Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/76199
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorธานี ชัยวัฒน์-
dc.contributor.authorกฤษณา ทองใบใหญ่-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะเศรษฐศาสตร์-
dc.date.accessioned2021-09-21T06:22:18Z-
dc.date.available2021-09-21T06:22:18Z-
dc.date.issued2563-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/76199-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2563-
dc.description.abstractการศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาแบบจำลองทางทฤษฎีในการอธิบายบทบาทของกลุ่มชนชั้นกลางทั้งระดับบนและระดับล่าง ภายใต้การดำเนินนโยบายประชานิยมที่ส่งผลต่อการกลายเป็นประชาธิปไตยของไทย โดยอาศัยแบบจำลองของ Acemoglu and  Robinson (2006) เป็นกรอบแนวคิดพื้นฐาน และขยายเพิ่มเติมจากกรอบแนวคิดพื้นฐานใน 2 ประเด็นคือ หนึ่งกลุ่มประชากรประกอบด้วย กลุ่มชนชั้นปกครอง กลุ่มชนชั้นกลางระดับบน กลุ่มชนชั้นกลางระดับล่าง และกลุ่มคนจน โดยแต่ละกลุ่มประชากรสมมติให้มีความต้องการอรรถประโยชน์ในการดำรงชีวิตที่ต่างกัน และสองรัฐบาลสามารถดำเนินนโยบายการคลังผ่านการจัดสรรงบประมาณแบบขาดดุลเพื่อการประชานิยมได้  ผลการศึกษาพบว่า ภายใต้การดำเนินนโยบายประชานิยม หากกลุ่มชนชั้นกลางระดับล่างมีรายได้ใกล้เคียงกับกลุ่มคนจนแล้ว การดำเนินนโยบายประชานิยมจะทำให้กลุ่มคนเหล่านี้ได้รับผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจที่เพิ่มมากขึ้น จึงมีแนวโน้มที่จะสนับสนุนการดำเนินนโยบายประชานิยมเพิ่มมากขึ้น ขณะที่กลุ่มชนชั้นกลางระดับบนหากมีรายได้ใกล้เคียงกับกลุ่มคนรวยแล้ว สัดส่วนรายจ่ายเพื่อการประชานิยมที่เพิ่มมากขึ้น  จะทำให้คนกลุ่มนี้สูญเสียผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจเพิ่มขึ้น จึงแนวโน้มที่จะร่วมมือกับกลุ่มชนชั้นสูงในการทำรัฐประหารเพิ่มขึ้น และหากพิจารณาในแง่ภาระทางภาษีผลการศึกษาพบว่า การดำเนินนโยบายประชานิยมได้การสร้างภาระทางภาษีให้แก่กลุ่มคนชั้นกลางระดับบนมากกว่ากลุ่มชนชั้นกลางระดับล่าง และยิ่งช่องว่างของรายได้ระหว่างกลุ่มชนชั้นกลางมีมากเพียงใด ภาระทางภาษีของกลุ่มชนชั้นกลางระดับบนก็จะยิ่งมีเพิ่มสูงขึ้น ก่อให้เกิดความขัดแย้งที่เพิ่มมากขึ้น ดังนั้นทางออกของปัญหาคือ การนำเสนอนโยบายซึ่งไม่จำเพาะเพียงการประชานิยมที่ให้ผลประโยชน์แก่กลุ่มชนชั้นกลางระดับล่างในฐานะผู้ลงคะแนนเสียงมัธยฐานเท่านั้น แต่ต้องให้ผลประโยชน์แก่คนทั้งสองกลุ่ม และนโยบายดังกล่าวต้องทำให้ส่วนแบ่งรายได้โดยเฉพาะในกลุ่มชนชั้นกลางระดับบนเพิ่มสูงขึ้น จึงจะทำให้ต้นทุนการทำรัฐประหารของคนกลุ่มนี้มีเพิ่มมากขึ้น โอกาสการร่วมมือกับกลุ่มชนชั้นสูงในการทำรัฐประหารจะลดลง และโอกาสในการธำรงระบอบประชาธิปไตยจะมีมากขึ้น-
dc.description.abstractalternativeThis study aims to develop a theoretical model to explain the role of middle class (upper and lower middle class) under populist policy effecting the democratization of Thailand by extending  Acemoglu and Robinson (2006) is conceptual framework.The model has developed in two issues. Firstly a population group consists of the elites, the upper middle class, the lower middle class and the poor by assuming that each group has different preference. Secondly a government who can use budget deficit as fiscal policy tool to implement populist policy, instead of balanced budget. The result of this study found that if the lower middle class has income similar to the poor, the lower middle class will gain more economic benefits and tends to support the implementation of populist policy. While the upper middle class, whose income supposed that it is similar to the rich or the elite, will suffer more economic disadvantage if the proportion of government spending to implement populist policy increases. Therefore, they tend to cooperate with the elite for making a coup. When considering the tax burden, the study found that the implementation of populist policy creates more tax burdens on the upper middle class than the lower middle class.The wider gap of income among the middle class groups is, the tax burden among the upper middle class is likely to increase which could lead to greater conflict.-
dc.language.isoth-
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.relation.urihttps://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2020.541-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.subjectชนชั้นกลาง-
dc.subjectประชานิยม-
dc.subjectประชาธิปไตย-
dc.subjectMiddle class-
dc.subjectPopulism-
dc.subjectDemocracy-
dc.subject.classificationEconomics-
dc.titleชนชั้นกลาง นโยบายประชานิยม และการกลายเป็นประชาธิปไตย: แบบจำลองทางทฤษฎี-
dc.title.alternativeMiddle class , populist policy and democratization: a theoretical approach-
dc.typeThesis-
dc.degree.nameศิลปศาสตรมหาบัณฑิต-
dc.degree.levelปริญญาโท-
dc.degree.disciplineเศรษฐศาสตร์การเมือง-
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.identifier.DOI10.58837/CHULA.THE.2020.541-
Appears in Collections:Econ - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5985254329.pdf1.35 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.