Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/7758
Title: ดุลมวลของของแข็งในกระบวนการสร้างเพลเล็ตแบบไหลขึ้นโดยใช้น้ำดิบของ กปน. เป็นน้ำป้อน และสารส้มเป็นโคแอกกูแลนด์
Other Titles: Mass balance of solids in the upflow pelletization process using the MWWA's raw water as feed and the alum as coagulant
Authors: กุลธิดา อารีย์สว่างกิจ
Advisors: ธงชัย พรรณสวัสดิ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: Thongchai.P@Chula.ac.th
Subjects: น้ำ -- การทำให้บริสุทธิ์ -- การรวมตะกอน
สารส้ม
คอลลอยด์
Issue Date: 2540
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยกระบวนการสร้างเพลเล็ตแบบไหลขึ้นใช้น้ำดิบจากแม่น้ำเจ้าพระยาในช่วงเดือนกันยายน 2539 ถึงกุมภาพันธ์ 2540 ซึ่งมีความขุ่น 30-240 เอ็นทียู ได้แบ่งการทดลองเป็น 2 ช่วง คือ ช่วงที่ 1 ระหว่างเดือนกันยายนถึงพฤศจิกายน หรือช่วงฤดูฝน ความขุ่นน้ำดิบเท่ากับ 100-240 เอ็นทียู ความเร็วน้ำไหลขึ้นในปฏิกรณ์ 6 และ 9.6 ม/ชม. ใช้สารส้มปริมาณ 18.73, 21.13, 23.44 และ 25.79 มก/ล. เป็นโคแอกกูแลนต์ ร่วมกับโพลีเมอร์ไม่มีประจุปริมาณ 0.3 มก/ล. เป็นโคแอกกูแลนต์เอด และใช้โพลีเมอร์ไม่มีประจุปริมาณ 0.1, 0.2 และ 0.3 มก/ล. เป็นโคแอกกูแลนต์ และช่วงที่ 2 ระหว่างเดือนมกราคมถึงกุมภาพันธ์ ซึ่งเป็นช่วงฤดูแล้ง มีความขุ่นน้ำดิบ 30-60 เอ็นทียู ความเร็วน้ำไหลขึ้น 9.6 และ 15 ม/ชม. ใช้สารส้มปริมาณ 3, 5, 7 และ 10 มก/ล. เป็นโคแอกกูแลนต์ร่วมกับโพลีเมอร์ไม่มีประจุปริมาณ 0.3 มก/ล. เป็นโคแอกกูแลนต์เอด และใช้โพลีเมอร์ไม่มีประจุปริมาณ 0.1, 0.2 และ 0.3 มก/ล. เป็นโคแอกกูแลนต์ ดำเนินการทดลองเดินระบบผลิตน้ำเป็นเวลา 84 ชม. ต่อครั้งการทดลอง พบว่า 1. ความขุ่นน้ำผลินในการทดลองที่ใช้สารส้มมีค่าต่ำกว่าเกณฑ์ที่กำหนดคือ 5 เอ็นทียู ส่วนในการทดลองที่ใช้โพลีเมอร์ไม่มีประจุเป็นโคแอกกูแลนต์สามารถผลิตน้ำที่มีความขุ่นสูงกว่า 5 เอ็นทียูเล็กน้อย 2. ปริมาณของแข็งหรือเพลเล็ตในระบบฯ มีการสะสมเพิ่มขึ้นตามเวลาที่เดินระบบฯ ของแข็งที่เข้ามีค่ามากกว่าปริมาณที่ออกจนกระทั่งระบบฯ เข้าสู่สถานะคงตัวจึงจะมีค่าปริมาณของแข็งที่เข้าสู่ระบบใกล้เคียงกับปริมาณที่ออกจากระบบฯ และมีการสะสมของเพลเล็ตน้อยลงจนกระทั่งมีค่าผลต่างของของแข็งที่สะสมในระบบฯ ใกล้เคียงศูนย์ 3. การสะสมของเพลเล็ตขึ้นกับปัจจัยหลายประการ ได้แก่ ความขุ่นน้ำดิบ, ความขุ่นน้ำผลิต และปริมาณเพลเล็ตเริ่มต้นในการเดินระบบฯ โดยเมื่อมีมวลเพลเล็ตเริ่มต้นในกระบวนการมากจะสามารถดักจับอนุภาคความขุ่นที่เข้าสู่ระบบฯ ได้มากกว่า 4. เพลเล็ตที่ได้มีขนาดใกล้เคียงกันในการทดลองที่ใช้สารส้ม และโพลีเมอร์ไม่มีประจุเป็นโคแอกกูแลนด์ คือ ระหว่าง 0.18-0.28 มม. 5. ปริมาณอะลูมิเนียมในน้ำผลิตมีค่าต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนดคือ 200 ไมโครกรัมต่อลิตรในทุกความเข้มข้นสารเคมีที่ทดลอง
Other Abstract: From the study of an upflow pelletization process treating raw water from the Chao Phraya river under 2 conditions, i.e. a) during a rainy season, in September and November, 1996, the turbidity of 100 to 240 NTU, upflow velocity of 6 and 9.6 m/hr, alum as coagulant at 18.73, 21.13, 23.44 and 25.79 mg/l coupled with nonionic polymer of 0.3 mg/l as coagulant aid, nonionic polymer of 0.1, 0.2 and 0.3 mg/l as coagulant and b) during a dry season, from January to February, 1997, the turbidity of 30 to 60 NTU, upflow velocity of 9.6 and 15 m/hr, alum as coagulant at 3, 5, 7 and 10 mg/l coupled with nonionic polymer of 0.3 mg/l as coagulant aid, and nonionic polymer of 0.1, 0.2 and 0.3 mg/l as coagulant, it was found that, after 84 hours of continuous operation in each run, 1. When alum was used as coagulant, the effluent turbidity was less than 5 NTU standard, while it was higher than 5 NTU in the case of using nonionic polymer as coagulant. 2. Pellet mass in the reactor accumulated from start up to steady state. Solids input to the process was more than its output until the process ran to steady state; then solids input was nearly equal to the output, and accumulation of pellets decreased until the difference between solids input and output was near to zero. 3. The accumulation of pellets was due to several factors such as turbidity of raw water, turbidity of effluent water and pellet mass from start-up process. If we have more pellet mass from start-up, it could catch more turbidity particles. 4. Pellet size in both case of using alum and nonionic polymer as coagulant was 0.18 to 0.28 mm. 5. Aluminium in effluent water does not exceed the standard of 200 mug/l in any experiment.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2540
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมสิ่งแวดล้อม
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/7758
ISBN: 9746371711
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Kultida_Ar_front.pdf1.48 MBAdobe PDFView/Open
Kultida_Ar_ch1.pdf187.01 kBAdobe PDFView/Open
Kultida_Ar_ch2.pdf169.39 kBAdobe PDFView/Open
Kultida_Ar_ch3.pdf1.39 MBAdobe PDFView/Open
Kultida_Ar_ch4.pdf456.69 kBAdobe PDFView/Open
Kultida_Ar_ch5.pdf5.27 MBAdobe PDFView/Open
Kultida_Ar_ch6.pdf265.11 kBAdobe PDFView/Open
Kultida_Ar_ch7.pdf169.24 kBAdobe PDFView/Open
Kultida_Ar_back.pdf3.74 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.