Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/775
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.author | สุพัฒน์ สุกมลสันต์ | - |
dc.contributor.author | บุญศิริ อนันตเศรษฐ | - |
dc.contributor.author | กรองแก้ว กรรณสูต | - |
dc.contributor.author | ภามณี ขจรบุญ | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. สถาบันภาษา | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. สถาบันภาษา | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. สถาบันภาษา | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. สถาบันภาษา | - |
dc.date.accessioned | 2006-07-14 | - |
dc.date.available | 2006-07-14 | - |
dc.date.issued | 2527 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/775 | - |
dc.description.abstract | จุดมุ่งหมายในการศึกษาครั้งนี้คือ 1) เพื่อศึกษาเปรียบเทียบผลการเรียนแบบซ่อมเสริม 4 แบบว่า แบบใดมีประสิทธิภาพสูงสุด คือ ก. แบบมีผู้สอนประจำ และ สอนโดยตรง (DTT) ข. แบบมีผู้สอนและเรียนด้วยตนเอง (TIT) ค. แบบอาศัยข้อมูลของปัญหาเป็นเกณฑ์ (PBT) และ ง. แบบสังเคราะห์ทักษะ (IST) 2) เพื่อศึกษาปัญหาข้อดี และข้อเสียของการเรียนทั้ง 4 แบบ 3) เพื่อศึกษาปัจจัยบางอย่างที่อาจมีผลกระทบต่อสัมฤทธิผลในกาเรียนแต่ละแบบ และ 4) เพื่อหาเกณฑ์ที่เหมาะสมในการคัดเลือกผู้เข้ารับการอบรมต่อไป การศึกษาครั้งนี้ใช้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 65 คน ซึ่งเป็นผู้สมัครเข้ารับการอบรมภาษาอังกฤษแบบเข้ม ของสถาบันภาษาในระหว่างภาคฤดูร้อน ปี พ.ศ. 2524 บุคคลเหล่านี้แบ่งออกเป็น 2 พวก คือกลุ่มสูง 33 คน และกลุ่มต่ำ 32 คน ทั้งนี้โดยอาศัยคะแนนแบบสอบสมิทธิภาพมาตรฐานเป็นเกณฑ์ในการแบ่งกลุ่ม ตัวอย่างในกลุ่มต่ำแบ่งออกเป็น 4 กลุ่ม ๆ ละ 8 คน เท่ากัน โดยวิธีการสุ่มกลุ่มทั้ง 4 ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญด้านการอ่าน การฟังการเขียน และไวยากรณ์ทางภาษาอังกฤษ เมื่อทดสอบด้วย F-test แล้ว (p = .05) ผู้เรียนทั้ง 4 กลุ่ม ได้รับการสอนแตกต่างกันตามวิธีดังกล่าวโดยผู้สอนชุดเดียวกัน ที่สับเปลี่ยนกันสอนอย่างมีระบบ เครื่องมือในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ แบบทดสอบสิทธิภาพมาตรฐาน 1 ชุด แบบสอบถามแรงจูงใจ แบบสอบถามเจตคติ แบบวัดความถนัดทางภาษา แบบวัดนิสัยในการเรียน และแบบสอบถามสถานะภาพทั่วไปของผู้เรียน ภายหลังการเรียนเป็น 150 คาบแล้ว จึงทำการทดสอบภายหลังกลุ่มตัวอย่าง ทั้งหมดด้วยแบบสอบมาตรฐานชุดเดิม แล้ววิเคราะห์ผลการสอบด้วย ANOVA, ANCOVA, Discrimiant Analysis และ Descriptive statistics อื่น ๆ แล้ว ผลสรุปได้ดังนี้ 1. การเรียนการสอนทั้ง 4 แบบ มีผลสัมฤทธิผลในการเรียนไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ไม่ว่าจะเป็นทักษะการอ่าน การฟัง การเขียน หรือไวยากรณ์ก็ตาม (p=.05) แต่ความแตกต่างนี้มีนัยสำคัญเชิงความหมายเมื่อคำนึงถึงคะแนนที่เพิ่มขึ้นจากการสอน การสอนแบบ IST, TIT, PBT และ DTT ให้ผลดีเป็นอันดับที่ 1, 2, 3, และ 4 ตามลำดับ การสอนแต่ละวิธีทำให้ผู้เรียนมีคะแนนเพิ่มขึ้นจากเดิม 26.52%, 20.40%, 19.50% และ 13.26% ตามลำดับ และสูงกว่าคะแนนของผู้เรียนในกลุ่มสูงที่เรียนโดยวิธีปกติ ซึ่งมีคะแนนเพิ่มขึ้นโดยเฉลี่ยเพียง 9.73% และคะแนนที่เพิ่มขึ้นของกลุ่มการสอนแบบ IST และ TIT สูงกว่าคะแนนที่เพิ่มขึ้นของกลุ่มการสอนปกติอย่างมีนัยสำคัญ (p=.05) 2. การเรียนการสอนทั้ง 4 แบบ มีข้อดีและข้อเสียมากน้อยเท่า ๆ กัน 3. คะแนนสอบก่อน (พื้นความรู้เดิม) มีผลต่อสัมฤทธิผลในการเรียนอย่างมีนัยสำคัญ (p=.05) โดยเฉพาะทักษะการฟัง และไวยากรณ์ทางภาษา และพบว่า การสอนของครูภาษาอังกฤษในระดับมัธยมปลายมีผลต่อทักษะการอ่านของผู้เรียนอย่างมีนัยสำคัญ (p=.05) ส่วนตัวแปรอื่นที่เกี่ยวข้องอีกประมาณ 15 ตัว เช่น นิสัยในการเรียน ความถนัดทางภาษา แรงจูงใจ เป็นต้น ไม่มีผลต่อการเรียนแต่ละแบบแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ 9p=.05) 4. ชุดของตัวแปรที่อาจใช้เป็นเกณฑ์ในการคัดเลือกบุคคลออกเป็นกลุ่ม ๆ ได้อย่างเหมาะสม คือทักษะการอ่าน การฟัง ไวยากรณ์ และการเขียน ตัวแปรเหล่านี้มีค่าน้ำหนักในการจำแนกอย่างมีนัยสำคัญ 65%, 42%, 21% และ 19% ตามลำดับ ส่วนแรงจูงใจ อายุ เวลา ในการเดินทางมาศึกษา ความสูง น้ำหนัก และจำนวนปีในการศึกษาภาษาอังกฤษนั้น ต่างมีผลอย่างไม่มีนัยสำคัญสำหรับเป็นเกณฑ์ในการแบ่งกลุ่ม แต่ตัวแปรต่าง ๆ เหล่านี้เมื่อรวมกับตัวแปรชุดแรก จะใช้เป็นเกณฑ์ในการแบ่งกลุ่มได้อย่างถูกต้อง 96.92% (p=.05) | en |
dc.description.abstractalternative | The main purposes of the study were: 1) to investigate whether the 4 teaching/learning techniques (Tutorial/Direct: DTT, Tutorial and Individualized: TIT, Problem-based: PBT, and Integrated-skill: IST) had significant effects on English learning achievements, 2) to investigate the advantages and disadvantages of these techniques, 3) to investigate some significant covariant variables that had effects on the participants' achievements, and 4) to find a set of variables that could be used as criteria for the selection of course participants. The subjects of the study were 65 students from the English intensive course during the summer of 1984. Based on a predetermining cutting-score of a set of standardized proficiency tests, they were divided into 2 categories: high ability and low ability. There were 33 participants in the former and 32 in the latter which were subdivided into 4 equal groups. The differences among the groups were statistically insignificant in their listening, reading, writing and grammatical skills as indicated by F-tests (p= .05). Each group was exposed to a teaching/learning technique by a set rotating instructors. The instruments. 3. The participants' pretest scores had significant effects on their achievements especially on their listening skills grammatical structures. The English proficiency of the upper secondary school teachers had significant effects on the participants' reading ability. Some other fifteen related variables such as study habits, language aptitudes, motivation, etc. had no effect on the participants' learning ability. 4. Significant variables that could be used as a set of appropriate selection criteria were reading, listening, grammar and writing skills. Their significant weights were 65%, 42%, 21% and 19% respectively. Motivation, age commuting time between home and class, height, weight, and number of years of English language instruction were insignificant for discriminatory purposes. However, the afore-mentioned variables when combined with the first set were a good combination of criteria that could be used to classify participants into groups with 96.92% accuracy. | en |
dc.description.sponsorship | ทุนอุดหนุนงบประมาณแผ่นดินประจำปี พ.ศ. 2527 | en |
dc.format.extent | 44966689 bytes | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.language.iso | th | en |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.subject | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. โครงการอบรมภาษาอังกฤษแบบเข้ม | en |
dc.subject | ภาษาอังกฤษ--การศึกษาและการสอน | en |
dc.subject | การสอนซ่อมเสริม | en |
dc.subject | ภาษาอังกฤษ--การสอนซ่อมเสริม | en |
dc.title | การศึกษาการเรียนการสอนแบบซ่อมเสริม เพื่อใช้ในการแก้ปัญหาของผู้เรียนภาษาอังกฤษแบบเข้มซึ่งจัดโดย สถาบันภาษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย : รายงานการวิจัย | en |
dc.title.alternative | การเรียนการสอนแบบซ่อมเสริม เพื่อใช้ในการแก้ปัญหาของผู้เรียนภาษาอังกฤษแบบเข้มซึ่งจัดโดย สถาบันภาษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย : รายงานการวิจัย | en |
dc.title.alternative | A study of a remedial teaching and learning method to solve the learner's problems in an intensive course provided by CULI | - |
dc.type | Technical Report | en |
dc.email.author | suphat.s@chula.ac.th | - |
dc.email.author | boonsiri.a@chula.ac.th | - |
dc.email.author | kronggaew@yahoo.com | - |
dc.email.author | kannabe@chula.ac.th | - |
Appears in Collections: | Lang - Research Reports |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Supat(ren).pdf | 17.18 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.