Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/76294
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorกมล แก้วกิติณรงค์-
dc.contributor.authorนฤมล ลือกิตินันท์-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์-
dc.date.accessioned2021-09-21T06:28:42Z-
dc.date.available2021-09-21T06:28:42Z-
dc.date.issued2561-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/76294-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2561-
dc.description.abstractที่มา: วัณโรคเยื่อหุ้มปอดเป็นสาเหตุของ น้ำในช่องเยื่อหุ้มปอดชนิดที่มีเซลล์ลิมโฟซัยท์เด่นที่สามารถรักษาให้หายได้ที่พบบ่อยที่สุด การวินิจฉัยแยกโรคจากมะเร็งระยะแพร่กระจายมาที่เยื่อหุ้มปอดยังเป็นปัญหาสำคัญ มีการศึกษาเกี่ยวกับการตรวจวัดระดับการแสดงออกของยีนที่จำเพาะต่อเชื้อวัณโรคในเลือดเพื่อใช้ในการวินิจฉัยวัณโรคปอด แต่ยังไม่มีข้อมูลในกลุ่มวัณโรคเยื่อหุ้มปอด วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาระดับการแสดงออกของยีนที่จำเพาะต่อเชื้อวัณโรคจากน้ำช่องเยื่อหุ้มปอดและเลือดของผู้ป่วยที่มีน้ำในช่องเยื่อหุ้มปอดชนิดที่มีเซลล์ลิมโฟซัยท์เด่น วิธีการศึกษา: ผู้ป่วยที่มีน้ำในช่องเยื่อหุ้มปอดชนิดที่มีเซลล์ลิมโฟซัยท์เด่นแต่ละคน จะได้รับการเก็บน้ำจากช่องเยื่อหุ้มปอดและเลือดอย่างละ 3 ซีซี เพื่อส่งตรวจวัดระดับการแสดงออกของยีนที่จำเพาะต่อเชื้อวัณโรค โดยวิธีการ quantitative real-time polymerase chain reaction (PCR) ยีนดังกล่าวได้แก่ FCGR1B1, FCGR1B2, FCGR1A, MAFB, GBP5, APOL1, KCNJ15, STAT1, KAZN และ CD53 ค่าที่ได้จะถูกนำมาเปรียบเทียบระหว่างกลุ่มวัณโรคเยื่อหุ้มปอดและกลุ่มมะเร็งระยะแพร่กระจายมาที่เยื่อหุ้มปอด ผลการศึกษา: ผู้ป่วยวัณโรคเยื่อหุ้มปอด 16 คนและมะเร็งระยะแพร่กระจายมาที่เยื่อหุ้มปอด 18 คน เข้าร่วมการศึกษาช่วงปี พ.ศ. 2561 – 2562 ระดับยีน GBP5 และ STAT1 ในน้ำช่องเยื่อหุ้มปอดมีการแสดงออกสูงในกลุ่มวัณโรคเยื่อหุ้มปอดมีค่าสูงกว่ากลุ่มมะเร็งระยะแพร่กระจายมาที่เยื่อหุ้มปอดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (GBP5 8.0 เทียบกับ 0.8, p<0.001 และ STAT1 11.1 เทียบกับ 3.1, p<0.001) ระดับการแสดงออกของยีน GBP5 และ STAT1 ในน้ำช่องเยื่อหุ้มปอดสอดคล้องไปกับการแสดงออกของยีนในเลือด (GBP5 r=0.384, p=0.025 และ STAT1 r=0.436, p=0.010) ระดับยีน GBP5 ในน้ำช่องเยื่อหุ้มปอดมีค่า area under receiving operating curve (AUROC) สูงที่สุดร้อยละ 97.9% (95%CI 93.5-100%) โดยเมื่อใช้ระดับ 3.0 ในการวินิจฉัยวัณโรคเยื่อหุ้มปอดแล้ว จะมีความไว ความจำเพาะ ค่าพยากรณ์เชิงบวก และค่าพยากรณ์เชิงลบ เป็นร้อยละ 93.8, 100, 100 และ 94.7 ตามลำดับ สรุปผล: ยีน GBP5 และ STAT1 ในน้ำช่องเยื่อหุ้มปอดและเลือดมีความสัมพันธ์กับวัณโรคเยื่อหุ้มปอด โดยเฉพาะระดับยีน GBP5 อาจนำมาใช้วินิจฉัยวัณโรคเยื่อหุ้มปอดได้-
dc.description.abstractalternativeBackground: Pleural tuberculosis (TB pleura) is the most common treatable cause of lymphocytic exudative pleural effusion. Differentiation of TB pleura from malignant pleural effusion (MPE) is often problematic in clinical practice. The blood TB-specific genes expression and its diagnostic implication in active pulmonary tuberculosis has been observed, but data in TB pleura is lacking. Objective: This study was aimed to investigate the TB-specific genes expression in pleural fluid and blood samples in settings of lymphocytic exudative pleural effusion. Methods: Each patient with lymphocytic exudative pleural effusion was asked to provide 3 ml of pleural fluid and 3 ml of blood samples. The quantitative real-time PCR was used to measure the expression levels of 10 TB-specific genes from the pleural fluid and blood samples. The genes include FCGR1B1, FCGR1B2, FCGR1A, MAFB, GBP5, APOL1, KCNJ15, STAT1, KAZN and CD53. The levels of each genes between TB pleura and MPE groups was compared. Results: Total 16 TB pleura and 18 MPE patients were prospective enrolled during 2018-2019. The pleural GBP5 (8.0 vs. 0.8, p<0.001) and pleural STAT1 (11.1 vs. 3.1, p<0.001) were significantly higher expressed in TB pleura comparing to MPE group and also correlated with the blood GBP5 (r=0.384, p=0.025) and blood STAT1 (r=0.436, p=0.010). The pleural GBP5 had highest AUROC 97.9% (95%CI 93.5-100%) and its cut point at 3.0 had sensitivity 93.8%, specificity 100%, PPV 100% and NPV 94.7%. Conclusion: GBP5 and STAT1 in both pleural fluid and blood samples were associated with TB pleura. Especially GBP5 can be used in TB pleura diagnosis.-
dc.language.isoth-
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.relation.urihttp://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2018.1500-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.subjectเยื่อหุ้มปอด -- วัณโรค-
dc.subjectการแสดงออกของยีน-
dc.subjectPleura -- Tuberculosis-
dc.subjectGene expression-
dc.subject.classificationMedicine-
dc.titleการตรวจระดับการแสดงออกของยีนเพื่อวินิจฉัยวัณโรคเยื่อหุ้มปอด-
dc.title.alternativeGene expression test for diagnosis in tuberculous pleuritis.-
dc.typeThesis-
dc.degree.nameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต-
dc.degree.levelปริญญาโท-
dc.degree.disciplineอายุรศาสตร์-
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.identifier.DOI10.58837/CHULA.THE.2018.1500-
Appears in Collections:Med - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6074017630.pdf1.64 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.