Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/76028
Title: ดุษฎีนิพนธ์วิจัยสร้างสรรค์ทางดุริยางคศิลป์: เพลงชุดไชยวัฒนาราม
Other Titles: Doctoral creative music research: Chaiwattanaram suite
Authors: ณยศ สาตจีนพงษ์
Advisors: ภัทระ คมขำ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะศิลปกรรมศาสตร์
Subjects: การแต่งเพลง
Composition ‪(Music)‬
Issue Date: 2563
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาภูมิหลังทางประวัติศาสตร์และมูลบทที่เกี่ยวข้องของวัดไชยวัฒนาราม จังหวัดพระนครศรีอยุธยา และเพื่อสร้างสรรค์ผลงานทางดุริยางคศิลป์ เพลงชุดไชยวัฒนาราม ผู้วิจัยศึกษาข้อมูลทางด้านเอกสาร ลงพื้นที่เก็บข้อมูลภาคสนาม  เก็บข้อมูลสัมภาษณ์จากผู้ทรงคุณวุฒิ วิเคราะห์ข้อมูลและกำหนดโครงสร้างของบทเพลงและสร้างสรรค์ผลงานทางดุริยางคศิลป์ ผลการวิจัยพบว่า สมเด็จพระเจ้าปราสาททองสถาปนาวัดไชยวัฒนารามเพื่อถวายเป็นพระราชกุศลแก่พระราชมารดาที่ทรงกระทำขึ้นจากพระราชศรัทธาในบวรพระพุทธศาสนาและการแสดงออกซึ่งพระราชอำนาจอย่างยิ่งใหญ่สมพระเกียรติยศ มีมูลบทที่เกี่ยวข้องแสดงเรื่องราวพุทธประวัติเหตุการณ์ตอนประสูติ ตรัสรู้ และปรินิพพาน และมีชุมชนชาติพันธุ์สำคัญจากบันทึกทางประวัติศาสตร์ ได้แก่ ชุมชนชาวจีนและชุมชนชาวจามตั้งบ้านเรือนอยู่บริเวณปากคลองขุนละครไชยหรือคลองตะเคียนและบริเวณคลองคูจาม สิ่งเหล่านี้จึงเป็นแรงบันดาลใจนำไปสู่การสร้างสรรค์ผลงานทางดุริยางคศิลป์ประกอบด้วย 5 เพลงหลัก 6 เพลงย่อย 1. เพลงไชยวัฒนารามบูชิต 2. เพลงมิตรวัฒนา มี 4 เพลงย่อย เพลงป่วงเซียงบ้านจีน เพลงตลาดงิ้ว เพลงแขกจาม และเพลง ประท่าคูจาม 3. เพลงพุทธศิลป์ มี 2 เพลงย่อย เพลงพกาพรหมและเพลงพระธาตุ 4. เพลงบดินทร์ปราสาททอง และ 5. เพลงเรืองรองวัฒนาราม โดยใช้หลักและทฤษฎีทางดุริยางคศิลป์ไทยและการใช้ความคิดสร้างสรรค์ในการสร้างสรรค์ทำนองขึ้นใหม่ ผู้วิจัยใช้การตั้งชื่อเพลงตามหลักการตั้งชื่อเพลงของครูมนตรี ตราโมท ในการตั้งชื่อตามเหตุและสิ่งซึ่งเป็นอนุสรณ์ กำหนดใช้วงปี่พาทย์บรรเลงเป็นหลักและปรับการประสมวงดนตรีโดยใช้เครื่องดนตรีที่สามารถสร้างสำเนียงเสียงเพื่ออรรถรสของบทเพลง ผู้วิจัยสร้างสรรค์เพลงชุดนี้เพื่อสะท้อนความเจริญรุ่งเรืองของวัดไชยวัฒนารามและเพื่อเป็นสื่อประชาสัมพันธ์ให้แก่จังหวัดพระนครศรีอยุธยาอันจะเป็นประโยชน์สืบไป
Other Abstract: This qualitative research aims to study the historical background of Chaiwatthanaram Temple in order to compose a Thai music repertoire, “The Chaiwatthanaram Suite.” The author collected the data by studying document and conducting in-depth interview with historical and musical expert. The data was analyzed and led to the design of a structure of a musical composition. The author discovered that King Prasat Thong established Chaiwatthanaram Temple as a royal merit-making for his mother based on the grounds of The Buddha’s Story. The Chams and the Chinese situated in the neighboring area. The result of the research inspired the author to compose 5 major songs and 6 different minor songs: 1)“Chai Watthanaram Buchit” (The Worship of Wat Chaiwatthanaram); 2)“Mitr Watthana” (Ethnic Communities of Watthana) which consisted of 4 minor songs--“Puang Xiang Baan Chin” (Puang Xiang, The Chinese Family), “Talat Ngiw” (The Chinese Opera Market), “Khaek Cham” (The People of Chams), “Pratha Khu Cham” (The Other Side of Chams’ Canal); 3)“Buddha Silapa” (The Art of Buddha) including 2 minor song-- “Phaka Phrom” (Paka Phrom, The Maha Brahma), “Phra That” (The Buddha’s Relics); 4)“Bodin Prasat Thong” (King Prasat Thong); and 5)“Rueang Rong Watthanaram” (The Prosperity of Watthanaram). The title of the song were named by adopting the principle of Montri Tramote after the reminiscence of important events. This Composition is mainly composed for the Piphat ensemble and other musical instrument are included to present dialect melody of the composition Therefore, the author has constituted this Thai music repertoire so that it could be served as the epitome of Public Relations for Wat Chaiwatthanaram Temple which reflects the great flourish in cultural prosperity, not solely for the reputation of the temple alone but also for Phra Nakhon Sri Ayutthaya Province to gain further public recognition unceasingly.
Description: วิทยานิพนธ์ (ศป.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2563
Degree Name: ศิลปกรรมศาสตรดุษฎีบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาเอก
Degree Discipline: ศิลปกรรมศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/76028
URI: http://www.doi.org/10.58837/CHULA.THE.2020.1204
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2020.1204
Type: Thesis
Appears in Collections:Fine Arts - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6186810035.pdf11.46 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.