Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/77514
Title: การหาค่าเหมาะที่สุดของแหล่งไนโตรเจนสำหรับการหมักเอทานอลแบบวีเอชจีจากแป้งมันสำปะหลัง
Other Titles: Optimization of nitrogen sources for VHG ethanol fermentation from Cas Sava Starch
Authors: ธนาพร พลศักดิ์
Advisors: อัญชริดา อัครจรัลญา
ศรินทิพ สุกใส
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
Subjects: เอทานอล -- การผลิต
การหมัก
Ethanol -- Manufacture
Fermentation
Issue Date: 2557
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การใช้เอนไซม์แอลฟาอะไมเลส 26.39 ยูนิต/กรัมแป้ง และเอนไซม์กลูโคอะไมเลส 16.45 ยูนิต/กรัมแป้ง สามารถย่อยแป้งมันสำปะหลังให้ได้สารละลายน้ำตาลรีดิวซ์เข้มข้น 280 กรัม/ลิตร การหมักสารละลายน้ำตาลรีดิวซ์ที่ได้จากการย่อยแป้งมันสำปะหลังเข้มข้น 280 กรัม/ลิตร แบบวีเอชจีเป็นเอทานอลโดย Saccharomyces cerevisiae G2-3-2 พบว่า การเติมเพียงยีสต์สกัดความเข้มข้น 7.5 กรัม/ลิตร ทำให้ได้เอทานอลสูงสุด 111.13 กรัม/ลิตร (อัตราการหมักเอทานอล 2.31 กรัม/ลิตร/ชั่วโมง) ที่ 48 ชั่วโมง จากผลการเปรียบเทียบสารสกัดจากยีสต์ ซึ่งเตรียมได้จากยีสต์ที่ใช้แล้วจากโรงงานเบียร์ 2 วิธี คือ สารสกัดจากยีสต์ออโตไลเซท (เซลล์ยีสต์แตกโดยการบ่มที่ 50°ซ นาน 24 ชั่วโมง) และสารสกัดจากยีสต์ไฮโดรไลเซท (เซลล์ยีสต์แตกโดยใช้เครื่องปฏิกรณ์แบบแรงดันสูงที่ 200°ซ เป็นเวลา 20 นาที) เพื่อใช้เป็นแหล่งสารสกัดจากยีสต์ราคาถูกแทนยีสต์สกัดทางการค้า พบว่า สารสกัดจากยีสต์ออโตไลเซทให้ผลผลิตเอทานอล (เอทานอล 112.01 กรัม/ลิตร อัตราการหมักเอทานอล 2.33 กรัม/ลิตร/ชั่วโมง) สูงกว่าสารสกัดจากยีสต์ไฮโดรไลเซท (เอทานอล 107.81 กรัม/ลิตร และอัตราการหมักเอทานอล 2.25 กรัม/ลิตร/ชั่วโมง) และมีความเข้มข้นของเอทานอลใกล้เคียงกับยีสต์สกัดทางการค้า (เอทานอล 113.14 กรัม/ลิตร และอัตราการหมักเอทานอล 2.36 กรัม/ลิตร/ชั่วโมง) สำหรับค่าเหมาะที่สุดของสารสกัดจากยีสต์ออโตไลเซทมีปริมาณความเข้มข้น 5.23 กรัม/ลิตร ซึ่งสามารถผลิตเอทานอลได้สูงสุดที่ 48 ชั่วโมง คือ 115.77 กรัม/ลิตร และอัตราการหมักเอทานอลเป็น 2.41 กรัม/ลิตร/ชั่วโมง
Other Abstract: Liquefaction (α-amylase, 26.39 Unit/ g cassava starch) and saccharification (glucoamylase, 16.45 Unit/ g cassava starch) enzymes were used to get clear syrup containing 280 g/L reducing sugar. VHG fermentation of the reducing sugar solution (280 g/L reducing sugar) obtained from cassava starch saccharification to ethanol by Saccharomyces cerevisiae G2-3-2 required only yeast extract supplementation to maximize ethanol production. Addition of yeast extract (7.5 g/L) gave maximum ethanol 111.13 g/L (ethanol productivity 2.31 g/L/h) at 48 h. Comparison of 2 types of yeast extract prepared from spent brewer’s yeast: 1) yeast autolysate (yeast cells were incubated at 50°C, 24 h) and 2) yeast hydrolysate (yeast cells were subjected to high pressure reactor at 200°C, 20 min) as low cost yeast extract. It was found that yeast autolysate gave higher ethanol (ethanol 112.01 g/L and ethanol productivity 2.33 g/L/h) than yeast hydrolysate (ethanol 107.81 g/L and ethanol productivity 2.25 g/L/h) and ethanol concentration approximate to commercial yeast extract (ethanol 113.14 g/L and ethanol productivity 2.36 g/L/h). At optimal concentration of the yeast autolysate (5.23 g/L) maximum ethanol was 115.77 g/L at 48 h (ethanol productivity 2.31 g/L/h).
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2557
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: เทคโนโลยีชีวภาพ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/77514
Type: Thesis
Appears in Collections:Sci - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5672197823.pdf2.78 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.