Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/7654
Title: พฤติกรรมการเปิดรับสื่อ ความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมการไปใช้สิทธิเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในวันที่ 17 พ.ย.2539 ของนักศึกษามหาวิทยาลัยรามคำแหง
Other Titles: A study of Ramkhamhaeng University students and their media exposure, knowledge, attitude and voting behaviour regarding the November 17, 1996 General Election
Authors: พรทิพย์ บุญนิพัทธ์
Advisors: อรวรรณ ปิลันธน์โอวาท
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: Orawan.P@Chula.ac.th
Subjects: มหาวิทยาลัยรามคำแหง -- นักศึกษา
การสื่อสารทางการเมือง
การเลือกตั้ง -- ไทย
การเปิดรับสื่อมวลชน
ทัศนคติ
การมีส่วนร่วมทางสังคม
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร -- การเลือกตั้ง
Issue Date: 2539
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ศึกษา ลักษณะทางประชากร พฤติกรรมการเปิดรับสื่อ ความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมการไปใช้สิทธิเลือกตั้ง ส.ส. ในวันที่ 17 พ.ย. 2539 ตลอดจนความสัมพันธ์ระหว่างลักษณะทางประชากร การเปิดรับสื่อ ความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมการไปใช้สิทธิเลือกตั้ง ส.ส. ของนักศึกษามหาวิทยาลัยรามคำแหง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยมีทั้งสิ้น 419 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลคือ แบบสอบถาม การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ การแจกแจงความถี่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ t-test one-way-ANOVA และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ซึ่งประมวลผลโดยคอมพิวเตอร์โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS ผลการวิจัยพบว่า ลักษณะทางประชากรแตกต่างกันมีพฤติกรรมการเปิดรับสื่อแตกต่างกัน ลักษณะทางประชากรเรื่องรายได้มีความสัมพันธ์กับความรู้และพฤติกรรมการไปใช้สิทธิเลือกตั้ง ภูมิลำเนาเดิมมีความสัมพันธ์กับทัศนคติและพฤติกรรมการไปใช้สิทธิเลือกตั้ง ส่วนอาชีพบิดา/มารดา มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการไปใช้สิทธิเลือกตั้ง ส.ส. ในวันที่ 17 พ.ย. 2539 ของนักศึกษามหาวิทยาลัยรามคำแหงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ พฤติกรรมการเปิดรับสื่อกับความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมการไปใช้สิทธิเลือกตั้ง พบว่าพฤติกรรมการเปิดรับสื่อไม่มีความสัมพันธ์กับความรู้ พฤติกรรมการเปิดรับสื่อจากพ่อแม่/ญาติ/พี่น้อง มีความสัมพันธ์กับทัศนคติและพฤติกรรมการไปใช้สิทธิเลือกตั้ง ส่วนกลุ่มเพื่อนมีความสัมพันธ์กับทัศนคติในการไปใช้สิทธิเลือกตั้ง ส.ส. ในวันที่ 17 พ.ย. 2539 ในขณะที่สื่อหนังสือพิมพ์ โปสเตอร์และพ่อแม่/ญาติ/พี่น้อง มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการจะไปใช้สิทธิเลือกตั้งในครั้งต่อๆ ไปของนักศึกษามหาวิทยาลัยรามคำแหง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ความสัมพันธ์ระหว่างความรู้ ทัศนคติและพฤติกรรมการไปใช้สิทธิเลือกตั้งพบว่าตัวแปรทั้งสามไม่มีความสัมพันธ์กัน แต่ตัวแปรแต่ละตัวมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับสูงในการไปใช้สิทธิเลือกตั้ง ส.ส. ในวันที่ 17 พ.ย. 2539 ซึ่งบ่งถึงทิศทางในทางบวก ในขณะที่ทัศนคติมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการจะไปใช้สิทธิเลือกตั้งในครั้งต่อๆ ไปของนักศึกษามหาวิทยาลัยรามคำแหง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
Other Abstract: To study demographic characteristics, media exposure, knowledge, attitude and voting behaviour regarding the November 17, 1996 General Election as well as to study the correlations among the demographic characteristics, media exposure, knowledge, attitude and voting behaviour of Ramkhamhaeng University students. Questionnaires were used to collect data from a total of 419 sample. Frequency, mean, percentage, t-test, one-way ANOVA and Pearson's product moment correlation coefficient were employed for the analysis of data. SPSS program was used for data processing. The results of the study are as follow: Regarding the correlations among demographic characteristics and media exposure, knowledge, attitude and voting behaviour, the results were that demographic characteristics correlated with media exposure. Family income was found to correlate with knowledge and voting behaviour, original domicile to correlate with attitude and voting behaviour, and father/mother's career to correlate with voting behaviour regarding the November 17, 1996 General Election of Ramkhamhaeng University students. As for the correlations of media exposure with knowledge, attitude and voting behaviour, the results were that media exposure did not correlate with knowledge, but exposure to members of family correlated with attitude and voting behaviour, and peer group contact correlated with attitude regarding the November 17, 1996 General Election. Meanwhile, newspaper, poster and communication with members of family correlated with the voting behaviour of Ramkhamhaeng University students regarding the future General Election. Pertaining to the correlations among knowledge, attitude and voting behaviour, the results were that all knowledge, attitude and voting behaviour did not correlate with one another, but the mean of each variable was at the high level regarding the November 17, 1996 General Election suggesting a positive direction. It was also found that attitude correlated with the intentional voting behaviour in the future of the General Election of Ramkhamhaeng University students.
Description: วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2539
Degree Name: นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: นิเทศศาสตรพัฒนาการ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/7654
ISBN: 9746358731
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Porntip_Bo_front.pdf1.14 MBAdobe PDFView/Open
Porntip_Bo_ch1.pdf1.09 MBAdobe PDFView/Open
Porntip_Bo_ch2.pdf3.69 MBAdobe PDFView/Open
Porntip_Bo_ch3.pdf979.18 kBAdobe PDFView/Open
Porntip_Bo_ch4.pdf2.17 MBAdobe PDFView/Open
Porntip_Bo_ch5.pdf4.34 MBAdobe PDFView/Open
Porntip_Bo_back.pdf1.69 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.