Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/77680
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorวุฒิพงษ์ ศิริจันทรานนท์-
dc.contributor.authorสุภัทรา รอดทิม-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์-
dc.date.accessioned2021-10-31T09:06:55Z-
dc.date.available2021-10-31T09:06:55Z-
dc.date.issued2563-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/77680-
dc.descriptionเอกัตศึกษา (ศศ.ม)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2563en_US
dc.description.abstractเอกัตศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัญหาและผลกระทบของมลพิษที่มีต่อชุมชนและ ประชาชนบริเวณรอบโรงไฟฟ้าอันเนื่องมาจากการตั้งโรงไฟฟ้าจากก๊าซธรรมชาติและถ่านหินในพื้นที่ และศึกษากฎหมายที่เกี่ยวข้อง รวมถึงหลักเกณฑ์ และวิธีการจัดเก็บภาษีสรรพสามิตของประเทศไทย ที่จะสามารถนำมาใช้ในการจัดเก็บภาษีสรรพสามิตจากผู้ผลิตไฟฟ้า ตลอดจนศึกษามาตรการทางภาษี เพื่อลดการปล่อยมลพิษจากโรงผลิตไฟฟ้าของประเทศชิลี เพื่อหาแนวทางที่เหมาะสมในการนำมาปรับ ใช้สำหรับการจัดเก็บภาษีสรรพสามิตจากผู้ผลิตไฟฟ้าในประเทศไทย เพื่อช่วยเหลือประชาชน และ ฟื้นฟูสิ่งแวดล้อมที่ได้รับผลกระทบจากการตั้งโรงไฟฟ้า ในปัจจุบันการผลิตไฟฟ้าก่อให้เกิดมลพิษมากมายที่เป็นอันตรายและส่งผลกระทบต่อสุขภาพ ของประชาชน รวมทั้งทำให้สิ่งแวดล้อมเสื่อมโทรมลง แม้ว่าในปัจจุบันประเทศไทยจะมีกองทุนพัฒนา ไฟฟ้า ตามมาตรา 97(3) แห่งพระราชบัญญัติการประกอบกิจการพลังงาน พ.ศ.2550 ซึ่งเป็น เงินกองทุนเพื่อพัฒนาหรือฟื้นฟูท้องถิ่นที่ได้รับผลกระทบจากการดำเนินงานของโรงไฟฟ้า แต่ก็ยังไม่ เพียงพอต่อการชดเชยความเสียหายของชุมชนและผู้ที่ได้รับผลกระทบบริเวณท้องถิ่นต่างๆ ที่มี โรงไฟฟ้าตั้งอยู่ ทั้งนี้โรงไฟฟ้าของภาครัฐ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจใน สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรีที่มิใช่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลตามมาตรา 39 แห่งประมวลรัษฎากร และเป็นนิติบุคคลเฉพาะที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย จึงไม่มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้นิติบุคคล ในขณะที่ โรงไฟฟ้าของผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชน ยังคงมีภาระภาษีเงินได้นิติบุคคล เนื่องจากเป็นนิติบุคคลตามมาตรา 39 แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งก่อให้เกิดความไม่เป็นธรรมในการจัดเก็บภาษี จากการศึกษาการจัดเก็บ ภาษีมลพิษของประเทศชิลีพบว่าได้มีการจัดเก็บภาษีจากปริมาณการปล่อยมลพิษสู่สิ่งแวดล้อม โดยมี การเรียกเก็บภาษีจากการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และสารปนเปื้อนในท้องถิ่น โดยยกเว้นการ จัดเก็บภาษีจากแหล่งพลังงานชีวมวลเพื่อเป็นการส่งเสริมพลังงานหมุนเวียน ซึ่งหลังจากที่มีการบังคับ ใช้ภาษีมลพิษในประเทศชิลีพบว่า ผู้ประกอบการมีแนวโน้มในการปรับพฤติกรรมโดยลดการปล่อย มลพิษลง ซึ่งสะท้อนได้จากจำนวนเงินภาษีที่จัดเก็บมีจำนวนลดลง ดังนั้นจึงเห็นว่าควรมีการศึกษาและนำแนวทางการใช้มาตรการทางภาษีเพื่อลดการปล่อย มลพิษของประเทศชิลีมาประยุกต์ใช้กับกฎหมายไทย ซึ่งแม้ว่าในประเทศไทยจะไม่มีกฎหมายใดที่ให้ อำนาจในการจัดเก็บภาษีสิ่งแวดล้อมโดยตรงอย่างประเทศชิลี แต่อย่างไรก็ดีผู้วิจัยมีความเห็นว่า ประเทศไทยสามารถนำเอาหลักการของกฎหมายของประเทศชิลีมาประยุกต์ใช้กับกฎหมายไทยได้ โดยให้มีการจัดเก็บภาษีสรรพสามิตภายใต้หลักการภาษีสิ่งแวดล้อมเพื่อจูงใจผู้ประกอบการพิจารณา นำเทคโนโลยีสะอาดมาปรับใช้เพื่อให้สามารถลดการปล่อยมลพิษสู่สิ่งแวดล้อมทั้งในระยะสั้น และใน ระยะยาวต่อไป รวมถึงนำรายได้จากภาษีเหล่านั้นมาสมทบกองทุนพัฒนาไฟฟ้าหรือจัดตั้งกองทุนเพื่อ ฟื้นฟูสิ่งแวดล้อมและช่วยเหลือ เยียวยา ผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการปล่อยมลพิษของโรงไฟฟ้าen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.58837/CHULA.IS.2020.159-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectภาษีสิ่งแวดล้อมen_US
dc.subjectมลพิษ -- กฎหมายและระเบียบข้อบังคับen_US
dc.titleแนวคิดการจัดเก็บภาษีสรรพสามิตจากผู้ประกอบการผลิตไฟฟ้าที่สร้างมลพิษen_US
dc.typeIndependent Studyen_US
dc.degree.nameศิลปศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineกฎหมายเศรษฐกิจen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorไม่มีข้อมูล-
dc.subject.keywordการผลิตไฟฟ้าen_US
dc.subject.keywordภาษีสิ่งแวดล้อมen_US
dc.identifier.DOI10.58837/CHULA.IS.2020.159-
Appears in Collections:Law - Independent Studies

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6280086034.pdf3.17 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.