Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/7686
Title: | การวิเคราะห์รายวิชาที่เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมศึกษาในหสักสูตรครุศึกษา ของสถาบันราชภัฏ |
Other Titles: | An analysis of the courses related to environmental education in teacher education curriculum of Rajabhat Institutes |
Authors: | ไพจิตต์ สายทอง |
Advisors: | ทิพย์สิริ กาญจนวาสี |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
Advisor's Email: | ไม่มีข้อมูล |
Subjects: | สิ่งแวดล้อมศึกษา การวางแผนหลักสูตร สถาบันราชภัฏ |
Issue Date: | 2540 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อวิเคราะห์รายวิชาเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมศึกษาในหลักสูตรครุศึกษาของสถาบันราชภัฏ ผู้วิจัยเก็บรวบรวมข้อมูลจาก เอกสารแนวการสอนในรายวิชาเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมศึกษาที่เปิดให้นักศึกษาในคณะครุศาสตร์เลือกเรียน ผู้วิจัยได้รับข้อมูลเป็นเอกสารแนวการสอนวิชาสิ่งแวดล้อมเพียง 16 รายวิชา จากวิชาที่ปรากฏในหลักสูตรทั้งหมด 21 รายวิชา จากสถาบันราชภัฏ 22 แห่ง จากนั้นนำเอกสารแนวการสอนที่รวบรวมได้มาวิเคราะห์ตามแบบวิเคราะห์หลักสูตรในด้านองค์ประกอบของหลักสูตร ผลการวิจัยมีดังนี้ ปัจจุบันยังไม่มีสถาบันราชภัฏแห่งใดเปิดสอนหลักสูตรหรือโปรแกรมใดๆ เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมศึกษา มีเพียงรายวิชาเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมที่เปิดสอนเท่านั้น 1. รายวิชาเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมที่สอนในสถาบันราชภัฏส่วนใหญ่ มีลักษณะวิชาเป็นสิ่งแวดล้อมศึกษา จำนวน 11 รายวิชา และมีลักษณะวิชาเป็น วิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม จำนวน 5 รายวิชาคณะที่รับผิดชอบสอนส่วนใหญ่ได้แก่ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จำนวน 14 รายวิชา ส่วนวิชาที่เหลือคณะที่รับผิดชอบสอนได้แก่คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ 2. วัตถุประสงค์ของรายวิชาเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมพบว่าสถาบันราชภัฏทุกแห่งเน้นในด้านความรู้มากที่สุด รองลงมาได้แก่ ด้านทักษะ ด้านความตระหนัก และด้านการมีส่วนร่วม ตามลำดับ 3. เนื้อหาวิชาเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมที่สอนในสถาบันราชภัฏพบว่าครอบคลุมเนื้อหาสิ่งแวดล้อมศึกษา แต่ยังไม่มีการบูรณาการเนื้อหาสิ่งแวดล้อมในแต่ละสาขาวิชาด้วยกัน 4. การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนในวิชาสิ่งแวดล้อมของสถาบันราชภัฏมีหลากหลายวิธีทำการสอน โดยวิธีการบรรยายเป็นพื้นฐานมากที่สุด รองลงมาสอนโดยวิธีให้ศึกษาค้นคว้าทำรายงาน ส่วนวิธีที่ไม่มีการสอนได้แก่ การสร้างสถานการณ์จำลองและเกมส์ การสัมภาษณ์ และการแสดงบทบาทสมมุติ 5. การวัดและประเมินผลในวิชาเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมที่ระบุในเอกสารแนวการสอนบอกเพียงวิธีวัดผลซึ่งส่วนใหญ่ยังวัดผลโดยใช้แบบทดสอบเป็นหลัก รองลงมาเป็นการวัดผลโดยพิจารณาจากการทำรายงานและนำเสนอแต่มิได้บอกว่าเน้นในเนื้อหาใด สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้หรือไม่ |
Other Abstract: | The purpose of this research was to analyze courses related to the environmental education in teacher education curriculum of Rajabhat Institutes. The data were collected from course syllabus on environmental education which was offered to the student teacher in the faculty of education. The researcher received 16 courses syllabus regarding environmental education out of 21 courses syllabus from 22 Rajabhat Institutes. The data were then analyzed according to the curriculum component pattern. The result were as follows. 1. At present there was no environmental education curriculum or other environmental education programs offered in Rajabhat Institutes but environmental education courses. 2. Most of the course available were 11 environmental education 5 environmental sciences. The Faculty of Sciences and Technology responsible for 14 courses while there were responsible by Faculty of Humanities and Social Science. 3. The course objectives found in course syllabus emphasized among their students on knowledgeskills awareness and participation respectively. 4. The course related to the environment covered the environmental education content but they were not integrated to other courses. 5. The activities in teaching and learning were mostly lecturing self-studying and paper-working respectively. The other methods of teaching such as games and simulating interviewing and role-playing were not applied. 6. The course measurement and evaluation concerning environmental education were using examination paper work grading and class participation respectively. However they did not mention that the course content was related to the course objective or not. |
Description: | วิทยานิพนธ์(ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2540 |
Degree Name: | ครุศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | สุขศึกษา |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/7686 |
ISBN: | 9746387812 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Paijit_Sa_front.pdf | 973.72 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Paijit_Sa_ch1.pdf | 993.56 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Paijit_Sa_ch2.pdf | 2.52 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Paijit_Sa_ch3.pdf | 1.02 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Paijit_Sa_ch4.pdf | 1.09 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Paijit_Sa_ch5.pdf | 1.08 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Paijit_Sa_back.pdf | 2.16 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.