Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/76555
Title: การประเมินความสมดุลของการจัดการทรัพยากรที่ดิน (LDN) ในพื้นที่เกษตรกรรม จังหวัดสระบุรี เพื่อการจัดการทรัพยากรดินที่ยั่งยืน
Other Titles: Land degradation neutrality (LDN) assessment in agricultural area of Saraburi province for sustainable soil resource management
Authors: นครินทร์ มูลรัตน์
Advisors: ภศิชา ไชยแก้ว
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Subjects: ทรัพยากรทางการเกษตร -- การประเมิน
ที่ดินเพื่อการเกษตร -- ไทย (สระบุรี)
Agricultural resources -- Evaluation
Land capability for agriculture -- Thailand (Saraburi province)
Issue Date: 2563
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยนี้เป็นการประเมินความเสื่อมโทรมของทรัพยากรที่ดิน ตามแนวคิด Land Degradation Neutrality (LDN) พื้นที่ศึกษาครอบคลุมพื้นที่เกษตรกรรม จังหวัดสระบุรี มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินสถานะความเสื่อมโทรมของดิน และนำเสนอการพื้นฟูความเสื่อมโทรมของที่ดินบริเวณพื้นที่ศึกษา โดยกำหนดตัวชี้วัดทั้งหมด 3 ตัวชี้วัด ได้แก่ การเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดิน (LU)  การเปลี่ยนแปลงผลิตภาพของที่ดิน (LP) และการเปลี่ยนแปลงปริมาณคาร์บอนอินทรีย์ในดิน (SOC) ภายในช่วงเวลา พ.ศ. 2560 ถึง พ.ศ. 2563 ตัวชี้วัด LU และ LP ดำเนินการวิเคราะห์โดยใช้ข้อมูลภาพถ่ายดาวเทียม Landsat 8 วิเคราะห์หาการเปลี่ยนแปลงโดยใช้โปรแกรมทางสารสนเทศภูมิศาสตร์ (ArcMap version 10.7) ในขณะที่ตัวชี้วัด SOC มีการเก็บตัวอย่างดิน 2 ครั้ง ในพื้นที่เกษตรกรรมที่ระดับความลึก 30 ซม. ครั้งที่หนึ่งในปี พ.ศ.2560 โดยสำนักงานพัฒนาที่ดินเขต 1 และครั้งที่สองในปี พ.ศ.2563 ซึ่งงานวิจัยนี้เก็บตัวอย่างซ้ำตำแหน่งเดิม การวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงของ SOC แบ่งออกเป็น 2 วิธี ได้แก่ collocated site และ interpolation การศึกษานี้ใช้หลักการ "one out, all out" ในการประเมินสถานะของ LDN จากการเปลี่ยนแปลงของตัวชี้วัดทั้งหมด ผลการศึกษาพบว่าพื้นที่สีเขียวของตัวชี้วัด LU เกิดการสูญเสียในเชิงพื้นที่ประมาณ 47 ตารางกิโลเมตร ตัวชี้วัด LP ที่ได้จากการวิเคราะห์ไม่ได้แสดงความแตกต่างของการเพิ่มขึ้นหรือลดลงของพื้นที่สีเขียวมากนักในช่วงเวลาที่กำหนด ในขณะที่ตัวชี้วัด SOC แสดงการลดลงของปริมาณคาร์บอนอินทรีย์ในดินร้อยละ -0.04 ถึง -0.2 จากการวิเคราะห์ 2 แบบ ทั้งนี้ การวิเคราะห์สถานะของ LDN พบสัญญาณของความเสื่อมโทรมทรัพยากรที่ดิน ใน 3 อำเภอของพื้นที่ศึกษา เนื่องจากเกิดการเปลี่ยนแปลงเชิงลบในตัวชี้วัด SOC ควรใช้มาตรการถ่วงดุล และหลักการจัดการที่ดินอย่างยั่งยืนเข้ามาใช้ในพื้นที่ดังกล่าว
Other Abstract: The land degradation neutrality (LDN) assessment in agricultural area of Saraburi Province aimed to assess the state of land degradation and present the land restoration measures. Three indicators – land use change (LU), land productivity change (LP), and soil organic carbon change (SOC) – were used to detect the changes within the period of 2017 to 2020. The green areas according to LU and LP were analyzed using Landsat 8 satellite imagery data. For the SOC assessment, the first field sampling, was done in 2017 by the Land Development Regional Office 1. The current field sampling at the same location by the research team in 2020. The amount of SOC changes were estimated by two approaches: collocated site and interpolation. Based on the "one out, all out", the LDN status was evaluated by integration of the changes of three indicators. The study pointed that the green areas defined by the LU indicator declined approximately 47 km2. The LP indicator showed negligible difference in the three-year period. The SOC loss, indicated by two method, ranged from -0.04 to -0.2%. The analysis of the LDN status revealed an alarming sign of soil degradation, particularly in three districts where a negative change of SOC appeared. The counterbalance and sustainable land management measures should be considered restore the degraded land resources.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2563
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/76555
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2020.1051
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2020.1051
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6187156420.pdf2.86 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.