Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/77479
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorสุพัฒน์ เจริญพรวัฒนา-
dc.contributor.advisorปิยวิทย์ คุ้มพงษ์-
dc.contributor.authorสุชาวลี จ่าเมือง-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์-
dc.date.accessioned2021-10-05T07:56:33Z-
dc.date.available2021-10-05T07:56:33Z-
dc.date.issued2557-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/77479-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2557en_US
dc.description.abstractฟิล์มเคลือบเซทิลไพริดิเนียมคลอไรด์ได้ถูกผลิตขึ้นด้วยเทคนิคอิเล็กโทรสปินนิง เพื่อศึกษาแอกทิวิตียับยั้งจุลินทรีย์ วิธีการเตรียมฟิล์ม รูปแบบการปลดปล่อยเซทิลไพริดิเนียมคลอไรด์ออกจากแผ่นฟิล์ม และความเสถียรในการออกฤทธิ์ยับยั้งจุลินทรีย์ของฟิล์มเคลือบดังกล่าว โดยพบว่าพอลิไวนิลแอลกอฮอล์ที่ความเข้มข้น 20% (น้ำหนัก/ปริมาตร) มีความเหมาะสมที่สุดสำหรับใช้เคลือบเซทิลไพริดิเนียมคลอไรด์ลงบนแผ่นฟิล์ม โดยสามารถทำให้เกิดเส้นใยเซทิลไพริดิเนียมคลอไรด์ที่สม่ำเสมอบนแผ่นฟิล์ม และมีรูปแบบการปลดปล่อยเซทิลไพริดิเนียมคลอไรด์ออกจากแผ่นฟิล์มได้ดี แสดงให้เห็นฤทธิ์การยับยั้ง Listeria monocytogenes DMST 17303 และ Escherichia coli ATCC 25922 โดยสามารถลดปริมาณการรอดชีวิตของเชื้อทั้งสองได้ตั้งแต่วันแรกของการทดลอง และยังคงมีฤทธิ์ยับยั้งเชื้ออย่างต่อเนื่องตลอดระยะเวลา 14 วัน โดยสอดคล้องกับผลการวิเคราะห์ปริมาณเซทิลไพริดิเนียมคลอไรด์ที่ถูกปลดปล่อยออกมาจากแผ่นฟิล์มด้วยเทคนิคโครมาโทรกราฟีของเหลวสมรรถนะสูง (HPLC) ที่แสดงให้เห็นว่าเซทิลไพริดิเนียมคลอไรด์ถูกปลดปล่อยออกจากแผ่นฟิล์มอย่างรวดเร็วในวันแรกของการทดลอง และถูกปลดปล่อยจากแผ่นฟิล์มอย่างต่อเนื่องตลอดระยะเวลา 14 วัน โดยประสิทธิภาพในการยับยั้งเชื้อจะแปรผันตามความเข้มข้นของเซทิลไพริดิเนียมคลอไรด์บนแผ่นฟิล์มตั้งแต่ 0.2-1.0% (น้ำหนัก/น้ำหนักของ PVA) และเมื่อศึกษาประสิทธิภาพของฟิล์มในการยับยั้ง L. monocytogenes DMST 17303 และ E. coli ATCC 25922 บนเนื้อหมูแช่เย็นที่อุณหภูมิ 4°ซ พบว่าฟิล์มเคลือบ CPC-PVA ยังคงมีฤทธิ์การยับยั้งเชื้อทดสอบทั้งสองได้ดี โดยแสดงให้เห็นประสิทธิภาพในการยับยั้งเชื้อได้ตั้งแต่วันแรกของการทดลอง และยังคงมีฤทธิ์ยับยั้งเชื้ออย่างต่อเนื่องตลอด 7 วันของการทดลอง แต่พบว่าฟิล์มเคลือบ CPC-PVA มีประสิทธิภาพในการยับยั้ง E. coli ATCC 25922 ได้น้อยกว่า L. monocytogenes DMST 17303 เมื่อใช้ฟิล์ม CPC-PVA ที่มีความเข้มข้นของ CPC เท่ากัน และฟิล์มดังกล่าวยังคงมีแอกทิวิตีในการยับยั้งเชื้อทดสอบทั้งสองได้ดีเมื่อผ่านการเก็บรักษาฟิล์มที่อุณหภูมิห้องเป็นระยะเวลา 3 เดือนen_US
dc.description.abstractalternativeCetylpyridinium chloride (CPC) coated on polyvinylidene chloride (PVDC) film (CPC-PVA film) was produced by electrospinning technique. This research was to study the antimicrobial activity of CPC-coated PVDC film, method of CPC-coated films preparation, the controlled release CPC from CPC-PVA film and the stability of antimicrobial activity upon storage. It was found that 20% PVA (w/v) was the optimal concentration for coating CPC on film due to its smooth CPC-PVA fibers on film and also the effective controlled release of CPC against Listeria monocytogenes DMST 17303 and Escherichia coli ATCC 25922 throughout 14 days of study. The HPLC analysis showed that CPC was released rapidly on the first day of study and then gradually released throughout 14 days. Increasing CPC concentration on film from 0.2-1.0% (w/w) led to an increase in the degree of inhibition against tested microorganisms. The antimicrobial activity of CPC-PVA film on sliced pork, inoculated with L. monocytogenes DMST 17303 and E. coli ATCC 25922 and stored at 4°C demonstrated that these films could inhibit bacterial growth on sliced pork during 7 days of study. However, CPC-PVA film showed less antimicrobial efficiency against E. coli ATCC 25922 than that of L. monocytogenes DMST 17303 at the same concentration of CPC. This film maintained its antimicrobial activity after stored at room temperature for 3 months.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectลิสทีเรียโมโนไซโตยีน-
dc.subjectเอสเคอริเคียโคไล-
dc.subjectการปั่นด้ายด้วยไฟฟ้าสถิต-
dc.subjectListeria monocytogenes-
dc.subjectEscherichia coli-
dc.subjectElectrospinning-
dc.titleแอกทิวิตียับยั้ง Listeria monocytogenes และ Escherichia coli ของฟิล์มเคลือบเซทิลไพริดิเนียมคลอไรด์โดยใช้เทคนิคอิเล็กโทรสปินนิงen_US
dc.title.alternativeAntimicrobial activity against Listeria monocytogenes and Escherichia coli of cetylpyridinium chloride coated film using electrospinning techniqueen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineจุลชีววิทยาทางอุตสาหกรรมen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorไม่มีข้อมูล-
Appears in Collections:Sci - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5472131123.pdf5.25 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.