Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/76699
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorภาวศุทธิ์ พิริยะพงษ์รัตน์-
dc.contributor.authorฐาณิศร์ สินธารัตนะ-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์-
dc.date.accessioned2021-09-21T06:55:28Z-
dc.date.available2021-09-21T06:55:28Z-
dc.date.issued2563-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/76699-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2563-
dc.description.abstractการศึกษาเรื่องสาระและแนวทางการจัดการเรียนรู้การอิมโพรไวส์แบบอิสระในระดับอุดมศึกษา มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาแนวคิด ความหมาย แนวปฏิบัติ และพัฒนาการของการอิมโพรไวส์แบบอิสระ และ 2) ศึกษาสภาพการจัดการเรียนรู้การอิมโพรไวส์แบบอิสระในระดับอุดมศึกษาในประเทศไทย แหล่งข้อมูลได้แก่ 1) อาจารย์ผู้เชี่ยวชาญ 2) ศิลปินผู้เชี่ยวชาญ และ 3) นักศึกษาหรือบัณฑิตที่มีประสบการณ์ 4) ชั้นเรียนที่เกี่ยวข้อง และ 5) เอกสารที่เกี่ยวข้อง เครื่องมือวิจัย ได้แก่ 1) แบบสัมภาษณ์ 2) แบบการสังเกตชั้นเรียน และ 3) แบบวิเคราะห์เอกสาร โดยใช้การวิเคราะห์เนื้อหาในการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ ผลการวิจัยสรุปได้ว่า 1. ในบริบทสากล ดนตรีอิมโพรไวส์แบบอิสระได้ถูกพัฒนาจากกลุ่มศิลปินที่ต้องการเป็นอิสระจากกรอบการสร้างสรรค์ในช่วงยุค 1950-60s โดยมีกระบวนการสร้างสรรค์ที่เน้นการแสดงออกอย่างฉับพลัน และลื่นไหล แนวปฏิบัติของดนตรีชนิดนี้ถูกพัฒนาในวงกว้างและเริ่มเข้าสู่ประเทศไทยในปี พ.ศ.2550 จากอิทธิพลของการจัดแสดงงานศิลปะของชาวญี่ปุ่น ดนตรีอิมโพรไวส์แบบอิสระได้ส่งผลกระทบต่อนักดนตรีกลุ่มต่าง ๆ ส่วนหนึ่งเป็นอาจารย์ในมหาวิทยาลัยทำให้องค์ความรู้ ดนตรีอิมโพรไวส์แบบอิสระเติบโตในระดับอุดมศึกษาของไทย 2. สภาพการจัดการเรียนรู้ในระดับอุดมศึกษาในประเทศไทยแบ่งเป็น 4 ด้าน ได้แก่ 1) การกําหนดวัตถุประสงค์ ครอบคลุมการฝึกฝนระดับไตร่ตรองและอุตรภาวะ 2) การกําหนดเนื้อหา ครอบคลุมฐานความรู้และข้อมูลอ้างอิงที่เฉพาะเจาะจง 3) การจัดกิจกรรมและสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ เป็นการสร้างสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ที่สอดรับกับการกำหนดวัตถุประสงค์ และ 4) การวัดผลประเมินผล ครอบคลุมการประเมินกระบวนการและผลลัพธ์  -
dc.description.abstractalternativeThe purposes of this research were 1) to study the concepts, definitions, practice and development of free improvisation and 2) to study the current stage of learning management of free improvisation in a higher education in Thailand. The sample group were  1) expert teachers 2) free improvisation artists 3) experienced students or graduates 4) related classes, and 5) related treatises. The research tools were 1) interview form 2) classroom observation form, and 3) document analysis form. The qualitative data were analyzed through content analysis and led to inductive conclusion. The results revealed that 1. In an international context, free improvisation is a spontaneous music-making process which is developed by groups of artists in the 1950-60s that urged to deconstruct the previous creative frameworks. The practice has been used widely and began to approach Thai music scene in 2007 through art exhibition held by Japanese artists. Free improvisation has influenced various groups of musicians, some of them also take parts as lecturers in higher education. This causes an integration of free improvisation learning in a university setting. 2. The current stage of learning management is divided into 4 aspects: 1) The objectives cover both deliberate and transcendence practices. 2) The content covers specific knowledge bases and referents. 3) Learning activities and facilities provides a learning environment that relates to the objectives; and 4) Evaluation and assessment covers both process and outcome assessment.-
dc.language.isoth-
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.relation.urihttp://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2020.692-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.subjectดนตรี -- การศึกษาและการสอน (อุดมศึกษา)-
dc.subjectการแสดงดนตรี-
dc.subjectMusic -- Study and teaching (Higher)-
dc.subjectMusic -- Performance-
dc.subject.classificationSocial Sciences-
dc.titleสาระและแนวทางการจัดการเรียนรู้การอิมโพรไวส์แบบอิสระในระดับอุดมศึกษา-
dc.title.alternativeContent and learning management guidelines for free improvisation in higher education-
dc.typeThesis-
dc.degree.nameครุศาสตรมหาบัณฑิต-
dc.degree.levelปริญญาโท-
dc.degree.disciplineดนตรีศึกษา-
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.identifier.DOI10.58837/CHULA.THE.2020.692-
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6183323127.pdf9.83 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.