Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/77672
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorอวิรุทธ์ ชาญชัยกิตติกร-
dc.contributor.authorภารวี เกียรติเสรีธรรม-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์-
dc.date.accessioned2021-10-29T09:29:08Z-
dc.date.available2021-10-29T09:29:08Z-
dc.date.issued2563-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/77672-
dc.descriptionเอกัตศึกษา (ศศ.ม)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2563en_US
dc.description.abstractตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2563 ประเทศไทยจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างตามพระราชบัญญัติภาษี ที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ. 2562 ซึ่งมีวิธีการประเมินที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง แตกต่างไปจากพระราชบัญญัติ โรงเรือนและที่ดิน พุทธศักราช 2475 ที่เคยใช้ในการจัดเก็บมาก่อน กรมส่งเสริมการปครองท้องถิ่นให้ความเห็น ว่าเสาส่งสัญญาณโทรศัพท์เคลื่อนที่ ไม่เป็นสิ่งปลูกสร้างที่จะต้องเสียภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ต่างไปจากที่ ผ่านมา เพราะการประเมินตามพระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดิน พุทธศักราช 2475 เสาส่งสัญญาณ โทรศัพท์เคลื่อนที่เป็นสิ่งปลูกสร้างอย่างหนึ่งที่ต้องจัดเก็บภาษี การไม่จัดเก็บภาษีสำหรับเสาส่งสัญญาณ โทรศัพท์เคลื่อนที่ อาจเป็นการปฏิบัติหน้าที่ที่ไม่ถูกต้อง และจะทำให้หน่วยงานท้องถิ่นสูญเสียรายได้ เอกัตศักษาเล่มนี้จึงจัดทำขึ้นเพื่อศึกษาถึงหลักการที่เกี่ยวข้องกับการจัดเก็บภาษีในประเทศไทย และ การจัดเก็บภาษีทรัพย์สินของนครนิวยอร์ก (New York City) มลรัฐนิวยอร์ก (New York State) ประเทศ สหรัฐอเมริกา เพื่อนำมาวิเคราะห์ความเหมาะสมและแนวทางในการประเมินเสาส่งสัญญาณโทรศัพท์เคลื่อนที่ ในประเทศไทย จากการศึกษา พบว่า เสาส่งสัญญาณโทรศัพท์เคลื่อนที่ มีลักษณะเป็นทรัพย์สินที่มีความคงทนถาวร มี มูลค่าที่วัดได้ ก่อให้เกิดประโยชน์และรายได้ต่อผู้เป็นเจ้าของ บุคคลอื่นใช้ประโยชน์ทางอ้อมจากระบบสัญญาณ โทรศัพท์เคลื่อนที่ ที่ให้บริการ ซึ่งเป็นคุณสมบัติของทรัพย์สินที่จะต้องน ามาเสียภาษี ดังนั้นเสาส่งสัญญาณ โทรศัพท์เคลื่อนที่ จึงควรถูกประเมินเป็นสิ่งปลูกสร้าง และถูกจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างตาม พระราชบัญญัติภาษที่ดินและสิ่งปลูกสร้า พ.ศ. 2562 ดังนั้น กรมส่งเสริมการปกรครองท้องถิ่นควรสื่อสารและสร้างความเข้าใจกับองค์กรปกครองส่วน ท้องถิ่นที่มีหน้าที่จัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างให้ถูกต้อง เพื่อแก้ไขความเข้าใจที่ผิดพลาดในการจัดเก็บ ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างสำหรับเสาส่งสัญญาณโทรศัพท์เคลื่อนที่ โดยออกประกาศ หลักเกณฑ์หรือแนวทาง ปฏิบัติในการจัดเก็บภาษี เพื่อทำให้ผู้มีหน้าที่เสียภาษีและผู้มีหน้าที่จัดเก็บภาษีมีความเข้าใจที่ตรงกัน และนำ วิธีประการเมินมูลค่าเสาส่งสัญญาณโทรศัพท์ของมลรัฐนิวยอร์ก มาปรับใช้ในการกำหนดราคาประเมินของเสา ส่งสัญญาณโทรศัพท์เคลื่อนที่ในประเทศไทยen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.58837/CHULA.IS.2020.137-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectภาษีที่ดินen_US
dc.subjectโทรศัพท์เคลื่อนที่ -- กฎหมายและระเบียบข้อบังคับen_US
dc.titleปัญหาการประเมินเสาส่งสัญญาณโทรศัพท์เคลื่อนที่เป็นสิ่งปลูกสร้างอย่างอื่น ตามพระราชบัญญัติภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ. 2562en_US
dc.typeIndependent Studyen_US
dc.degree.nameศิลปศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineกฎหมายเศรษฐกิจen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorไม่มีข้อมูล-
dc.subject.keywordสัญญาณโทรศัพท์เคลื่อนที่en_US
dc.subject.keywordที่ดินและสิ่งปลูกสร้างen_US
dc.identifier.DOI10.58837/CHULA.IS.2020.137-
Appears in Collections:Law - Independent Studies

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6280068734.pdf3.29 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.