Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/77246
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorพิศิษฎ์ จารุมณีโรจน์-
dc.contributor.authorทศพร ประเสริฐพร-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์-
dc.date.accessioned2021-09-22T23:38:59Z-
dc.date.available2021-09-22T23:38:59Z-
dc.date.issued2563-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/77246-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2563-
dc.description.abstractการจัดตารางกระบวนการบรรจุยาเม็ดเป็นกระบวนการจัดสรรทรัพยากรต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการบรรจุยาเม็ดที่มีอยู่อย่างจำกัด ให้บรรลุวัตถุประสงค์ต่างๆ ของการบรรจุยาเม็ดได้ โดยการจัดตารางกระบวนการบรรจุยาเม็ดที่มีประสิทธิภาพ นอกจากจะช่วยเพิ่มความสามารถในการผลิตแล้ว ยังสามารถช่วยลดต้นทุนเพิ่มเติมด้านต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นจากความไม่มีประสิทธิภาพของแผนการบรรจุได้ การจัดตารางดังกล่าวอาจจัดอยู่ในปัญหาประเภท NP แบบยาก ผู้วิจัยจึงได้ทำการพัฒนาสร้างฮิวริสติกส์ขึ้น โดยอ้างอิงจากขั้นตอนวิธีเชิงพันธุกรรม (Genetic Algorithm) ซึ่งในขั้นตอนแรก ผู้วิจัยได้ทำการสร้างผลเฉลยเบื้องต้น (แผนการบรรจุยาเม็ดเบื้องต้น) จากกฎการจ่ายงานอย่างง่าย กล่าวคือ กฎการจ่ายงานกำหนดส่งมอบที่เร็วที่สุด (Earliest Due Date, EDD) และเวลาบรรจุยาเม็ดที่สั้นที่สุด (Shortest Processing Time, SPT) จากนั้นจึงทำการปรับปรุงผลเฉลยดังกล่าวอย่างเป็นลำดับขั้นด้วยการแลกเปลี่ยนข้าม (Crossover) การกลายพันธุ์ (Mutation) และการปรับปรุงเฉพาะถิ่น (Local Search) แบบต่างๆ จนกระทั่งถึงเงื่อนไขในการหยุดค้นหา  ผลการวิจัยปรากฏว่า ขั้นตอนวิธีเชิงพันธุกรรมที่ถูกสร้างขึ้น ให้ผลดีกว่าทั้งในแง่ของเวลาปิดงานและต้นทุนค่าล่วงเวลา เมื่อเปรียบเทียบกับกฎการจ่ายงานอย่างง่าย โดยสามารถปรับปรุงเวลาปิดงานของพื้นที่ Secondary Packaging และลดต้นทุนค่าล่วงเวลาในภาพรวมได้กว่าร้อยละ 18.23 และร้อยละ 31.90 ตามลำดับ นอกจากนั้น ในการศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับการเพิ่มกำลังการผลิต พบว่า ผลเฉลยที่ได้สามารถตอบสนองต่อแผนงานการผลิตที่เปลี่ยนแปลงไปได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นกว่าในปัจจุบัน รวมทั้งยังสามารถนำไปคำนวณความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์ต่อไปได้อีกด้วย-
dc.description.abstractalternativeThe scheduling of tablets packaging process concerns the optimal allocation of resources so that the objectives of such scheduling are achieved. Efficient tablets packaging schedules not only help improve production capability but also help reduce additional costs incurred by potential scheduling inefficiencies. This type of scheduling may be regarded as an NP-hard problem. As such, a Genetic-Algorithm-based heuristic is herein devised, where initial solutions (initial packaging plan) are constructed based on simple dispatching rules: Earliest Due Date (EDD) and Shortest Processing Time (SPT). These solutions are then iteratively improved by Crossover, Mutation, and various local searches, until one of the stopping criteria has been met. The results show that the Genetic-Algorithm-based heuristic is better off in terms of both makespan and overtime cost, when compared with those of simple dispatching rules. In particular, the makespan of Secondary Packaging and total overtime cost could be effectively reduced by 18.23 and 31.90 percent, respectively. Moreover, in the additional study related to the increasing capacity of packaging process, we find that the resulting solutions better response to the changes in production plans, which could be further quantified in terms of economic worthiness.-
dc.language.isoth-
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.relation.urihttp://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2020.1160-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.subject.classificationEngineering-
dc.titleการประยุกต์ใช้วิธีการทางฮิวริสติกส์ในการจัดตารางกระบวนการบรรจุยาเม็ด-
dc.title.alternativeAn application of heuristics for the scheduling of tablets packaging process-
dc.typeThesis-
dc.degree.nameวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต-
dc.degree.levelปริญญาโท-
dc.degree.disciplineวิศวกรรมอุตสาหการ-
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.identifier.DOI10.58837/CHULA.THE.2020.1160-
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6270099021.pdf2.5 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.