Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/76682
Title: การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้นอกสถานที่เสมือนร่วมกับการจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุมชนเป็นฐานเพื่อส่งเสริมความรู้สึกยึดมั่นผูกพันในความเป็นพลเมืองของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย
Other Titles: Development of a virtual field trip with community-based learning to enhance civic engagement of upper secondary school students
Authors: รติมา สิงหโชติสุขแพทย์
Advisors: จินตวีร์ คล้ายสังข์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Subjects: ระบบการเรียนการสอน -- การออกแบบ
หน้าที่พลเมือง -- การศึกษาและการสอน
พลเมืองไทย
Instructional systems -- Design
Civics, Thai
Issue Date: 2563
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการศึกษานอกสถานที่เสมือนร่วมกับการจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุมชนเป็นฐานเพื่อส่งเสริมความรู้สึกยึดมั่นผูกพันในความเป็นพลเมือง 2) เพื่อศึกษาผลของการใช้รูปแบบการจัดการศึกษานอกสถานที่เสมือนร่วมกับการจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุมชนเป็นฐานเพื่อส่งเสริมความรู้สึกยึดมั่นผูกพันในความเป็นพลเมือง 3) เพื่อนำเสนอรูปแบบการจัดการเรียนรู้นอกสถานที่เสมือนร่วมกับจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุมชนเป็นฐาน ส่งเสริมความรู้สึกยึดมั่นผูกพันในความเป็นพลเมือง  ตัวอย่างที่ใช้ในการพัฒนารูปแบบ คือ ผู้เชี่ยวชาญด้านการสอนสังคมศึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษาผู้เชี่ยวชาญ ในชุมชนและผู้เชี่ยวชาญด้านหลักสูตร ตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนที่กำลังศึกษาอยู่ในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563 จำนวน 111 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ 1) แบบสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ 2) แบบประเมินความเหมาะสมของรูปแบบฯ 3) เว็บไซต์การเรียนรู้ตามรูปแบบฯ 4) แผนการจัดการเรียนรู้ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบวัดความรู้สึกยึดมั่นผูกพันในความเป็นพลเมือง และแบบวัดความพึงพอใจในการเรียนโดยใช้รูปแบบฯ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการใช้ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที (t-test) ผลการวิจัยพบว่ารูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้นมี 3 องค์ประกอบ คือ 1) ผู้เรียน 2) ผู้สอน และ 3) บุคลากรในชุมชน โดยมี 6 ขั้นตอน ได้แก่ 1) สำรวจข้อมูล 2) เพิ่มพูนประสบการณ์ 3) วิเคราะห์งานแก้ปัญหา 4) สร้างนวัตกรรมจากปัญญา และ 5) นำพาความรู้สู่ชุมชน ผลการทดลองใช้รูปแบบการจัดการศึกษานอกสถานที่เสมือนร่วมกับการจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุมชนเป็นฐานเพื่อ ส่งเสริมความรู้สึกยึดมั่นผูกพันในความเป็นพลเมืองของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย พบว่า นักเรียนที่เรียนรู้โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้นอกสถานที่เสมือนร่วมกับการจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุมชนเป็นฐานมีคะแนนหลังเรียนสูงกว่าคะแนนก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ .05
Other Abstract: The purposes of these research were 1) To develop virtual field trip with community – based learning to enhance civic engagement of upper secondary school students, 2) to try out and 3) to propose a model. The subjects in the development consisted experts including social studies teaching experts, educational technology experts, community experts and curriculum expert. The subjects in model experiment were 111 upper secondary school students. The research instruments consisted of and expert interview form, a model evaluation form, learning website and a lesson plan. The data collection instruments comprised: a civic engagement test, and student's satisfaction toward the model test questionnaire. The data were analyzed by using mean, standard deviation and t-test. The research results were as follows: The developed model consisted of 3 components including: (1) Students, (2) Teacher and (3) People in community. Steps of virtual field trip with community – based learning consisted 5 steps as follows: (1) Exploring, (2) Experience improvement, (3) Problems analysis, (4) Innovation and (5) Presentation and reflection. The experimental result indicated that the subjects had civic engagement post-test mean scores higher than pre-test at .05 level of significance.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2563
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/76682
URI: https://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2020.507
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2020.507
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6083842427.pdf6.93 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.