Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/76106
Title: อคติในการยืนยันและการตอบสนองต่อข่าวปลอมเกี่ยวกับบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) 
Other Titles: Confirmation bias and response to fake news of Thai airways international public company limited
Authors: วโรดม ชมท่าไม้
Advisors: พนม คลี่ฉายา
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์
Subjects: ข่าวปลอม
Fake news
Issue Date: 2563
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ สำรวจอคติในการยืนยัน (Confirmation Bias) การตอบสนองต่อข่าวปลอม และการสนับสนุน บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) โดยเป็นการวิจัยนำร่อง ซึ่งใช้รูปแบบการวิจัยเชิงปริมาณ ด้วยวิธีวิจัยเชิงสำรวจผ่านการใช้แบบสอบถามออนไลน์เป็นเครื่องมือเก็บข้อมูล กลุ่มตัวอย่างคือผู้อาศัยในกรุงเทพมหานครหรือปริมณฑล ที่มีอายุตั้งแต่ 20 ปีขึ้นไป และเคยเปิดรับข่าวสารเกี่ยวกับบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) จำนวน 206 คน   ผลการวิจัยสามารถแบ่งกลุ่มตัวอย่างตามอคติในการยืนยันเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มเชิงลบ กลุ่มเป็นกลาง และกลุ่มเชิงบวก โดยที่กลุ่มตัวอย่างซึ่งเป็นกลุ่มอคติในการยืนยันเชิงลบมีจำนวนมากที่สุด กลุ่มนี้มีการตอบสนองต่อข่าวปลอมในรูปแบบการแสดงความรู้สึกด้วยปุ่ม "โกรธ" ส่วนกลุ่มอคติในการยืนยันเชิงบวก ตอบสนองต่อข่าวปลอมด้วยปุ่ม "ไลก์" และทุกกลุ่มเลือกที่จะไม่ตอบสนองในด้านการแสดงความคิดเห็นและการส่งต่อ (Share) ด้านความเชื่อถือต่อข่าวเกี่ยวกับบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) พบว่า กลุ่มอคติในการยืนยันเชิงลบเป็นเพียงกลุ่มเดียวที่มีความเชื่อว่าข่าวปลอมเป็นข่าวจริง ส่วนกลุ่มอคติในการยืนยันเชิงบวกและกลุ่มอคติในการยืนยันเป็นกลางระบุว่า ไม่แน่ใจว่าเป็นข่าวจริงหรือข่าวปลอม ด้านการสนับสนุนต่อบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) พบว่า กลุ่มอคติในการยืนยันเชิงลบ ไม่แน่ใจในด้านการใช้บริการของการบินไทย ไม่สนับสนุนให้การบินไทยดำเนินกิจการต่อ และไม่ภาคภูมิใจการบินไทยในฐานะสายการบินแห่งชาติ ในขณะที่กลุ่มอคติในการยืนยันเชิงบวก ระบุว่าจะยังสนับสนุนการบินไทยทั้งในด้านการใช้บริการ การดำเนินธุรกิจต่อไป และความภาคภูมิใจในฐานะสายการบินแห่งชาติ
Other Abstract: The purpose of this research was to explore the confirmation bias, the response to fake news, and the support of Thai Airways International Public Company Limited. This research is a pilot study of exploratory research that employs a quantitative methodology by using an online survey. Data was collected from 206 respondents who are over 20 years old living in Bangkok or the vicinity and exposed to Thai Airways news. The result could be divided into 3 groups of confirmation bias: negative, neutral, and positive. The negative has the largest number. They responded to fake news with the 'Angry' reaction button, while the positive responded with the 'Like' reaction button, and all groups chose not to respond to comments and sharing. Thai Airways' news reliability aspect, only the negative believed in fake news. The neutral and the positive were unsure whether it was real or fake news. Thai Airways' support aspect, the negative was unsure to request further service. They did not support Thai Airways to continue the business and did not proud as the national airline. The positive will continue requesting service and supporting the business. Still proud of the national airline.
Description: สารนิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2563
Degree Name: นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: นิเทศศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/76106
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.IS.2020.335
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.IS.2020.335
Type: Independent Study
Appears in Collections:Comm - Independent Studies

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6280035428.pdf2.71 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.