Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/76739
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorจินตวีร์ คล้ายสังข์-
dc.contributor.advisorเนาวนิตย์ สงคราม-
dc.contributor.authorนฤบดี วรรธนาคม-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์-
dc.date.accessioned2021-09-21T07:00:14Z-
dc.date.available2021-09-21T07:00:14Z-
dc.date.issued2563-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/76739-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2563-
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาองค์ประกอบเชิงยืนยันของคุณลักษณะและสมรรถนะผู้ประกอบการและศึกษาสภาพความต้องการจำเป็น 2) เพื่อพัฒนาโมบายแอปพลิเคชันผู้ช่วยสอนส่วนบุคคลตามกระบวนการคิดเชิงออกแบบ 3) เพื่อศึกษาผลของการใช้และนำเสนอโมบายแอปพลิเคชันฯ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการพัฒนาโมบายแอปพลิเคชันฯ คือ ผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 22 ท่าน นิสิตนักศึกษาระดับปริญญาบัณฑิตในกรุงเทพมหานคร จำนวน 330 คน นิสิตนักศึกษาจำนวน 689 คน ทั่วประเทศไทย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบสัมภาษณ์ แบบสอบถาม และแบบประเมินคุณภาพแอปพลิเคชันฯ กลุ่มทดลองใช้โมบายแอพลิเคชันฯได้แก่ นิสิตนักศึกษาจำนวน 40 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบประเมินรับรองโมบายแอปพลิเคชันฯ  แบบสังเกตพฤติกรรมการเรียนรู้ และแบบประเมินความพึงพอใจ การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน การวิเคราะห์ความต้องการจำเป็น การจัดลำดับความต้องการจำเป็น การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ การวิเคราะห์การถดถอยโลจิสติค การวัดความแปรปรวนแบบวัดซ้ำ และการทดสอบค่าที ผลการวิจัยพบว่าสมรรถนะผู้ประกอบการประกอบด้วย 6 ด้าน โมบายแอปพลิเคชันฯที่พัฒนาขึ้นมี 5 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) เนื้อหาการเรียนรู้ 2) ซอฟต์แวร์ประมวลผล 3) การสื่อสารกับผู้ช่วยสอนส่วนบุคคล 4) กิจกรรมและสื่อการสอน 5) แบบประเมินผลผู้เรียน และผลการทดลองใช้โมบายแอปพลิเคชันฯ พบว่า คะแนนเฉลี่ยสมรรถนะผู้ประกอบการและความคิดสร้างสรรค์แนวคิดธุรกิจใหม่หลังเรียนของกลุ่มตัวอย่างสูงกว่าคะแนนเฉลี่ยสมรรถนะผู้ประกอบการก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.01 -
dc.description.abstractalternativeThe purpose of this study is to 1) confirm factors and indicators of entrepreneurial characteristics, competency as well as identify needs assessment of entrepreneurial education 2) develop personal learning assistant mobile application integrated design thinking process 4) study the effectiveness and propose mobile application. The sample of this research is 22 experts, 330 undergraduate students in Bangkok, and 689 undergraduate students in Thailand. The research tools include interview guidelines, questionnaires, and application quality assessments. The control group for this application experiment is 40 undergraduate students with research instruments of mobile application assessment, learning behavioral observation, as well as a satisfaction questionnaire. The data were analyzed with content analysis, percentage, mean, standard deviation, confirmatory factor analysis, multiple regression analysis, logistics regression analysis, repeated-measures ANOVA. It was found that entrepreneurial competency consists of 6 components. This mobile application consists of 5 components: 1) knowledge content 2) software 3) communications with personal learning assistant 4) learning resources and 5) assessment tools. The application experiment result found that the average score of entrepreneurial competencies and new business idea creativity after learning via application was higher than that of before with a statistical significance of 0.01. -
dc.language.isoth-
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.relation.urihttps://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2020.505-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.subjectโปรแกรมประยุกต์บนอุปกรณ์เคลื่อนที่-
dc.subjectคอมพิวเตอร์ช่วยการสอนแบบอัจฉริยะ-
dc.subjectผู้ประกอบการ-
dc.subjectMobile apps-
dc.subjectIntelligent tutoring systems-
dc.subjectBusinesspeople-
dc.subject.classificationBusiness-
dc.subject.classificationSocial Sciences-
dc.titleการพัฒนาโมบายแอปพลิเคชันผู้ช่วยสอนส่วนบุคคลตามกระบวนการคิดเชิงออกแบบเพื่อส่งเสริมสมรรถนะผู้ประกอบการและสร้างสรรค์แนวคิดธุรกิจใหม่ของผู้เรียนในระดับอุดมศึกษา-
dc.title.alternativeThe development of personal learning assistant mobile application integrated design thinking process to enhance entrepreneurial competency and generate new business ideas in higher education-
dc.typeThesis-
dc.degree.nameครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต-
dc.degree.levelปริญญาเอก-
dc.degree.disciplineเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา-
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.identifier.DOI10.58837/CHULA.THE.2020.505-
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6184459027.pdf8.06 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.