Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/76097
Title: | การรับรู้ ทัศนคติและความตั้งใจซื้อสินค้าและบริการขององค์กรธุรกิจโรงแรมในสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 |
Other Titles: | Consumers’ perception, attitude and purchasing intention toward products and services of accommodation business during COVID-19 pandemic |
Authors: | ปรีดาภรณ์ ชื่นกลาง |
Advisors: | ธีรดา จงกลรัตนาภรณ์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์ |
Subjects: | การเลือกของผู้บริโภค ความเต็มใจจ่าย อุตสาหกรรมโรงแรม Consumers' preferences Willingness to pay Hotel industry |
Issue Date: | 2563 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการรับรู้ ทัศนคติและความตั้งใจซื้อสินค้าและบริการขององค์กรธุรกิจโรงแรมในสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของผู้บริโภคที่เป็นผู้ใช้บริการโรงแรมในระยะเวลา 1 ปีที่ผ่านมา อายุระหว่าง 18-65 ปี โดยใช้การวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) ในรูปแบบการวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research Method) โดยใช้เครื่องมือในการรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม (Questionnaire) ผ่านช่องทางออนไลน์ จำนวน 400 คน โดยเก็บรวบรวมข้อมูลและดำเนินการตั้งแต่เดือนพฤษภาคม ถึงเดือนมิถุนายน พ.ศ.2564 ภายในระยะเวลา 1 เดือน ผลวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างรับรู้การสื่อสารในภาวะวิกฤตสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ระดับปานกลาง ด้านการบริหารจัดการขององค์กรธุรกิจโรงแรมภายใต้ภาวะวิกฤตในสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 กลุ่มตัวอย่างรับรู้สูง และกลุ่มตัวอย่างมีทัศนคติเชิงบวกอย่างมากต่อองค์กรธุรกิจโรงแรมที่ทำการสื่อสารในภาวะวิกฤต โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การให้ความสำคัญและสุขอนามัยมากขึ้น กลุ่มตัวอย่างมีความตั้งใจซื้อสินค้าและบริการในระดับสูง จากองค์กรธุรกิจโรงแรมที่ทำการสื่อสารในสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หากวิเคราะห์องค์ประกอบย่อยพบว่าปัจจัยพยากรณ์ที่มีอิทธิพลต่อความตั้งใจซื้อสินค้าและบริการขององค์กรธุรกิจโรงแรมในสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เรียงตามลำดับค่าคะแนนได้ดังนี้ 1.การรับรู้ข่าวสารออนไลน์ผ่านช่องทางบัญชีเฟซบุ๊กของโรงแรม (Facebook) 2.การเพิ่มช่องทางหารายได้ที่ก่อนเกิดการระบาดของโรคโควิด-19 ไม่มีมาก่อน เช่นบริการห้องพักระยะรายเดือน หรือจำหน่ายอาหารเดลิเวอรี่ และสุดท้ายคือ 3.ผู้บริโภครู้สึกสนใจโรงแรมที่จัดกิจกรรมส่งเสริมการขาย เช่นราคาพิเศษสำหรับผู้ที่จองที่พักล่วงหน้า หรือนโยบายในการเลื่อนวันเวลาเข้าพัก นอกจากนี้ จากการทดสอบสมมติฐานพบว่าความแตกต่างทางประชากรศาสตร์ด้าน สถานภาพสมรส อายุ ระดับการศึกษาสูงสุด อาชีพปัจจุบัน รายได้เฉลี่ยต่อเดือน มีผลต่อความตั้งใจซื้อสินค้าและบริการขององค์กรธุรกิจโรงแรมในสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 |
Other Abstract: | The purpose of this research was to study consumers’ perception, attitude and purchasing intention toward products and services of accommodation businesses during the COVID-19 pandemic. This research is quantitative research conducted from May to June 2020 by using online survey to gain a complete understanding of four hundred guests who had used all kinds of services provided by an accommodation business. The finding revealed that the majority of the respondents sometimes perceived the crisis communication among online platforms, mainly via ‘Facebook’. Furthermore, respondents perceived high perception in any communication strategies especially in health, hygiene, safety and sanitation concern strategies such as social distancing, washing hands and wearing masks which positively affected in the respondents’ attitudes. This study has also shown that the greater number respondents have a high intention to purchase a service when the pandemic is over from an accommodation business who frequently communicates on social media. It is also found that the top-three predicting factors which have an impact on purchasing intention toward products and services of accommodation business are, in descending order, (1) perception of information given via Facebook official accounts of hotels, (2) addition of new income-generating products and services, e.g. long-term accommodation, food delivery, and (3) the appeal to consumers of hotels’ sales promotion activities, e.g. special prices for customers who make reservations or flexible postponement and cancellation policy. Moreover, hypothesis testing reveals that the demographic differences in marital status, age, education level, current occupation, average monthly income have impact on purchasing intention. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2563 |
Degree Name: | นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | นิเทศศาสตร์ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/76097 |
URI: | http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2020.765 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.58837/CHULA.THE.2020.765 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Comm - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
6280023928.pdf | 3.06 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.