Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/77064
Title: การศึกษาการใช้แอพพลิเคชั่นการวินิจฉัยสีบนมือถือเพื่อปรับปรุงการวิเคราะห์ปริมาณแคลเซียมในน้ำตัวอย่าง
Other Titles: A study of using color diagnosis application on mobile phone to improve an analysis of calcium amount in water sample
Authors: สุพิชญา มหิทธิหาญ
Advisors: สมชาย พัวจินดาเนตร
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
Issue Date: 2559
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อปรับปรุงการวิเคราะห์ปริมาณแคลเซียมในน้ำตัวอย่าง โดยใช้แอพพลิเคชั่นการวินิจฉัยสีบนมือถือ ดำเนินการโดย 1) ศึกษาอิทธิพลของค่าแคลเซียมในน้ำตัวอย่าง ความเข้มข้นของอีดีทีเอ และปริมาณอินดิเคเตอร์ ที่มีผลต่อค่าร้อยละของความคลาดเคลื่อนจากเป้าหมายของค่าแคลเซียม (%ไบอัส) โดยกำหนดปัจจัยค่าแคลเซียมในน้ำตัวอย่าง เท่ากับ 300 600 1,000 และ 1,500 ppm ความเข้มข้นของอีดีทีเอ เท่ากับ 0.003 0.0065 และ 0.01M และปริมาณอินดิเคเตอร์ เท่ากับ 31 92 และ 153 µg 2) หาความสัมพันธ์ของปัจจัยที่มีนัยสำคัญต่อค่า %ไบอัส  3) เปรียบเทียบความแม่นยำที่ได้ของวิธีพิจารณาจุดยุติทั้ง 3 วิธีการ คือ แอพพลิเคชั่นการวินิจฉัยสีบนมือถือ เครื่องไตเตรตอัตโนมัติ และพนักงาน โดยพิจารณาจากค่า %ไบอัส และค่าสัมประสิทธิ์ความผันแปรของการวัด (%CV) จากผลการทดลองพบว่า 1) ค่าแคลเซียมในน้ำตัวอย่าง และความเข้มข้นของอีดีทีเอ มีผลต่อค่า %ไบอัสอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ α เท่ากับ 0.05 ขณะที่ปริมาณอินดิเคเตอร์ไม่มีผล  2) สมการความสัมพันธ์ระหว่างค่า %ไบอัสกับค่าแคลเซียมในน้ำตัวอย่างและความเข้มข้นของอีดีทีเอ พบว่ามีนัยสำคัญทางสถิติที่ α เท่ากับ 0.05 ด้วยค่าสัมประสิทธิ์ของการตัดสินใจ (R2) เท่ากับ 95.12% 3) วิธีพิจารณาจุดยุติด้วยแอพพลิเคชั่นฯ จะให้ค่าความแม่นยำมากที่สุด โดยให้ค่าเฉลี่ยของ %ไบอัส และ %CV ของการตรวจวัดค่าแคลเซียม เท่ากับ -0.8±1.0% และ 0.0% ตามลำดับ ขณะที่วิธีพิจารณาจุดยุติด้วยเครื่องไตเตรตอัตโนมัติ ซึ่งมีราคาสูงกว่า เมื่อเทียบกับ 2 วิธีที่เหลือ จะให้ค่า %ไบอัส เท่ากับ -1.9±1.8% และ %CV เท่ากับ 0.2% และวิธีพิจารณาจุดยุติโดยพนักงาน มีค่า %ไบอัส และค่า %CV  สูงสุด เท่ากับ -2.8±1.2% และ 2.3% ตามลำดับ
Other Abstract: The objective of the study was to improve an analysis of calcium amount in water sample by using color diagnosis application on mobile phone. There are 3 steps. 1) Studying the effects of calcium in water sample, EDTA concentration and indicator amount on the different value from target (%Bias) at the 0.05 level of significance. The calcium in water sample was studied at 300, 600, 1000 and 1500 ppm. The EDTA concentration was studied at 0.003, 0.0065 and 0.01M. The indicator amount was studied at 31, 92 and 153 µg. 2) Creating equation of %Bias. 3) Comparing the accuracy obtained of 3 methods which consist of application method, Potentiometric Titration method and human method by using %Bias and Coefficient of Variation (%CV) for measuring.  The results of the study showed that 1) The calcium in water sample and the EDTA concentration affected %Bias at the 0.05 level of significance but the indicator amount didn’t affect %Bias. 2) The equation of %Bias had R-Square at 95.12% that was work very well. 3) The application method could be the most accuracy providing the average of %Bias and %CV for calcium measuring at -0.8±1.0% and 0.0% respectively, whereas the Potentiometric Titration being the high relative cost comparing to the two remaining methods provided the average of %bias at -1.9±1.8% and the average of %CV at 0.2%, and finally the human method could provide the highest average of %bias at -2.8±1.2% and the average of %CV at 2.3%.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2559
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมอุตสาหการ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/77064
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2016.1093
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2016.1093
Type: Thesis
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5870262721.pdf4.23 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.