Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/7639
Title: | ประสิทธิภาพของกระบวนการกรองด้วยเมมเบรนในการกำจัดโคลิฟาจ ในน้ำดิบที่ปนเปื้อนโคลิฟาจและอีโคไล |
Other Titles: | Coliphage removal efficiency of membrane filtration process for raw water cotaminated with coliphage and E.coli |
Authors: | ณัฏฐพงศ์ เลิศปีติภัทร |
Advisors: | ไพพรรณ พรประภา |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
Advisor's Email: | ไม่มีข้อมูล |
Subjects: | แบคทีเรีย ไวรัส น้ำเสีย -- การบำบัด -- การกรอง |
Issue Date: | 2540 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | ศึกษาประสิทธิภาพในการกำจัดอีโคไล และโคลิฟาจ ออกจากน้ำด้วยเมมเบรนระบบอุลตราฟิลเตรชัน ชนิดเส้นใยกลวง ปัจจัยที่ศึกษาคือ อัตรากรอง และการล้างย้อน ขนาดช่องว่างของเมมเบรนมี 2 ขนาด คือ 0.1 และ 0.03 ไมครอน และเปลี่ยนอัตรากรองน้ำต่างๆ กัน ดังนี้คือ 0.5 ลิตร/นาที 1.0 ลิตร/นาที 1.5 ลิตร/นาที และ 2.0 ลิตร/นาที ตามลำดับ ตัวอย่างน้ำที่ใช้มี 3 ชนิดคือ น้ำประปาเติมอีโคไล น้ำประปาเติมโคลิฟาจ และน้ำประปาเติมอีโคไลและโคลิฟาจ การทดลองพบว่า เมมเบรนทั้งขนาด 0.1 และ 0.03 ไมครอน สามารถกำจัดอีโคไลได้ทั้งหมดสำหรับทุกอัตรากรอง ส่วนโคลิฟาจจะตรวจพบในน้ำกรองจากเมมเบรนขนาด 0.1 ไมครอนเท่านั้น โดยมีค่าเฉลี่ยอยู่ระหว่าง 50-700 พีเอฟยู/มล. ส่วนน้ำกรองจากเมมเบรนขนาด 0.03 ไมครอน ตรวจไม่พบโคลิฟาจสำหรับทุกอัตรากรอง โดยที่ประสิทธิภาพในการกำจัดอีโคไลของเมมเบรนทั้งสองมีค่าอยู่ระหว่าง 99.999998%-99.9999999% (7.7-9 ล็อก) ส่วนประสิทธิภาพในการกำจัดโคลิฟาจของแมมเบรนทั้งสองขนาด ในกรณีที่ตัวอย่างน้ำมีแต่โคลิฟาจจะมีค่าอยู่ระหว่าง 99.998%-99.9995% (4.8-5.3 ล็อก) สำหรับเมมเบรนขนาด 0.1 ไมครอน และมีค่ามากกว่า 99.99999% (7 ล็อก) สำหรับเมมเบรนขนาด 0.03 ไมครอน ส่วนที่ตัวย่างน้ำมีทั้งอีโคไลและโคลิฟาจ ประสิทธิภาพในการกำจัดอีโคไลของเมมเบรนทั้งสองขนาดมีค่าอยู่ระหว่าง 99.999998%-99.9999998% (7.7-8.6 ล็อก) ส่วนประสิทธิภาพในการกำจัด โคลิฟาจ จะมีค่าอยู่ระหว่าง 99.994%-99.9997% (4.2-5.6 ล็อก) สำหรับเมมเบรนขนาด 0.1 ไมครอน และมีค่าอยู่ระหว่าง 99.99999%-99.999995% (6.9-7.3 ล็อก) สำหรับเมมเบรนขนาด 0.03 ไมครอน โดยที่ประสิทธิภาพในการกำจัดโคลิฟาจในทุกกรณีสามารถผ่านมาตรฐานของ SWTR ซึ่งกำหนดประสิทธิภาพในการกำจัดโคลิฟาจอยู่ที่ 4 ล็อกเป็นอย่างต่ำ สำหรับเมมเบรนที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ มีค่าความต้านทานของเมมเบรน (Rm) เท่ากับ 1.3x1011m-1 สำหรับเมมเบรนขนาด 0.1 ไมครอน และมีค่าเท่ากับ 3.4x1011m-1 สำหรับเมมเบรนขนาด 0.03 ไมครอน โดยมีค่าดัชนีความต้านทาน (RI) อยู่ในช่วง 0.54 ถึง 0.92 ซึ่งแสดงให้เห็นว่า การล้างย้อนไม่สามารถทำให้เมมเบรนคืนสภาพเดิมได้อย่างมีประสิทธภาพ |
Other Abstract: | To study the efficiency of coliphage removal from water by hollow-fiber ultrafiltration membrane. The effect of filtration rate and backwashing was investigated. The membrane pore size supplied in this study were 0.1 and 0.03 micron. The filtration rate were 0.5, 1.0, 1.5 and 2.0 litres per minute, respectively. There were 3 kinds of water samples : tap water with E.coli, tap water with coliphage and tapwater with E.coil and coliphage. It was revealed that 0.1 and 0.03 micron membranes can remove all of E.coli in all filtration rate. Coliphage was detected in filtrated water from 0.1 micron membrane was 50-700 pfu/ml. and could not be detected in filtrate water from 0.03 micron membrane. The E.coli removal efficiency of both membranes was between 99.999998%-99.9999999% (7.7-9 log). Whereas the coliphage removal efficiency of 0.1 micron membrane was between 99.998%-99.9995% (4.8-5.3 log) and of 0.03 micron membrane was more than 99.99999% (7 log). For water sample with E.coli and coliphage, the E.coli removal efficiency of both membranes was 99.999998%-99.9999998% (7.7-8.6 log). Whereas the coliphage removal efficiency of 0.1 micron membrane was 99.994-99.9997% (4.2-5.6 log) and of 0.03 micron membrane was 99.99999%-99.999995% (6.9-7.3 log). The coliphage removel efficiency in any case of this research can exceed SWTR which require at least 4 log. The resistance of membrane (Rm) in this study was 1.3x1011m-1 for 0.1 micron membrane and 3.4x1011m-1 for 0.03 micron membrane. The resistance index (RI) was between 0.54-0.92 that showed backwashing was not efficient in recovery of membrane. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2540 |
Degree Name: | วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | วิศวกรรมสิ่งแวดล้อม |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/7639 |
ISBN: | 9746371738 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Nuttapong_Le_front.pdf | 738.98 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Nuttapong_Le_ch1.pdf | 313.58 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Nuttapong_Le_ch2.pdf | 3.14 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Nuttapong_Le_ch3.pdf | 584.5 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Nuttapong_Le_ch4.pdf | 1.31 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Nuttapong_Le_ch5.pdf | 209.13 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Nuttapong_Le_back.pdf | 1.55 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.