Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/7747
Title: การพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์เพื่อหาสมรรถนะของเครื่องปรับอากาศ
Other Titles: Development of a computer program for an optimum performance of air conditioners
Authors: มนัส แป้งใส
Advisors: วิทยา ยงเจริญ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: fmewyc@eng.chula.ac.th
Subjects: เครื่องปรับอากาศ
โปรแกรมคอมพิวเตอร์
Issue Date: 2540
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: พัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำหรับใช้เป็นเครื่องมือตัดสินใจเบื้องต้น ในการออกแบบชุดแลกเปลี่ยนความร้อนของเครื่องปรับอากาศ ที่มีขีดความสามารถการทำความเย็นระหว่าง 3,500 ถึง 8,790 วัตต์ เพื่อให้ได้ฟังก์ชันเป้าหมายซึ่งอยู่ในรูปของ อัตราส่วนประสิทธิภาพพลังงาน (EER) ต่อต้นทุนการผลิตของเครื่องปรับอากาศสูงสุด ภายใต้ขอบเขตของตัวแปรตัดสินใจต่างๆ จำนวนทั้งสิ้น 14 ตัวแปร ซึ่งได้แก่ อุณหภูมิควบแน่นของน้ำยา, อุณหภูมิระเหยของน้ำยา และขนาดต่างๆ ของคอยล์ เป็นต้น โดยที่กำหนดคุณสมบัติของคอมเพรสเซอร์มาให้ เครื่องปรับอากาศที่ได้เมื่อออกแบบที่ค่าอัตราส่วนประสิทธิภาพพลังงานต่อต้นทุนการผลิตสูงสุดมาเปรียบเทียบกับสมรรถนะที่ระบุ ของเครื่องปรับอากาศที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบันซึ่งมีขนาด 3,500 วัตต์ และใช้คอมเพรสเซอร์รุ่นเดียวกัน จะเห็นได้ว่าเครื่องปรับอากาศที่ออกแบบนั้น สามารถลดต้นทุนในการผลิตลงได้ 23.4% แต่ให้ค่าอัตราส่วนประสิทธิภาพพลังงานนั้นลดลง 8.4% แต่ถ้าออกแบบที่ค่าอัตราส่วนประสิทธิภาพพลังงานสูงสุด จะทำให้ต้นทุนการผลิตเพิ่มขึ้น 0.24% ขณะที่มีค่าอัตราส่วนประสิทธิภาพพลังงาน ที่สูงกว่าพิกัดที่ระบุของผู้ผลิต 4.5%
Other Abstract: The computer program developed in this research is used as an analytical tool for designing the air conditioning unit with a capacity in the range of 3,500 to 8,790 watt. The objective function is to maximized the energy efficiency ratio (EER) per production cost under 14 decision variables such as condensing temperature, evaporating temperature, coil geometry and etc. for a given compressor performance. The optimized air conditioner, using the same compressor, is compared to the existing one with a capacity of 3,500 watt. The result indicates that the production cost is reduced at the amount of 23.4% for the optimized air conditioner. However, the EER is decreased at the amount of 8.4%. If the objective function is selected to maximize only the EER, then the production cost is increased at the amount of 0.24% for the optimized air conditioner. However, the EER is higher than the nominal rating at the amount of 4.5%
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิยาลัย, 2540
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมเครื่องกล
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/7747
ISBN: 9746380621
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Manat_Pa_front.pdf680.65 kBAdobe PDFView/Open
Manat_Pa_ch1.pdf337.14 kBAdobe PDFView/Open
Manat_Pa_ch2.pdf1.39 MBAdobe PDFView/Open
Manat_Pa_ch3.pdf703.52 kBAdobe PDFView/Open
Manat_Pa_ch4.pdf839.95 kBAdobe PDFView/Open
Manat_Pa_ch5.pdf342.55 kBAdobe PDFView/Open
Manat_Pa_ch6.pdf694.36 kBAdobe PDFView/Open
Manat_Pa_back.pdf3.03 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.