Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/7608
Title: พฤติกรรมการรับสารจากสื่อสิ่งพิมพ์ภายในและความพึงพอใจในการสื่อสาร ของพนักงานฝ่ายสินค้าและไปรษณียภัณฑ์ บริษัทการบินไทยจำกัด (มหาชน)
Other Titles: Exposure to internal publications and gratification of employees in Cargo and Mail Department, Thai Airways International Public Company Limited
Authors: สุวิมล อังศุสิงห์
Advisors: ยุบล เบญจรงค์กิจ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: Yubol.B@chula.ac.th
Subjects: บริษัทการบินไทย
การสื่อสารในองค์การ
สื่อสิ่งพิมพ์
ผู้รับสาร
Issue Date: 2539
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยทางประชากร และสถานภาพทางเศรษฐกิจและสังคม กับพฤติกรรมการรับสารจากสื่อสิ่งพิมพ์ภายใน และความพึงพอใจในการสื่อสารของพนักงานฝ่ายสินค้าและไปรษณียภัณฑ์ บริษัทการบินไทยจำกัด (มหาชน) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษามีทั้งสิ้น 286 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่แบบสอบถาม การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การแจกแจงความถี่ อัตราส่วนค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิตส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์ สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และการวิเคราะห์ถดถอยแบบพหุคูณ ซึ่งประมวลผลโดยโปรแกรมสำเร็จรูป SPSS ผลการวิจัยมีดังนี้ 1. สถานภาพทางเศรษฐกิจและสังคมด้านระดับตำแหน่งมีความสัมพันธ์ กับพฤติกรรมการรับสารจากสื่อสิ่งพิมพ์ภายใน แต่ปัจจัยทางประชากรด้านอายุ สถานภาพทางเศรษฐกิจและสังคมด้านระดับการศึกษา อายุงาน และประเภทของงานไม่มีความสัมพันธ์ กับพฤติกรรมการรับสารจากสื่อสิ่งพิมพ์ภายใน 2. ปัจจัยทางประชากรและสถานภาพทางเศรษฐกิจและสังคมไม่มีความสัมพันธ์กับความพึงพอใจในการสื่อสาร 3. พฤติกรรมการรับสารจากสื่อสิ่งพิมพ์ภายในมีความสัมพันธ์ กับความพึงพอใจในการสื่อสาร
Other Abstract: The purpose of this research was to study relationship between demographic variables and exposure to internal publications and gratification of employees in cargo and mail Department, Thai Airways International Public Company Limited. Questionnaires were distributed to a total of 286 samples. Ferquency, percentage, mean, standard deviation, Pearson's product moment correlation coefficient, and multiple regression were employed for the analysis of data. SPSS program was used for data processing. The results of this study are as follows : 1. Socio-economic status which is a position of employees showed a significant positive relationship with the exposure to internal publications. However, other demographic variables such as age, education, years of employment, and type of jobs showed no significant relationship with their publication exposure. 2. There is no significant relationship between demographic variables and gratification of employees. 3. There is a significant positive relationship between exposure to internal publications and employees' gratification.
Description: วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2539
Degree Name: นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การสื่อสารมวลชน
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/7608
ISBN: 9746363212
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Suvimol_An_front.pdf992.26 kBAdobe PDFView/Open
Suvimol_An_ch1.pdf1.12 MBAdobe PDFView/Open
Suvimol_An_ch2.pdf1.38 MBAdobe PDFView/Open
Suvimol_An_ch3.pdf879.94 kBAdobe PDFView/Open
Suvimol_An_ch4.pdf2.46 MBAdobe PDFView/Open
Suvimol_An_ch5.pdf1.24 MBAdobe PDFView/Open
Suvimol_An_back.pdf2.14 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.