Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/7748
Title: ผู้สูงอายุกับการขัดเกลาทางสังคมในครอบครัว ในการสืบทอดคุณธรรมแก่เยาวชนในกรุงเทพมหานคร
Other Titles: The elderly and socialization in the family : morality transmission for youth in Bangkok Metropolitant Area
Authors: กฤษณา บูรณะพงศ์
Advisors: อารง สุทธาศาสน์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: ไม่มีข้อมูล
Subjects: ผู้สูงอายุ
สังคมประกิต
Issue Date: 2540
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ศึกษาบทบาทของผู้สูงอายุในการขัดเกลาด้านคุณธรรมแก่เยาวชนในครอบครัว ประเด็นที่ศึกษาประกอบด้วยลักษณะ 3 ด้าน คือ 1) ความสำนึกในคุณธรรมของผู้สูงอายุ ได้แก่ ความเมตตา ความกตัญญู ความซื่อสัตย์ ความยุติธรรมและความเสียสละ 2) ความพึงพอใจในการสืบทอดคุณธรรม และ 3) ความสำเร็จในการขัดเกลาด้านคุณธรรม โดยพิจารณาจากความสำนึกในคุณธรรมของเยาวชน ซึ่งแต่ละด้านเกี่ยวข้องกับปัจจัยบางประการ เช่น เพศ ศาสนา ภูมิลำเนา สถานภาพสมรส การศึกษา เศรษฐกิจ สุขภาพ ความสัมพันธ์ในครอบครัว การร่วมกิจกรรมทางสังคม การสนับสนุนทางสังคม และความใกล้ชิดกับเยาวชน นอกจากนั้นศึกษาถึงระดับความสำนึกในคุณธรรม และความพึงพอใจในการสืบทอดคุณธรรมของผู้สูงอายุ ตลอดจนเปรียบเทียบความแตกต่างกับปัจจัยที่เกี่ยวข้อง การรวบรวมข้อมูล ใช้แบบสอบถามที่มีค่าความเชื่อมั่น 0.89 สุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษามีจำนวน 230 คน โดยได้จากประชากรชาวพุทธ ชาวมุสลิม และชาวคริสต์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลตือ การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบความมีนัยสำคัญระหว่างค่าเฉลี่ยเลขคณิต หรือค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว และสหสัมพันธ์ถดถอยพหุคูณแบบมีขั้นตอน ผลการวิจัยพบว่า 1) ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความสำนึกในคุณธรรมของผู้สูงอายุมี 4 ปัจจัย ได้แก่ การสนับสนุนทางสังคม ศาสนา เศรษฐกิจและความสัมพันธ์ในครอบครัว และมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.05 โดยปัจจัยทั้ง 4 สามารถทำนายความแปรปรวนต่อความสำนึกในคุณธรรมได้ร้อยละ 22.38 2) มีเพียงปัจจัยเดียว คือ การสนับสนุนทางสังคมซึ่งมีอิทธิพลต่อความพึงพอใจ ในการสืบทอดคุณธรรมของผู้สูงอายุ อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.05 โดยสามารถทำนายความแปรปรวนต่อความพึงพอใจในการสืบทอดคุณธรรมได้ร้อยละ 11.32 และ 3) ไม่มีปัจจัยใดที่มีอิทธิพลต่อความสำเร็จของผู้สูงอายุ ในการขัดเกลาด้านคุณธรรมแก่เยาวชน นอกจากนั้น พบว่าผู้สูงอายุมีระดับความสำนึกในคุณธรรมและความพึงพอใจในการสืบทอดคุณธรรมอยู่ในระดับสูง และพบว่ามีปัจจัยเพียงด้านเดียวคือ ศาสนาของผู้สูงอายุต่อความสำนึกในคุณธรรม มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.05 ส่วนความพึงพอใจในการสืบทอด พบว่า ทุกปัจจัยไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.05 ผลการวิจัยสรุปได้ว่า ผู้สูงอายุส่วนใหญ่ยังมีความสำนึกในคุณธรรมสูงและมีความพึงพอใจในการทำหน้าที่สืบทอดคุณธรรมแก่เยาวชน แสดงว่าผู้สูงอายุยังคงมีความสำคัญต่อการดำเนินชีวิตในสังคมเมือง ส่วนความสำเร็จในบทบาทดังกล่าว จะต้องอาศัยปัจจัยอีกหลายประการ ฉะนั้นสมาชิกในสังคมควรสนับสนุนอย่างจริงจังให้ผู้สูงอายุ ได้มีโอกาสแสดงบทบาทดังกล่าวอย่างเหมะสมในสังคมไทย
Other Abstract: To study the role of the elderly in socialization of morality for the youth in their families. The subject is characterized by the 3 following areas. There are 1) The moral awareness of the elderly in terms of mercy, grateful, honesty, justice and sacrifice. 2) The satisfaction with the moral transmission and 3) The success in the moral socialization as indicated by the moral awareness of the youth. Each of which some related factors: gender, religion, local, marital status, education, economy, health, family relationship, social activity, social support and the closely of youth and elderly. The level of moral awareness and the satisfaction of moral transmission of the elderly is studied together with the comparison between the related factors. Data are collected through the purposive random sampling method. Two hundred and thirty subject, representing Buddhist, Muslim and Christian populations. The reliability coefficient of the questionnaire is at 0.89. Data are analyzed with the SPSS/PC+ program by computing frequency, percentage, mean, standard deviation, t-test, one-way analysis of variance and stepwise. It is found from the research that 1) There are four factors influently to the moral awareness of the elderly : social support, religion, economy and family relationship at the significant level 0.05, variance at 22.38% 2) There is single factor, i.e. social support, influence to the satisfaction with the moral transmission of the elderly and significant at the 0.05 level, variance at 11.32%. 3) No factors influenced to the success of the elderly in their moral socialization with the youth. Also, it is found that the levels of awareness in moral and the satisfaction with the moral transmission of elderly are high. There is significant different at 0.05 level among the religion groups of elderly on the moral awareness and satisfaction. The research results can be concluded the majority of elderly are still in high level of the moral awareness. The satisfy to work with the youth in terms of the moral transmission are still central to the lives of the elderly and roles in socialization of the elderly. The success of the moral socialization of them needs appropriate social supports in light of factors to the roles. Therefore the number of society to showed by the chance to the elderly for showing the appropriate roles on the Thai society.
Description: วิทยานิพนธ์ (สค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2540
Degree Name: สังคมวิทยามหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: สังคมวิทยา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/7748
ISBN: 9746383744
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Krisna_Bu_front.pdf561.22 kBAdobe PDFView/Open
Krisna_Bu_ch1.pdf459.27 kBAdobe PDFView/Open
Krisna_Bu_ch2.pdf3.23 MBAdobe PDFView/Open
Krisna_Bu_ch3.pdf475.49 kBAdobe PDFView/Open
Krisna_Bu_ch4.pdf2.02 MBAdobe PDFView/Open
Krisna_Bu_ch5.pdf1.29 MBAdobe PDFView/Open
Krisna_Bu_back.pdf1.74 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.