Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/76073
Title: พฤติกรรมและปัจจัยที่ส่งผลต่อการใช้นวัตกรรมแอปพลิเคชันแกร็บ (แกร็บฟู้ด)ในภาวะวิกฤตโควิด-19
Other Titles: Behaviors and factors affecting the innovative grab application usage (Grab food) during the COVID-19 crisis
Authors: ปิยภัสสร์ ดรจันแดง
Advisors: ปาริชาต สถาปิตานนท์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์
Subjects: โปรแกรมประยุกต์บนอุปกรณ์เคลื่อนที่
การซื้อสินค้าทางไกล
อาหาร
พฤติกรรมผู้บริโภค
Mobile apps
Teleshopping
Food
Consumer behavior
Issue Date: 2563
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1.) การรับรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมที่ส่งผลต่อการใช้นวัตกรรมแอปพลิเคชันแกร็บฟู้ด ในภาวะวิกฤตโควิด-19 2.) ความแตกต่างทางลักษณะประชากรกับพฤติกรรมที่ส่งผลต่อการใช้นวัตกรรมแอปพลิเคชันแกร็บฟู้ด 3.) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่าง การรับรู้ ทัศนคติและพฤติกรรมที่ส่งผลต่อการใช้นวัตกรรมแอปพลิเคชันแกร็บฟู้ด และ 4.) ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมที่ส่งผลต่อการใช้นวัตกรรมแอปพลิเคชันแกร็บฟู้ด โดยใช้แบบสอบถามในการเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 400 ชุด ผลการวิจัยพบว่า 1.) กลุ่มตัวอย่างมีการรับรู้ถึงผลประโยชน์ของแอปพลิเคชันแกร็บฟู้ดในภาวะวิกฤตโควิด-19 อยู่ในระดับสูง มีทัศนคติที่มีต่อแอปพลิเคชันแกร็บฟู้ดในภาวะวิกฤตโควิด-19 อยู่ในระดับทัศนคติดีมาก  และมีพฤติกรรมการใช้งานแอปพลิเคชันแกร็บฟู้ดสูงกว่าในช่วงเวลาปกติ 2.) พฤติกรรมการใช้นวัตกรรมแอปพลิเคชันแกร็บฟู้ดในภาวะวิกฤตโควิด-19 แตกต่างกันในด้านลักษณะประชากร ได้แก่ เพศ ระดับการศึกษา และรายได้ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 3.) การรับรู้ และทัศนคติที่มีต่อแอปพลิเคชันแกร็บฟู้ด มีความสัมพันธ์ในเชิงลบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และอยู่ในระดับที่ต่ำมากกับพฤติกรรมการใช้งานแอปพลิเคชันแกร็บฟู้ด ส่วนด้านทัศนคติที่มีต่อแอปพลิเคชันแกร็บฟู้ด มีความสัมพันธ์ในเชิงบวกและอยู่ในระดับปานกลางอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ กับการรับรู้ถึงผลประโยชน์ของแอปพลิเคชันแกร็บฟู้ด และ 4.) ปัจจัยที่อธิบายพฤติกรรมที่ส่งผลต่อการใช้นวัตกรรมแอปพลิเคชันแกร็บฟู้ด ในภาวะวิกฤตโควิด-19 ได้ดีที่สุด คือ ทัศนคติด้านการตัดสินใจใช้งานแอปพลิเคชันฟู้ด
Other Abstract: The objectives of this research are 1) to observe the awareness, attitudes, and behaviors that affect the application Grab Food usage during the crisis of COVID-19 2) to demonstrate the demographic and behavioral differences affecting the use of application Grab Food 3) to study the relationship between awareness, attitudes, and behaviors affecting the use of application Grab Food and 4) to study the factors that affect the use of application Grab Food. The questionnaire was used with the samples of 400 sets. The findings from this research are: 1) the awareness towards the benefits of application Grab Food is at a high level, the attitudes towards application Grab Food is at a high level and the application Grab Food usage behavior is more than the normal level 2) the demographic characteristics such as gender, education level and income influence the usage behavior of application Grab Food 3) awareness and attitudes towards the application Grab Food show the negative relationship and the usage behavior is in a very low level. While attitudes towards application Grab Food is in a positive relationship and the awareness towards the benefits of the application is in the middle level and 4) the factors that explain the behavior that affects the application Grab Food usage is the decision-making attitude during the use of the application.
Description: วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2563
Degree Name: นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: นิเทศศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/76073
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2020.793
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2020.793
Type: Thesis
Appears in Collections:Comm - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6184684928.pdf2.86 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.