Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/76365
Title: | การศึกษาย้อนหลังหาความชุกและลักษณะของผู้ป่วยกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันชนิดที่ไม่มีการยกของเอสทีเซกเมนต์ ที่ไม่มีการอุดตันอย่างมีนัยสำคัญของเส้นเลือดหัวใจ |
Other Titles: | Prevalence and characteristics of non-ST-segment elevation in acute myocardial infarction with insignificant coronary artery disease |
Authors: | สุชัจจ์ ศรีชลวัฒนา |
Advisors: | จักรพันธ์ ชัยพรหม |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์ |
Issue Date: | 2563 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | ที่มา : จากการศึกษาในอดีตพบว่ามีผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันชนิดที่ไม่มีการยกของเอสทีเซกเมนต์จำนวนร้อยละ 8-12 เมื่อไปฉีดสีตรวจเส้นเลือดหัวใจพบว่าไม่มีการอุดตันอย่างมีนัยสำคัญ แต่อย่างไรก็ตามความชุกของผู้ป่วยกลุ่มนี้ในประเทศไทย ยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด วิธีการศึกษา : เก็บรวบรวมข้อมูลย้อนหลังจากผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันชนิดที่ไม่มีการยกของเอสทีเซกเมนต์และได้รับการฉีดสีตรวจเส้นเลือดหัวใจ ที่รับไว้ในโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ โดยเก็บข้อมูลย้อนหลังตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2561 ถึง 31 ตุลาคม 2563 โดยมีวัตถุประสงค์หลักคือ หาความชุกของผู้ป่วยกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันชนิดที่ไม่มีการยกของเอสทีเซกเมนต์ ที่ไม่มีการอุดตันอย่างมีนัยสำคัญของเส้นเลือดหัวใจ และวัตถุประสงค์รองคือ หาปัจจัยที่สัมพันธ์กับการที่ไม่พบการอุดตันอย่างมีนัยสำคัญ ผลการศึกษา : จากการศึกษารวบรวมผู้ป่วยทั้งหมด 522 ราย มีผู้ป่วยจำนวน 74 ราย คิดเป็นร้อยละ 14.2 ที่พบว่า ไม่มีการอุดตันอย่างมีนัยสำคัญของเส้นเลือดหัวใจ และพบว่ามีหลายปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการที่ไม่มีการอุดตันอย่างมีนัยสำคัญของเส้นเลือดหัวใจในผู้ป่วยกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันชนิดที่ไม่มีการยกของเอสทีเซกเมนต์ ได้แก่ การตรวจไม่พบการบีบตัวที่ผิดปกติของกล้ามเนื้อหัวใจจากการตรวจด้วยคลื่นเสียงสะท้อนความถี่สูง การตรวจไม่พบการเปลี่ยนแปลงของเอสทีเซกเมนต์จากการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ เพศหญิง และการไม่มีประวัติเป็นโรคไขมันในเลือดสูง โดยจากการวิเคราะห์พหุตัวแปร ทำให้สามารถกำหนดเครื่องมือที่ใช้ในการทำนายลักษณะของเส้นเลือดหัวใจที่ไม่พบการอุดตันอย่างมีนัยสำคัญได้ สรุปผล : ความชุกของผู้ป่วยกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันชนิดที่ไม่มีการยกของเอสทีเซกเมนต์ ที่ไม่มีการอุดตันอย่างมีนัยสำคัญของเส้นเลือดหัวใจ คือร้อยละ 14.2 โดยปัจจัยที่สัมพันธ์กับการที่ไม่มีการอุดตันอย่างมีนัยสำคัญของเส้นเลือดหัวใจ คือ การตรวจไม่พบการบีบตัวที่ผิดปกติของกล้ามเนื้อหัวใจจากการตรวจด้วยคลื่นเสียงสะท้อนความถี่สูง การตรวจไม่พบการเปลี่ยนแปลงของเอสทีเซกเมนต์จากการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ เพศหญิง และการไม่มีประวัติเป็นโรคไขมันในเลือดสูง |
Other Abstract: | Background: 8% to 12% of patients who presented with non-ST elevation myocardial infarction (NSTEMI) have insignificant coronary artery disease. Prevalence of patients with NSTEMI related insignificant coronary artery disease in Thailand remains unknown. Method: A retrospective analysis was performed in all patient who admitted for NSTEMI and underwent coronary angiography presenting to King Chulalongkorn Memorial Hospital in admission (January 2018 to October 2020). The primary end point was to study the prevalence of insignificant coronary artery disease in NSTEMI patients, the secondary end point was to find associated factors of the insignificant coronary artery disease. Result: A total 522 subjects were enrolled. 74 patients (14.2%) had insignificant coronary artery disease. There are many predictors of insignificant coronary artery disease in NSTEMI patients: Absence of regional wall motion abnormalities from echocardiogram had the strongest association with insignificant coronary artery disease. Other variables were; no ST segment deviation in the ECG , female sex and the absence of dyslipidemia. By using multivariate analysis, a scoring system was made to predict insignificant coronary artery disease. Conclusion: Prevalence of non-ST-segment elevation acute myocardial infarction with insignificant coronary artery disease is 14.2%. Absence of regional wall motion abnormalities from echocardiogram, no ST segment deviation in the ECG, female sex and absence of dyslipidemia were all statistically associated with insignificant coronary artery disease. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2563 |
Degree Name: | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | อายุรศาสตร์ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/76365 |
URI: | http://www.doi.org/10.58837/CHULA.THE.2020.1314 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.58837/CHULA.THE.2020.1314 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Med - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
6270069630.pdf | 1.86 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.