Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/77691
Title: การทำนายโอกาสเกิดโรคไตเรื้อรังระยะที่ 3 ในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่มีการทำงานของไตคงสภาพปกติ
Other Titles: The prediction of chronic kidney disease stage 3 in type 2 diabetic patients with preserved kidney function
Authors: สุชาดา กิตติปัญญาวรคุณ
Advisors: สมฤทัย วัชราวิวัฒน์
เกื้อเกียรติ ประดิษฐ์พรศิลป์
เชาวรัตน์ มั่นพรหม
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะเภสัชศาสตร์
Subjects: Diabetics -- Diseases
Kidneys
ผู้ป่วยเบาหวาน
ไต -- โรค
Issue Date: 2556
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ที่มาของปัญหาโรคเบาหวานเป็นสาเหตุสำคัญในการเกิดโรคไตเรื้อรังและภาวะไตวายระยะสุดท้ายหากสามารถค้นหาปัจจัยเสี่ยงและประเมินความเสี่ยงในการเกิดโรคไตเรื้อรังได้จะช่วยวางแผนการติดตามและควบคุมการดำเนินไปของโรคไตเรื้อรังได้ดีขึ้น วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาหาปัจจัยที่สัมพันธ์กับการเกิดโรคไตเรื้อรังระยะที่ 3 และสร้างสมการทำนายโอกาสการเกิดโรคไตเรื้อรังระยะที่ 3 ในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่มีการทำงานของไตคงสภาพปกติ วิธีการศึกษาทำศึกษาแบบย้อนหลังในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่มีการทำงานของไตคงสภาพปกติ (ค่าประมาณอัตราการกรองของไตมากกว่าหรือเท่ากับ 60 มิลลิลิตร/นาที/1.73 ตารางเมตร) ที่เข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลสระบุรี ระหว่างเดือนมกราคม 2549 ถึงเดือนธันวาคม 2555 วิเคราะห์หาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการเกิดโรคไตเรื้อรังระยะที่ 3 และหาสมการทำนายการเกิดโรคไตเรื้อรังโดยใช้สถิติการวิเคราะห์การถดถอยโลจิสติก ผลการศึกษาจากผู้ป่วยจำนวน 242 คน อายุเฉลี่ย 59.10 ± 9.15 ปี เป็นหญิงร้อยละ 57.0 และมีการขับแอลบูมินในปัสสาวะเพิ่มขึ้นร้อยละ 81.0 ระยะเวลาติดตามเฉลี่ย 5.18 ± 0.31 ปี พบว่าการขับแอลบูมินในปัสสาวะเริ่มต้นค่าประมาณอัตราการกรองของไตเริ่มต้น ระยะเวลาการเป็นเบาหวานและความดันโลหิตขณะหัวใจบีบตัวเริ่มต้นเป็นปัจจัยที่สัมพันธ์กับการเกิดโรคไตเรื้อรังระยะที่ 3 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติโอกาสในการเกิดโรคไตเรื้อรัง = 1/(1+e^(-z)) โดย Z=3.305 + 0.135 x ระยะเวลาเป็นเบาหวาน – 0.143 x ค่าประมาณอัตราการกรองของไต + 1.719 x การขับแอลบูมินในปัสสาวะ + 0.036 x ความดันโลหิตขณะหัวใจบีบตัว ตรวจสอบความถูกต้องภายในโดยใช้ข้อมูลผู้ป่วยอีกกลุ่มหนึ่งจำนวน 80 คน พบว่าสมการมีความไว ความจำเพาะ และความถูกต้องในการทำนายเท่ากับร้อยละ 95.45, 77.59 และ 82.50 ตามลำดับ สรุปสมการทำนายการเกิดโรคไตเรื้อรังระยะที่ 3 ได้ถูกพัฒนาขึ้นและมีประสิทธิภาพในการทำนายดีซึ่งสามารถนำไปใช้ในการทำนายการเกิดโรคไตเรื้อรังระยะที่ 3 สำหรับวางแผนการติดตามและควบคุมโรคในผู้ป่วยได้ต่อไป
Other Abstract: Background Diabetes mellitus is the leading cause of chronic kidney disease (CKD) and end-stage renal disease. Identifying risk factor and assessment individual patient risk of developing CKD may be useful in more appropriate planning to monitor and control CKD progression. Objectives To identify risk factors associated with CKD stage 3 and develop an equation for prediction of CKD stage 3 development in type 2 diabetic patients with preserved kidney function. Methods A retrospective study of type 2 diabetic patients with preserved kidney function (estimated glomerular filtration rate (eGFR) ≥ 60 mL/min/1.73 m2) who visited outpatient department of Saraburi hospital during January 2006 to December 2012 was performed. Logistic regression analysis was used to identify significant risk factor of CKD stage 3 development and develop a predictive model. Results From 242 patients, mean age 59.10±9.15 years. Most of them were female (57.0%) had increased urinary albumin excretion (81.0%). Mean followed up duration was 5.18±0.31 years. Urinary albumin excretion, baseline eGFR, duration of diabetes and baseline systolic blood pressure were significant risk factors associated with CKD stage 3. Probability of CKD = 1/(1+e^(-z)), where Z = 3.305 + 0.135 x diabetes duration – 0.143 x eGFR + 1.719 x urinary albumin excretion + 0.036 x systolic blood pressure. Internal validation was performed using 80 patients of data-splitting technique. The sensitivity, specificity and overall accuracy for prediction of validated data were 95.45, 77.59 and 82.50%, respectively. Conclusion The predictive model was successfully developed with good performance which may predict the development of CKD stage 3 to plan for patients monitoring and managing.
Description: วิทยานิพนธ์ (ภ.ม)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย,2556
Degree Name: เภสัชศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: เภสัชกรรมคลินิก
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/77691
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2013.2080
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2013.2080
Type: Thesis
Appears in Collections:Pharm - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Suchada_ki_front_p.pdfCover and abstract994.94 kBAdobe PDFView/Open
Suchada_ki_ch1_p.pdfChapter 1853.97 kBAdobe PDFView/Open
Suchada_ki_ch2_p.pdfChapter 22.82 MBAdobe PDFView/Open
Suchada_ki_ch3_p.pdfChapter 31.03 MBAdobe PDFView/Open
Suchada_ki_ch4_p.pdfChapter 42.1 MBAdobe PDFView/Open
Suchada_ki_ch5_p.pdfChapter 5755.85 kBAdobe PDFView/Open
Suchada_ki_back_p.pdfReference and appendix1.38 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.