด เพื่อทำให้ไม่มีการชำระหนี้ของลูกหนี้ตามเวลาและส่งผลให้ลูกหนี้ตกเป็นผู้ผิดนัดตามมาตรา 204 ทำให้เจ้าหนี้สามารถเรียกหรือริบเบี้ยปรับจากลูกหนี้ได้ตามมาตรา 379
Other Abstract: According to Section 379 of the Thai Civil and Commercial Code (CCC), penalty can be categorized as penalty for non-performance and penalty for improper performance. The legal ground for imposing a penalty under Section 379 arises when the debtor is in default. Section 379, however, does not define or lay down any principles regarding default of a debtor as to how it is different from the general default under Section 204 in Book III of the CCC. Therefore, it is unclear whether the default in Section 379 is the same as that in Section 204. This ambiguity will cause a legal effect when a penalty is imposed on the ground of improper performance that does not involve time stipulation. To cover all possibilities of non-performance and improper performance, it is also argued whether the parties are allowed to customize their own legal grounds for imposing a penalty instead of referring to the ones provided in Section 379. After a thorough study on Roman, German, French, and English laws, it is found that the basic concept of penalty is to punish the debtor. According to Roman, German, and French civil laws, the parties are allowed to impose a penalty on each other on the legal ground of the debtor’s default. Concerning the legal ground for imposing a penalty, it is found that, under Roman and German civil laws, default refers to delay in performance. Roman and German laws of default do not extend beyond the scope of general default in the law of obligations. Considering the fact that the basic concept of penalty is to punish the debtor, a clear legal principle should be laid down as a threshold for punishing the debtor and one clear legal principle is that a failure to perform within a period of time can constitute an event of default. Because default and penalty share the same basic concept: to punish the debtor and the penalty provision in the Thailand’s CCC is influenced by Roman law through German civil law, as a result, the Author concludes that default as a legal ground for penalty is the same as the general default in the law of obligations which, therefore, should be interpreted and applied in the same manner. The Author would like to make some suggestions. First, the provision of default in Section 379 should be interpreted strictly. Second, the creditor must refuse improper performance in the following cases: partial performance; performance of wrong subject of obligation or substitute performance; delivery of obviously defective property; performance at a wrong place; and performance by a wrong method. For the second suggestion, non-performance will be constituted and accordingly the debtor will be in default under Section 204, allowing the creditor to impose a penalty on the debtor under Section 379.
Description: วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2563
Degree Name: นิติศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: นิติศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/75954
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2020.830
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2020.830
Type: Thesis
Appears in Collections:Law - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5986027434.pdf3.8 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.