Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/77530
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | จิราภรณ์ ธนียวัน | - |
dc.contributor.advisor | สุเทพ ธนียวัน | - |
dc.contributor.author | ณัฐวรา อมาตยกุล | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์ | - |
dc.date.accessioned | 2021-10-08T07:13:47Z | - |
dc.date.available | 2021-10-08T07:13:47Z | - |
dc.date.issued | 2559 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/77530 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2559 | en_US |
dc.description.abstract | งานวิจัยนี้ได้ศึกษาการผลิตสารลดแรงตึงผิวชีวภาพของ Aureobasidium pullulans สายพันธุ์ YTP6-14 พบว่า ในอาหารเลี้ยงเชื้อที่มีกลูโคสร้อยละ 5 สามารถผลิตสารลดแรงตึงผิวชีวภาพที่ละลายอยู่ในน้ำหมัก (biosurfactant, BS) และผลิตน้ำมันที่หนักกว่าน้ำ (heavy oil, HO) ปลดปล่อยออกนอกเซลล์ในปริมาณมาก เมื่อวิเคราะห์ BS และ HO ด้วย HPLC โดยนำพีคที่มีประสิทธิภาพการกระจายน้ำมันสูงจากเวลา 11.154 และ 11.161 นาที ตามลำดับ ไปหาน้ำหนักโมเลกุลด้วยวิธี GC/MS พบว่าทั้งคู่มี แมสซอย แลคโทน (168 ดาลตัน) และจากการหาน้ำหนักโมเลกุลด้วยวิธี MALDI-TOF/MS พบว่า สารสกัดหยาบ HO มีพีก [M+Na]+ ตรงกับ เลียโมซิน เอ1 เลียโมซิน บี1 เลียโมซิน บี2 เลียโมซิน อรา-เอ1 เลียโมซิน อรา-บี1 เอ็กโซฟิลิน เอ1 เอ็กโซฟิลิน เอ1-H₂O เอ็กโซฟิลิน เอ1+4Ac และ เอ็กโซฟอลิน บี2 จากการทำให้เซลล์แตกด้วยอุลตร้าโซนิเคเตอร์พบว่าสารลดแรงตึงผิวชีวภาพ BS ที่อยู่ภายในเซลล์ถูกปลดปล่อยออกมา เเละจากการแปรผันชนิดของแหล่งคาร์บอนที่ความเข้มข้นร้อยละ 5 เพื่อศึกษาการการผลิต BS และ HO พบว่ากลีเซอรอลสามารถผลิต BS ได้สูงสุด คือ 1.81 กรัมต่อลิตร ในวันที่ 5 และแป้งมันสำปะหลังย่อยสามารถผลิต HO ได้สูงสุดเท่ากับ 7.37 กรัมต่อลิตร ในวันที่ 7 โดย BS และ HO ที่ได้จากแป้งมันสำปะหลังย่อยมีค่า CMC เท่ากับ 42.28 และ 13.80 มิลลิกรัมต่อลิตร ตามลำดับ ทนเกลือได้สูง ทนต่อความเป็นกรดด่าง ทนอุณหภูมิ ทนต่อภาวะภายใต้หม้อนึ่งฆ่าเชื้อได้ และสามารถก่ออิมัลชั่นที่มีได้ดีกับน้ำมันมะกอกโดยอมัลชั่นมีความคงตัวมากกว่าร้อยละ 90 เมื่อตั้งทิ้งไว้ 60 วัน นอกจากนี้ BS และ HO สามารถยับยั้งการสร้างไบโอฟิล์มของ Streptococcus sobrinus 6715 ได้สูงสุดร้อยละ 24.73 และ 53.16 ในขณะที่ BS และ HO สามารถยับยั้งการสร้างไบโอฟิล์มของ Streptococcus mutans ได้ร้อยละ 88.86 และ 91.10 ตามลำดับ BS และ HO จึงเป็นสารประกอบชีวภาพที่มีประสิทธิภาพสูง เหมาะแก่การนำไปประยุกต์ในอุตสาหกรรมต่างๆ | en_US |
dc.description.abstractalternative | In the present study, the production of surface active compounds from Aureobasidium pullulans strain YTP6-14 was investigated. In the medium containing 5% of glucose, biosurfactant (BS) was released and dissolved in culture broth whereas those in form of heavy oil (HO) were found as droplets. The obtained BS and HO were analyzed by HPLC. The fractions with high activity at retention time of 11.154 and 11.161 minutes were found to processes Massioa lactone (168 Da) as analyzed by GC/MS. Crude HO was also characterized by pseudomolecular [M+Na]+ ions in MALDI-TOF/MS, the spectra of (m/z) were corresponded to Liamocin A1, Liamocin B1, Liamocin B2, Liamocin Ara-A1, Liamocin Ara-B1, Exophilin A1, Exophilin A1-H₂O Exophilin A1 + 4Ac and Exophilin B2. Cells disruption by ultrasonicator revealed the release of BS. As carbon sources for BS and HO production, 5% of glycerol produced the highest BS of 1.81 g/L at day 5 while 5% of cassava flour hydrolysate produced the highest HO of 7.37 g/L at day 7. CMC of BS and HO were 42.28 mg/L and 13.80 mg/L respectively. Both, BS and HO resisted to wide range of NaCl concentrations, pH, temperatures and autoclave condition. Moreover, they displayed good emulsifying activity with olive oil and able to retain these emulsifying form more than 90% when left on for 60 days. In addition, BS and HO inhibited biofilm formation of Streptococcus sobrinus 6715 by 24.73% and 53.16% respectively. While the inhibited formations of Streptococcus mutans were 88.86% and 91.10% respectively. Based on the above properties, HO and BS from A. pullulans strain YTP6-14 are high efficiency bioactive compounds and valuable for industrial applications. | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2016.319 | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.subject | สารลดแรงตึงผิวชีวภาพ | - |
dc.subject | น้ำมันมะกอก | - |
dc.subject | Biosurfactants | - |
dc.subject | Olive oil | - |
dc.title | การผลิตและลักษณะสมบัติของสารลดแรงตึงผิวชีวภาพจาก Aureobasidium pullulans สายพันธุ์ YTP6-14 | en_US |
dc.title.alternative | Production and characterization of biosurfactant from Aureobasidium pullulans strain YTP6-14 | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
dc.degree.name | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต | en_US |
dc.degree.level | ปริญญาโท | en_US |
dc.degree.discipline | จุลชีววิทยา | en_US |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.email.advisor | ไม่มีข้อมูล | - |
dc.identifier.DOI | 10.58837/CHULA.THE.2016.319 | - |
Appears in Collections: | Sci - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5771982023.pdf | 5.48 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.