Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/7603
Title: ผลการสอนการพยาบาลผู้คลอดโดยใช้กรณีศึกษาต่อความรู้และคุณภาพ ของการดูแลผู้คลอดของนักศึกษาพยาบาล
Other Titles: Effects of teaching the nursing care of mother in labor using case studies on knowledge and quality of maternal care in labor of nursing students
Authors: ธัญญมล สุริยานิมิตรสุข
Advisors: จินตนา ยุนิพันธุ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: Jintana.Y@Chula.ac.th
Subjects: การคลอด -- การดูแล
นักศึกษาพยาบาล
พยาบาล -- การศึกษาและการสอน
การคลอด
การทำคลอด
Issue Date: 2539
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยกึ่งทดลองครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการสอนการพยาบาลผู้คลอดโดยใช้กรณีศึกษาที่มีต่อความรู้ในการดูแลผู้คลอด คุณภาพของการดูแลผู้คลอดของนักศึกษาพยาบาลในด้านความสามารถในการแก้ปัญหาการพยาบาลผู้คลอด ด้านการปฏิบัติการดูแลผู้คลอด และการรับรู้ประสบการณ์การคลอดของผู้คลอดและเปรียบเทียบความรู้และคุณภาพของการดูแลผู้คลอดใน 3 ด้าน นักศึกษาพยาบาลกลุ่มที่ได้รับการสอนโดยใช้กรณีศึกษากับกลุ่มที่ได้รับการสอนแบบปกติ แบบของการทดลองคือ แบบ 2 กลุ่มที่มีการวัดก่อนการทดลองหลังการทดลองทันที และหลังการทดลอง 1 สัปดาห์ กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 2 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สระบุรี จำนวน 32 คน จัดกลุ่มตามแผนการฝึกปฏิบัติการพยาบาลของนักศึกษาโดยจัดให้กลุ่มแรก 16 คน เป็นกลุ่มควบคุม และกลุ่มหลัง 16 คน เป็นกลุ่มทดลอง กลุ่มทดลองได้รับการสอนการพยาบาลผู้คลอดโดยใช้กรณีศึกษา ส่วนกลุ่มควบคุมได้รับการสอนแบบปกติ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แผนการสอนการพยาบาลผู้คลอดโดยใช้กรณีศึกษา วิดีทัศน์กรณีการดูแลผู้คลอด แบบวัดความรู้ในการดูแลผู้คลอด แบบวัดความสามารถในการแก้ปัญหาการพยาบาลผู้คลอด แบบวัดการปฏิบัติการดูแลผู้คลอดและแบบสัมภาษณ์การรับรู้ประสบการณ์การคลอดของผู้คลอด เครื่องมือทุกชุดสร้างโดยผู้วิจัยและตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ ค่าความเที่ยงของเครื่องมือแต่ละชุดเท่ากับ .60, .74, .87 และ .70 ตามลำดับ การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบที ผลการวิจัยที่สำคัญสรุปได้ดังนี้ 1. ความรู้ในการดูแลผู้คลอดของนักศึกษาพยาบาลในกลุ่มทดลองหลังการทดลอง และหลังการทดลอง 1 สัปดาห์สูงกว่าก่อนการทดลอง และความรู้หลังการทดลอง 1 สัปดาห์สูงกว่าหลังการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. ความรู้และคุณภาพของการดูแลผู้คลอดด้านความสามารถในการแก้ปัญหาการพยาบาลผู้คลอดด้านการรับรู้ประสบการณ์การคลอดของผู้คลอดของนักศึกษาพยาบาลภายหลังการทดลอง และหลังการทดลอง 1 สัปดาห์ในกลุ่มทดลองสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 แต่ด้านการปฏิบัติการดูแลผู้คลอดหลัการทดลองทั้ง 2 ระยะของกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมไม่แตกต่างกัน
Other Abstract: The purpose of this quasi-experimental research were to study the effects of teaching nursing care of mother in labor using case studies on nursing students' knowledge and quality of maternal care in labor, which were the ability to solve problems, maternal care practice and perception of birth experience of mothers and to compare knowledge quality of maternal care of students who recieved the above mention teaching and those who receive regular teaching method. The research design was pretest posttest control group. Research samples consisted of 32 second years nursing students of Boromratchonnee Saraburi nursing college who were practicing in delivery room. Subjects were assigned into one experimental and one control group, 16 for each group by practice rotation. The experimental group recieved teaching nursing care of mother in labor using case study for 5 weeks, while the control group received regular teaching method. The research instruments which were developed by the researcher and tested for the content validity by panel of experts, were four teaching plan using case studies, case studies about caring in 4 phases of the labor in the video format. In addition four instruments which were knowledge test, MEQ for the ability to solve problem in maternal care, the maternal practice check list, and the perception of birth experience interview guideline were used. The reliability of the four tools were .60, .74, .87 and .70 respectively. Major findings were as follows : 1. Knowledge of nursing students immediately and one week after experiment were significantly higher than before the experiment. Moreover, the knowledge measure one week after the experiment was significantly higher than immediately after the experiment, at the .05 level. 2. Knowledge, the perception of birth experience of mothers and the ability to solve problem of nursing students in the experimental group immediately and one week after the experiment were significantly higher than those in the control group, as the .05 level. On the contary, there was no difference between the quality in the aspect of the maternal care practice of nursing students in the experimental and control group.
Description: วิทยานิพนธ์ (พย.ม)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2539
Degree Name: พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การพยาบาลศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/7603
ISBN: 9746364286
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Thunyamol_Su_front.pdf1.05 MBAdobe PDFView/Open
Thunyamol_Su_ch1.pdf1.22 MBAdobe PDFView/Open
Thunyamol_Su_ch2.pdf4.5 MBAdobe PDFView/Open
Thunyamol_Su_ch3.pdf1.77 MBAdobe PDFView/Open
Thunyamol_Su_ch4.pdf1.07 MBAdobe PDFView/Open
Thunyamol_Su_ch5.pdf1.5 MBAdobe PDFView/Open
Thunyamol_Su_back.pdf1.61 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.