Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/7618
Title: | ความสัมพันธ์ระหว่างสภาพแวดล้อมในสถาบัน บุคลิกภาพ และพฤติกรรมการรับข่าวสารกับความรู้ และการตอบสนองต่อภาวะวิกฤตทางสังคมและสิ่งแวดล้อม ของนักศึกษาพยาบาล |
Other Titles: | Relationships between college environment, personality, information exposure and knowledge and response to social and environmental crisis of nursing students |
Authors: | สุธีตา หงษาชาติ |
Advisors: | ประนอม รอดคำดี |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
Advisor's Email: | Branom.r@chula.ac.th |
Subjects: | การเปิดรับข่าวสาร บุคลิกภาพ สภาพแวดล้อมทางการเรียน นักศึกษาพยาบาล วิกฤตการณ์ทางสังคม ความรับรู้ทางสังคม |
Issue Date: | 2539 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงบรรยาย เพื่อศึกษาความรู้และการตอบสนองต่อภาวะวิกฤตทางสังคมและสิ่งแวดล้อมของนักศึกษาพยาบาล และศึกษาปัจจัยด้านสภาพแวดล้อมในสถาบัน บุคลิกภาพ และพฤติกรรมการรับข่าวสารที่มีความสัมพันธ์และความสามารถร่วมกันพยากรณ์ความรู้และการตอบสนองต่อภาวะวิกฤตทางสังคมและสิ่งแวดล้อมของนักศึกษาพยาบาล กลุ่มตัวอย่างคือนักศึกษาพยาบาล จำนวน 395 คน เลือกโดยการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วยแบบสอบถามจำนวน 3 ชุด ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. ความรู้เกี่ยวกับภาวะวิกฤตทางสังคมและสิ่งแวดล้อมของนักศึกษาพยาบาล อยู่ในระดับปานกลาง 2. การตอบสนองต่อภาวะวิกฤตทางสังคมและสิ่งแวดล้อมของนักศึกษาพยาบาล อยู่ในระดับมาก 3. สภาพแวดล้อมในสถาบัน มีความสัมพันธ์กับการตอบสนองต่อภาวะวิกฤตทางสังคมและสิ่งแวดล้อมของนักศึกษาพยาบาล อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 4. มีความสัมพันธ์ระหว่างความรู้และการตอบสนองต่อภาวะวิกฤตทางสังคมและสิ่งแวดล้อม กับบุคลิกภาพของนักศึกษาพยาบาล อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 5. พฤติกรรมการรับข่าวสาร มีความสัมพันธ์กับความรู้และการตอบสนองต่อภาวะวิกฤตทางสังคมและสิ่งแวดล้อมของนักศึกษาพยาบาล อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 6. ตัวแปรที่ร่วมกันพยากรณ์ความรู้เกี่ยวกับภาวะวิกฤตทางสังคมและสิ่งแวดล้อมของนักศึกษาพยาบาลได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 มีความสำคัญตามลำดับ ดังนี้ บุคลิกภาพด้านความระแวง พฤติกรรมการรับข่าวสารจากสื่อสารมวลชน โดยร่วมกันพยากรณ์ความรู้เกี่ยวกับภาวะวิกฤตทางสังคมและสิ่งแวดล้อมของนักศึกษาพยาบาลได้ร้อยละ 3.68 (R2 = .0368) 7. ตัวแปรที่ร่วมกันพยากรณ์การตอบสนองต่อภาวะวิกฤตทางสังคมและสิ่งแวดล้อมของนักศึกษาพยาบาลได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 มีความสำคัญตามลำดับ ดังนี้ พฤติกรรมการรับข่าวสารจากสื่อสารมวลชนบุคลิกภาพด้านมโนธรรม สภาพแวดล้อมเกี่ยวกับเพื่อน บุคลิกภาพด้านการเข้าใจความรู้สึกของผู้อื่น และบุคลิกภาพด้านความวิตกกังวล โดยร่วมกันพยากรณ์การตอบสนองต่อภาวะวิกฤตทางสังคมและสิ่งแวดล้อมของนักศึกษาพยาบาลได้ร้อยละ 35.54 (R2 = .3554) |
Other Abstract: | The purposes of this research were to study knowledge and response to social and environmental crisis of nursing students, and to investigate the relationships between college environment, pensonality, information exposure and knowledge and response to social and environmental crisis of nursing students. Research samples consisted of 395 nursing students selected by multi-stage random sampling. The instruments used in collecting data were 3 sets of questionnaires which were tested for their validity and reliability. Major findings were as follows : 1. Knowledge of social and environmental crisis of nursing students was at the medium level. 2. A response to social and environmental crisis of nursing students was at the high level. 3. The college environment was significantly related to response to social and environmental crisis of nursing students at .05 level. 4. The students' personality was significantly related to knowledge and response to social and environmental crisis at .05 level. 5. The students' information exposure was significantly related to knowledge and response to social and environmental crisis at .05 level. 6. Factors significantly predicted students' knowledge of social and environmental crisis were the suspicious personality and an information exposure by mass media. These predictors accounted for 3.68 percents of the varience. (R2 = .0368) 7. Factors significantly predicted students' response to social and environmental crisis respectively were an information exposure by mass media, conscientious personality, peer environment, astute personality and apprehensive personality. These predictors accounted for 35.54 percents of the varience. (R2 = .3554) |
Description: | วิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2539 |
Degree Name: | พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | การพยาบาลศึกษา |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/7618 |
ISBN: | 9746365983 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Suteeta_Ho_front.pdf | 1.02 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Suteeta_Ho_ch1.pdf | 1.35 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Suteeta_Ho_ch2.pdf | 2.35 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Suteeta_Ho_ch3.pdf | 1.36 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Suteeta_Ho_ch4.pdf | 1.23 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Suteeta_Ho_ch5.pdf | 1.37 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Suteeta_Ho_back.pdf | 1.98 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.