Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/77614
Title: | การต้านการเจริญและการผลิตสารพิษจากราของ Aspergillus flavus และ Aspergillus carbonarius โดยยีสต์ปฏิปักษ์ |
Other Titles: | Inhibition of growth and mycotoxin production of Aspergillus flavus and Aspergillus carbonarius by Antagonistic yeasts |
Authors: | พิชามญชุ์ โสมา |
Advisors: | ชีวานันท์ เดชอุปการ ศิริสมบูรณ์ สุพัฒน์ เจริญพรวัฒนา |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์ |
Advisor's Email: | Cheewanun.D@Chula.ac.th Supat.C@Chula.ac.th |
Subjects: | แอสเพอร์จิลลัส สารพิษจากเชื้อรา อะฟลาท็อกซิน เชื้อรา Aspergillus Mycotoxins Aflatoxins Fungi |
Issue Date: | 2562 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากลไกสำคัญในการยับยั้งการเจริญและการผลิตอะฟลาทอกซินบี 1 และโอคราทอกซินเอของ Aspergillus flavus และ Aspergillus carbonarius ตามลำดับ โดยใช้ยีสต์ปฏิปักษ์สามชนิด ได้แก่ Wickerhamomyces anomalus MSCU 0652, Saccharomyces cerevisiae MSCU 0654 และ Kluyveromyces marxianus MSCU 0655 จากผลการวิจัยพบว่า ยีสต์ปฏิปักษ์ทั้งสามชนิดสามารถยับยั้งการเจริญและการผลิตสารพิษจากราได้อย่างมีประสิทธิภาพแตกต่างกัน โดยมีกลไกสำคัญ ได้แก่ การสร้างสารประกอบอินทรีย์ระเหยง่ายที่มีผลต่อลักษณะทางสัณฐานวิทยาของเส้นใยรา และเมื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการสร้างสารประกอบอินทรีย์เหยง่ายของยีสต์ปฏิปักษ์พบว่า W. anomalus MSCU 0652 มีประสิทธิภาพในการสร้างสารประกอบอินทรีย์ระเหยง่ายเพื่อยับยั้งการเจริญและการผลิตอะฟลาทอกซินบี 1 ของ A. flavus M3T8R4G3 ได้ดีที่สุดเมื่อเจริญบนอาหารที่ค่าความเป็นกรด-เบสเท่ากับ 5 (81.27±1.23 เปอร์เซ็นต์) บ่มที่อุณหภูมิห้อง (81.38±1.80 เปอร์เซ็นต์) และค่าความเข้มข้นของอาหารเลี้ยงยีสต์ปกติ (82.86±1.14 เปอร์เซ็นต์) และลดการผลิตอะฟลาทอกซินบี 1 ได้ดีที่สุดเมื่อเจริญบนอาหารที่ค่าความเป็นกรด-เบสเท่ากับ 4.5 (99.91±0.01 เปอร์เซ็นต์) บ่มที่ 25 องศาเซลเซียส (99.73±0.21 เปอร์เซ็นต์) และค่าความเข้มข้นของอาหารเลี้ยงยีสต์ 0.5 เท่า (99.67±0.12 เปอร์เซ็นต์) สำหรับ A. carbonarius TK4.2 พบว่า W. anomalus MSCU 0652 มีประสิทธิภาพในการยับยั้งการเจริญและการผลิตสารพิษจากราได้ดีที่สุดเมื่อเลี้ยงบนอาหารที่ค่าความเป็นกรด-เบสเท่ากับ 5 (82.42±2.76 เปอร์เซ็นต์) บ่มที่อุณหภูมิห้อง (81.20±2.65 เปอร์เซ็นต์) และค่าความเข้มข้นของอาหารเลี้ยงยีสต์ปกติ (83.88±0.32 เปอร์เซ็นต์) และลดการผลิตโอคราทอกซินเอได้ดีที่สุดเมื่อเลี้ยงบนอาหารที่ค่าความเป็นกรด-เบสเท่ากับ 5 (99.91±0.07 เปอร์เซ็นต์) บ่มที่อุณหภูมิห้อง (99.92±0.01 เปอร์เซ็นต์) และค่าความเข้มข้นของอาหารเลี้ยงยีสต์ปกติ (99.97±0.01 เปอร์เซ็นต์) นอกจากนี้ เมื่อทดสอบความสามารถในการลดการปนเปื้อนสารพิษจากราพบว่า ตะกอนเซลล์ยีสต์ที่ไม่มีชีวิตของ S. cerevisiae MSCU 0654 สามารถดูดซับอะฟลาทอกซินบี 1 ได้เล็กน้อย |
Other Abstract: | The objective of this study was examined the inhibition of growth and aflatoxin B1 and ochratoxin A production of Aspergillus flavus and Aspergillus carbonarius, respectively. By antagonistic yeasts i.e. Wickerhamomyces anomalus MSCU 0652, Saccharomyces cerevisiae MSCU 0654 and Kluyveromyces marxianus MSCU 0655, results showed that all yeast strains could be effectively different fungal inhibition and mycotoxin production. Potential of volatile organic compounds (VOCs) was the main mechanism of action, affecting hyphal morphology. The physical factors were also tested to optimize the production of VOCs harbouring the antagonistic activity. W. anomalus MSCU 0652 showed the highest efficiency to inhibit growth of A. flavus M3T8R4G3 by production of VOCs at pH 5 (81.27±1.23%), ambient temperature (81.38±1.80%) and 1x YPD concentration (82.86±1.14%). Also, reducing the aflatoxin B1 production at pH 4.5 (99.91±0.01%), 25°C (99.73±0.21%) and 0.5x of YPD concentration (99.67±0.12%). The growth and OTA production of A. carbonarius TK4.2 were inhibited by W. anomalus MSCU 0652, the hightest percentage of inhibition presented at pH 5 (82.42±2.76%), ambient temperature (81.20±2.65%) and 1x YPD concentration (83.88±0.32%), the lowest ochratoxin A production indicated at pH 5 (99.91±0.07%), ambient temperature (99.92±0.01%) and normal YPD concentration (99.97±0.01%). Moreover, the ability of adsorption and degradation by yeast cell wall were tested. The results showed that S. cerevisiae MSCU 0654 could adsorb some AFB1 to a certain extent in their cell pellets. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2562 |
Degree Name: | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | จุลชีววิทยา |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/77614 |
URI: | http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2019.783 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.58837/CHULA.THE.2019.783 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Sci - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5972024123.pdf | 3.15 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.