Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/77441
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorดวงกมล ชาติประเสริฐ-
dc.contributor.authorสุธี เผ่าบุญมี-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย-
dc.date.accessioned2021-10-01T06:55:10Z-
dc.date.available2021-10-01T06:55:10Z-
dc.date.issued2539-
dc.identifier.isbn9746366173-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/77441-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (นศ.ม.) -- จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2539en_US
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้เลือกเหตุการณ์การก่อสร้างโรงกำจัดกากอุตสาหกรรมเจนโก้ในจังหวัดระยองเพื่อทดสอบแบบจำลองการโน้มน้าวใจที่เรียกว่า Elaboration Likelihood Model (ELM) ที่เสนอโดย Petty และ Cacioppo แบบจำลอง ELM กล่าวเอาไว้ว่าบุคคลที่มีแรงจูงใจและความสามารถในการคิดพิจารณาสารเพื่อการโน้มน้าวใจจะเปลี่ยนทัศนคติของพวกเขาผ่านทางเส้นทางหลัก (central route) โดยการคิดพิจารณาข้อโต้แย้งในสารเพื่อการโน้มน้าวใจในขณะที่บุคคลที่ขาดแรงจูงใจหรือความสามารถในกาคิดพิจารณาสารเพื่อการโน้มน้าวใจจะเปลี่ยนทัศนคติของพวกเขาผ่านทางเส้นทางรอง (peripheral route) โดยอาศัยวิธีการประเมินอื่นๆ ที่ง่ายกว่าการพิจารณาข้อโต้แย้ง กลุ่มตัวอย่างจากจังหวัดระยองเป็นกลุ่มที่มีความเกี่ยวข้องกับการก่อสร้างโรงกำจัดกากอุตสาหกรรมเจนโก้สูงจัดเป็นตัวแทนของบุคคลที่มีแรงจูงใจในการคิดพิจารณาสูง ขณะที่กลุ่มตัวอย่างจากจังหวัดสมุทรปราการเป็นกลุ่มที่มีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ข้างต้นต่ำ จัดเป็นตัวแทนของบุคคลที่มีแรงจูงใจในการคิดพิจารณาต่ำ ให้กลุ่มตัวอย่างจากทั้งสองจังหวัดทำแบบทดสอบเพื่อวัดความรู้ด้านสิ่งแวดล้อมและแบ่งออกเป็นกลุ่มที่มีความรู้ด้านสิ่แวดล้อมสูง และกลุ่มที่มีความรู้ด้านสิ่งแวดล้อมต่ำตามคะแนนการทดสอบที่ได้ หลังจากนั้นกลุ่มตัวอย่างจะถูกแบ่งออกเป็น 4 กลุ่มแต่ละกลุ่มจะได้อ่านบทความโน้มน้าวใจในกรณีการก่อสร้างโรงกำจัดกากเจนโก้ที่มีข้อโต้แย้งที่มีน้ำหนักและบทความที่มีข้อโต้แย้งที่ไม่มีน้ำหนักที่มาจากหนังสือพิมพ์ที่กลุ่มตัวอย่างให้ความเชื่อถือสูงและมาจากหนังสือพิมพ์ที่กลุ่มตัวอย่างให้ความเชื่อถือต่ำแล้วทำการวัดทัศนคติที่มีต่อการก่อสร้างโรงกำจัดกากเจนโก้ ความแตกต่างของทัศนคติของกลุ่มที่อ่านบทความที่มีข้อโต้แย้งที่มีน้ำหนักและกลุ่มที่อ่านบทความที่มีข้อโต้แย้งที่ไม่มีน้ำหนัก จะสะท้อนถึงการใช้เส้นทางหลักในการคิดพิจารณาสารเพื่อการโน้มน้าวใจขณะที่ความแตกต่างของทัศนคติของกลุ่มที่อ่านบทความจากหนังสือพิมพ์ที่มีความน่าเชื่อถือสูงและกลุ่มที่อ่านบทความจากหนังสือพิมพ์ที่มีความน่าเชื่อถือต่ำจะสะท้อนถึงการใช้เส้นทางรอง เมื่อพิจารณาจากแบบจำลอง ELM การวิจัยครั้งนี้มุ่งทดสอบสมมุติฐานดังต่อไปนี้ 1. บุคคลที่มีแรงจูงใจและความสามารถในการคิดพิจารณาสารเพื่อการโน้มน้าวใจต่ำจะเลือกใช้เส้นทางรองมากกว่าเส้นทางหลัก 2. บุคคลที่มีแรงจูงใจในการคิดพิจารณาสารเพื่อการโน้มน้าวใจต่ำ แต่มีความสามารถในการคิดพิจารณาสารเพื่อการโน้มน้าวใจสูง จะเลือกใช้เส้นทางรองมากกว่าเส้นทางหลัก 3. บุคคลที่มีแรงจูงใจในการคิดพิจารณาสารเพื่อการโน้มน้าวใจสูงแต่มีความสามารถในการคิดพิจารณาสารเพื่อการโน้มน้าวใจต่ำจะเลือกใช้เส้นทางรองมากกว่าเส้นทางหลัก และ 4. บุคคลที่มีแรงจูงใจและความสามารถในการคิดพิจารณาสารเพื่อการโน้มน้าวใจสูงจะเลือกใช้เส้นทางหลักมากกว่าเส้นทางรอง ผลการวิจัยพบว่ามีเพียงสมมุติฐานที่หนึ่งเท่านั้นที่เป็นไปตามที่แบบจำลอง ELM กล่าวเอาไว้อย่างไรก็ตามในการวิจัยครั้งนี้เมื่อทำการวิเคราะห์ post hoc พบว่ามีผลของปฏิสัมพันธ์เกิดขึ้นชี้ให้เห็นกระบวนการโน้มน้าวใจที่แตกต่างจากที่ Petty และ Cacioppo เสนอเอาไว้เล็กน้อยผู้วิจัยได้อภิปรายผลดังกล่าวเอาไว้ในบทที่ 5 พร้อมเสนอแบบจำลองที่ดัดแปลงเพื่อให้สามารถอธิบายผลการวิจัยที่เกิดขึ้นได้เอาไว้ด้วย-
dc.description.abstractalternativeThis field experiment research employed the controversy over the construction of chemical disposal treatment plant or JENCO in Rayong province to test the persuasion process as proposed by Petty and Cacioppo in their Elaboration Likelihood Model. The ELM model states that people with high motivation and high ability to process the information will change their attitude through the central route by elaborating or considering the argument of the persuasive message whereas people lacking either motivation or the ability to process information will change their attitude through the peripheral route by considering other more simpler means of evaluation. Rayong subjects presumably with high involvement with the JENCO issue represent people with high motivation whereas Samutprakarn subjects with lower involvement with the issue represent people with low motivation. The subjects were asked to complete environment knowledge test and were divided into the high knowledge and low knowledge group (high ability and low ability to process environmental related information) based on their test scores. Subjects were then divided randomly into four groups, each reading persuasive articles with either strong or weak arguments from a newspaper with either high or low credibility. Their attitude toward the construction of JENCO were then measured. The difference in attitude of strong and weak argument groups reflect the use of the central route whereas the difference in attitude of high and low credibility reflect the use of the peripheral route. Based on the ELM model, the study specifically tested the following hypotheses: 1. Subjects with low motivation and low ability to process the information will use the peripheral route; 2. Subjects with low motivation but high ability to process the information will use the peripheral route; 3. Subjects with high motivation but low ability to process the information will use the peripheral route; 4. Subjects with high motivation and high ability to process the information will use the central route. Results support the ELM model in only one condition. A significant difference between the attitude of the subjects in the high credibility and low credibility condition were found in the group with low motivation and low ability to process information as predicted by the model. In the other three conditions results were not as predicted. However, post hoc analysis of the interaction effect indicate a persuasive message slightly different from that proposed by Petty and Cacioppo. The researcher discussed the result and presented the modified version of the model for further consideration.-
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.1996.1073-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectแบบจำลองการสื่อสารen_US
dc.subjectการวิเคราะห์เนื้อหาen_US
dc.subjectหนังสือพิมพ์en_US
dc.subjectการจูงใจ (จิตวิทยา)en_US
dc.subjectความเชื่อถือได้en_US
dc.subjectสื่อมวลชนกับสิ่งแวดล้อมen_US
dc.subjectCommunication models-
dc.subjectContent analysis (Communication) t-
dc.subjectNewspapers-
dc.subjectMotivation (Psychology)-
dc.subjectReliability-
dc.subjectMass media and the environmen-
dc.titleผลของความน่าเชื่อถือของหนังสือพิมพ์ และน้ำหนักข้อโต้แย้งในเนื้อหาของหนังสือพิมพ์ ที่มีต่อเส้นทางการยอมรับข่าวสารโน้มน้าวใจ ในสถานการณ์ความเสี่ยงทางสิ่งแวดล้อมen_US
dc.title.alternativeThe effect of newspaper credibility and the strength of argumentation of newspaper articles on the route to persuasive message acceptance in an environmental risk situationen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameนิเทศศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineการหนังสือพิมพ์en_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorไม่มีข้อมูล-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.1996.1073-
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Sutee_ph_front_p.pdfหน้าปก สารบัญ และบทคัดย่อ1.07 MBAdobe PDFView/Open
Sutee_ph_ch1_p.pdfบทที่ 11.13 MBAdobe PDFView/Open
Sutee_ph_ch2_p.pdfบทที่ 21.34 MBAdobe PDFView/Open
Sutee_ph_ch3_p.pdfบทที่ 31.06 MBAdobe PDFView/Open
Sutee_ph_ch4_p.pdfบทที่ 41.39 MBAdobe PDFView/Open
Sutee_ph_ch5_p.pdfบทที่ 51.52 MBAdobe PDFView/Open
Sutee_ph_back_p.pdfบรรณานุกรมและภาคผนวก2.47 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.