Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/76511
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorบุญรัตน์ โล่ห์วงศ์วัฒน-
dc.contributor.advisorนนท์ โรจน์วชิรนนท-
dc.contributor.advisorพนิตา สุรชัยกุลวัฒนา-
dc.contributor.authorเตชวิทย์ หิริสัจจะ-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย-
dc.date.accessioned2021-09-21T06:45:31Z-
dc.date.available2021-09-21T06:45:31Z-
dc.date.issued2563-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/76511-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วท.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2563-
dc.description.abstractกระบวนการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่หนึ่งที่ได้รับการพิสูจน์ด้วยหลักฐานเชิงประจักษ์ถึงประสิทธิผลของการใช้งาน คือ ตัวแบบ Agile-stage-gate เนื่องด้วยความคล่องตัวในการดำเนินการและการรับมือกับอุปสรรคของโครงการ งานวิจัยก่อนหน้าจำนวนหนึ่งนำเสนอผลเชิงบวกในการใช้งานตัวแบบ Agile-stage-gate ในบริษัทขนาดใหญ่ที่ได้รับการยอมรับในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ อย่างไรก็ตามในบริบทของบริษัทสตาร์ทอัพที่มุ่งเน้นพัฒนาเทคโนโลยีที่ต้องเผชิญกับความกดดันที่ขัดแย้งกันของความยืดหยุ่นและความสามารถในการคาดการณ์ได้ รวมถึงข้อจำกัดด้านทรัพยากรและระดับความไม่แน่นอนที่สูงกว่าบริษัทที่ได้รับการยอมรับ ดังนั้นการใช้งานตัวแบบ Agile-stage-gate ในบริบทของบริษัทสตาร์ทอัพจำเป็นต้องมีการศึกษาเพิ่มเติมเพื่อพิสูจน์ประสิทธิภาพการใช้งานตัวแบบ งานวิจัยนี้อาศัยการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพตามยาวในบริษัทสตาร์ทอัพกรณีศึกษาในประเทศไทยเพื่อทำความเข้าใจการใช้งานตัวแบบ Agile-stage-gate ซึ่งบริษัทดังกล่าวมีโครงการที่ใช้งานตัวแบบนี้ในกระบวนการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ทั้งที่ดำเนินการได้สำเร็จและไม่สำเร็จ ผู้วิจัยอาศัยการวิจัยเปรียบเทียบในหลายโครงการของบริษัทกรณีศึกษาเพื่อทำความเข้าใจกิจกรรมพื้นฐานที่สามารถทำให้การดำเนินโครงการสำเร็จ รวมถึงการสร้างตัวแบบเชิงกระบวนการเพื่อส่งเสริมการใช้งานตัวแบบ Agile-stage-gate ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ในบริบทของบริษัทสตาร์ทอัพด้วยโครงสร้างข้อมูลจากการวิจัย ผลลัพธ์จากงานวิจัยนี้นำเสนอตัวแบบปรับสมดุลของความกดดัน 2 ด้านซึ่งแสดงทั้งความใหม่และความเหมือนในการจัดการโครงการในปัจจุบันเพื่อสนับสนุนการใช้งานตัวแบบ Agile-stage-gate รวมถึงการนำเสนอเครื่องมือและแนวทางเพิ่มเติมในการดำเนินการจากตัวแบบดังกล่าวเพื่อประยุกต์ใช้งานตัวแบบ Agile-stage-gate ในบริบทของบริษัทสตาร์ทอัพที่มุ่งเน้นพัฒนาเทคโนโลยีให้ประสบความสำเร็จ และในส่วนของการนำออกสู่เชิงพาณิชย์ ผู้วิจัยนำเสนอรายงานเส้นทางการขึ้นทะเบียนผลิตภัณฑ์ในประเทศไทยของต้นแบบเครื่องมือแพทย์จากโครงการกรณีศึกษารวมถึงรายการทดสอบที่จำเป็นเพื่อแสดงความสอดคล้องของการพิสูจน์ความปลอดภัยและสมรรถนะการใช้งานของต้นแบบเครื่องมือแพทย์ดังกล่าว-
dc.description.abstractalternativeOne of the new product development methods that has been proved with empirical evidence of its effectiveness is the agile-stage-gate model. A lot of research presented positive outcomes of the implementation of the agile-stage-gate model in well-established firms. However, in the context of the technology-based startups that face with contradictory pressure of flexibility and predictability and challenges of resource constraints and high uncertainty, the agile-stage-gate model adoption needs investigation. To understand the implementation process of the agile-stage-gate method in a startup setting, this research drew on a qualitative longitudinal case study of a successful technology-based startup company in Thailand. At this selected startup, there were both successful and unsuccessful team projects that used the agile-stage-gate method in their product development process. In this research, the focal units of analysis were these team projects. Multiple comparative case studies were conducted in order to understand actions underlying the successful implementation and thus develop the processual model of the agile-stage-gate method implementation in startups from the data structure. Based on the findings, the presented dual-pressure balancing model shows both the newness and the similarity of the current project management method to support the execution of the agile-stage-gate. Also, the proposed model for new product development in a startup was used to provide practical implications and guidance for startups to use the agile-stage-gate model effectively. In the commercialization part, this research presents the regulatory pathway report of the medical device prototype from the successful case study project for product registration in Thailand.-
dc.language.isoth-
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.relation.urihttp://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2020.735-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.subjectผลิตภัณฑ์ใหม่-
dc.subjectเครื่องมือ -- การออกแบบและการสร้าง-
dc.subjectNew products-
dc.subjectTools -- Design and construction-
dc.subjectน้ำดื่ม -- ปริมาณสารหนู-
dc.subjectน้ำใต้ดิน -- การทำให้บริสุทธิ์ -- การกำจัดสารหนู-
dc.subjectGroundwater -- Purification -- Arsenic removal-
dc.subject.classificationMultidisciplinary-
dc.titleการใช้งานตัวแบบ Agile-stage-gate ในกระบวนการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ สำหรับบริษัทสตาร์ทอัพที่มุ่งเน้นพัฒนาเทคโนโลยีด้วยตัวแบบปรับสมดุลของความกดดัน 2 ด้าน-
dc.title.alternativeThe adoption of the agile-stage-gate model in new product development of technology-based startups with the dual-pressure balancing model-
dc.typeThesis-
dc.degree.nameวิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิต-
dc.degree.levelปริญญาเอก-
dc.degree.disciplineธุรกิจเทคโนโลยีและการจัดการนวัตกรรม-
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.identifier.DOI10.58837/CHULA.THE.2020.735-
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5887773020.pdf7.57 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.