Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/7597
Title: รูปแบบการสื่อสาร ทัศนคติ และพฤติกรรมของพนักงานต่อการรื้อปรับระบบของธนาคาร เพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร
Other Titles: Communication patterns, attitude and behavior of employees towards reengneering of Bank for Agriculture and Agricultural Cooperatives
Authors: สินีนาฏ กำเนิดเพ็ชร์
Advisors: จาระไน แกลโกศล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: Jaranai.G@chula.ac.th
Subjects: ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร
การสื่อสารในองค์การ
การรื้อปรับระบบ
ทัศนคติ
การยอมรับนวัตกรรม
การเปิดรับข่าวสาร
Issue Date: 2539
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ศึกษารูปแบบการสื่อสาร ทัศนคติ ความรู้ การมีส่วนร่วม ปัจจัยแวดล้อมทางการสื่อสาร ความพร้อม การเปิดรับข่าวสารและการยอมรับเรื่องการรื้อปรับระบบของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร นอกจากนี้ได้วิจัยหาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร ดังกล่าวว่ามีผลต่อการยอมรับเรื่องการรื้อปรับระบบ โดยใช้วิธีวิจัยเชิงสำรวจ จากจำนวนกลุ่มตัวอย่าง 1,057 คน และจากการสัมภาษณ์เชิงลึกเจ้าหน้าที่ระดับผู้บริหารของธนาคาร และนักวิชาการจำนวน 8 คน ซึ่งได้แสดงความคิดเห็นที่มีประโยชน์โดยให้คำแนะนำและความเห็นคู่ขนานกับการวิเคราะห์แบบจำลองการสื่อสารที่สนับสนุนให้เกิดการยอมรับเรื่องการรื้อปรับระบบ ผลการวิจัย พบว่า 1. พนักงานทั้ง 3 กลุ่ม มีพฤติกรรมการเปิดรับข่าวสารเกี่ยวกับการรื้อปรับระบบ แตกต่างกัน 2. พนักงานทั้ง 3 กลุ่ม มีความรู้เกี่ยวกับการรื้อปรับระบบ แตกต่างกัน 3. การเปิดรับข่าวสารจากสื่อประชาสัมพันธ์เฉพาะกิจประเภทป้ายประกาศ วารสารภายในองค์การ และสื่อบุคคลประเภทเจ้าหน้าที่ของบริษัทที่ปรึกษาเรื่องการรื้อปรับระบบ เป็นความสัมพันธ์ทางบวกในระดับต่ำ ทั้งนี้ความสัมพันธ์ทางบวกในระดับต่ำระหว่างตัวแปรในการเปิดรับข่าวสารจากวารสารภายในองค์การ, ข่าวสารการรื้อปรับระบบ ผู้บังคับบัญชา พนักงานในทีมการรื้อปรับระบบ เจ้าหน้าที่ของบริษัทที่ปรึกษาเรื่องการรื้อปรับระบบ เพื่อนร่วมงาน อาจารย์มหาวิทยาลัยและสมาชิกในครอบครัว มีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับต่ำกับทัศนคติต่อการรื้อปรับระบบ และการมีส่วนร่วมในการรื้อปรับระบบปัจจัยแวดล้อมทางการสื่อสาร มีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับปานกลางกับความพร้อมขององค์การ และการยอมรับเรื่องการรื้อปรับระบบมีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับต่ำกับปัจจัยแวดล้อมทางการสื่อสาร 4. จากการวิเคราะห์สรุปได้ว่ารูปแบบการสื่อสารที่ทำให้เกิดการยอมรับเรื่องการรื้อปรับระบบ คือ AKUS
Other Abstract: The main purpose of the study is to examine the communication patterns, attitude, knowledge, participation, communication context, readiness, media exposure and adoption of reengineering practice of the Bank for Agriculture and Agricultural Cooperatives. In addition, the research also seeks for the relationship among these variables affecting the practice and its process. It is the survey research from 1,057 samples which magnifies by indepth interview of 8 key-informants who are executives of the Bank and the eligibles academicians and professionalists whose opinions are utilized as the guidance and parallel comments through the analysis of communication models in promotion of the practice and the adoption. The results of the research could be summarized as follows: 1. The patterns of behavior as related to the process of reengineering differs significantly among the 3 sample groups. 2. There is also difference among the three groups on the aspect of knowledge these sample groups have on the practice of reengineering 3. The exposure on the message from PR specialized media including organization bulletin board, journal and human media as councellor from external advisor company positively lowly correlate among each other; There is positive lowly correlations among variables on exposure of message from organizational journal, newsletter, management, reengineering team, external advisor company, collegues, University academicians and employee family positively lowly correlate with the attitude towards reengineering and participation in the practice; the communication context positively mediumly correlates with the organization readiness; and the adoption of the practice positively lowly correlates with communication context. 4. Through the analysis it could be concluded that the model of communication to be practiced in the process of reengineering is AKUS.
Description: วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2539
Degree Name: นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: นิเทศศาสตรพัฒนาการ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/7597
ISBN: 9746354345
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Sineenart_Ku_front.pdf1.21 MBAdobe PDFView/Open
Sineenart_Ku_ch1.pdf2.6 MBAdobe PDFView/Open
Sineenart_Ku_ch2.pdf3.13 MBAdobe PDFView/Open
Sineenart_Ku_ch3.pdf1.27 MBAdobe PDFView/Open
Sineenart_Ku_ch4.pdf3.62 MBAdobe PDFView/Open
Sineenart_Ku_ch5.pdf3.32 MBAdobe PDFView/Open
Sineenart_Ku_back.pdf2.16 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.